ล้านนา บนแผนที่ชีวิตที่ไม่เคยสูญสำเนียงเสียงเพลงอันเนิบช้า ผนวกกับท่วงท่ากริยาอ่อนช้อยอ่อนหวาน เป็นภาพจำชาวล้านนา รวมถึงความรุ่งเรืองของศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ประวัติศาสตร์ และการรวมหัวเมือง กวาดต้อนผู้คนและมีความหลากหลายในชาติพันธุ์ จึงเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะอาชีพ จนไปถึงพิธีกรรมความเชื่อ
วัดร้างชุกชุมพันผูกชุมชนสืบเสาะและส่องลอดเข้าไปในวัดร้าง เพื่อตามหาจิกซอว์ส่วนต่าง ๆ นำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นภาพขนาดใหญ่ ที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างวัดร้างและชุมชนในกรุงเทพมหานครสมัยต่าง ๆ
วัดร้างและการประกอบสร้างกรุงเทพฯพาไปชมกระบวนการก่อร่างสร้างกรุงเทพฯ เพื่อเป็นมหานครในยุคอดีตผ่านศาสนสถานที่จะเป็นประจักษ์พยาน และหาคำตอบว่า ความสัมพันธ์ของวัดและการพัฒนาเมืองนั้นนำมาสู่การเกิดวัดร้างในกรุงเทพฯ อย่างไร ?
ศรัทธาในศานติเมื่อความศรัทธาตามหลักศาสนาพราหมณ์ฮินดูเป็นที่คุ้นเคยของชาวไทยพุทธ เทวสถานต่าง ๆ ใน กทม. กลายเป็นหมุดหมายที่คนไปสักการะไม่ขาดสาย คติความเชื่อและรายละเอียดเชิงประติมานวิทยาเป็นสิ่งที่น่าศึกษาให้เข้าใจ
ศรัทธาลูกผสมที่พึ่งทางจิตใจของชาวไทยยุค ร.ศ.240 อาจไม่จำกัดอยู่ในเขตพุทธาวาสเหมือนอดีต ความวุ่นวายกับสังคมยุคใหม่ ส่งผลให้ผู้คนหาหลักยึดทางความหวัง ร่วมสำรวจวิถีการบูชาสักการะบทใหม่ และองค์เทพประจำใจที่ไม่ได้ถูกส่งต่อความเชื่อจากบรรพบุรุษ
ศรัทธาโพ้นทะเลเมื่อต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาใช้ชีวิตอยู่ไกลโพ้นทะเล ศาลเจ้าอันเป็นที่ประดิษฐานของเทพองค์ต่าง ๆ จึงกลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และเป็นศูนย์กลางให้ผู้คนจากแผ่นดินเดียวกันได้มารวมตัว
มองกรุงเทพฯ จากชีวิตนอกวังของแม่พลอย“แม่พลอย” ตัวละครที่สะท้อนชีวิตของผู้คนและวิถีชาววังในสมัยนั้นได้อย่างหมดจด เธอเล่าความนิยมอันเปลี่ยนผ่านแต่ละสมัยด้วยสายตาและคำบอกเล่าที่ทำให้เรารู้สึกสนุก แม้ไม่เคยประสบด้วยตนเอง
ยลวิถีรัตนโกสินทร์ผ่านวรรณกรรม “สี่แผ่นดิน”ถึงวาระครบรอบ 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงที่มีเรื่องราว ตำนาน และความทรงจำ มุมมองกรุงเทพมหานครของเราแตกต่างกันไป หากแต่ยังปรากฏภาพความทรงจำผ่านวรรณกรรม “สี่แผ่นดิน” โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
จันทบูรโอชา กรุ่นกลิ่นที่ไม่จางหายเมื่อพูดถึงวัฒนธรรมอาหารเมืองจันทบุรี ได้หยิบใช้ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธรรมชาติอย่างคุ้มค่า รสชาติมีเอกลักษณ์ วาดลวดลายเครื่องเทศไปถึงกรุงเทพฯ มาดูกันว่าความเข้มข้นเครื่องเทศในอนาคตของเมืองจันทบูรจะเป็นอย่างไร ?
ความบริบูรณ์จากป่าสู่ลำน้ำจันทบูรชาวชองผู้ถ่อแพล่องลำน้ำเพื่อนำของป่า เครื่องเทศมาแลกสินค้าเมืองจันทบุรี มีวิถีชีวิตการกินอยู่เรียบง่าย พวกเขาเชื่อว่าธรรมชาติคือสิ่งบริสุทธิ์ จึงไม่ลังเลใจที่จะนำมาทำอาหาร และสร้างแนวคิดโภชนาบำบัดให้กับผู้อื่นได้ต่อไป
ตามรอยเส้นทางสายเครื่องเทศจันทบูรการเดินทางสู่จุดเริ่มต้นของ "เครื่องเทศ" เริ่มต้นในแถบตะวันออกอย่าง จ.จันทบุรี ทั้งพริกไทย, กระวาน และเร่ว เดินทางจากเขาสูง ล่องลำน้ำจันทบูรสู่ทะเล เป็นพืชพันธุ์ที่ชาวจันทบุรีหวงแหนและเพาะปลูกอยู่ไม่น้อย
เดินทางข้ามเวลารถไฟสายอีสานนวัตกรรมมากมายไม่เพียงทำให้โลกเปลี่ยนโฉมหน้า แต่ยังทำให้วิถีผู้คนต้องคล้อยตามและปรับตัว กว่าจะมีวันนี้ต้องผ่านการเรียนรู้ ลองผิด ลองถูกจากอดีต ทำให้ผู้คนอยากอนุรักษ์สิ่งเก่าไว้ให้เป็นเครื่องเตือนใจในรากที่มาของตน
เลียบรางร้อยอดีตคนสูงเนินพาไปดูเส้นทางรถไฟสายโบราณคดี เมื่อองค์พระพุทธไสยาสน์ โบราณสถานตั้งแต่สมัยทวารวดี พบได้ที่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา และการฟื้นฟูอนุรักษ์ "ผ้าเงี่ยงนางดำ" ผ้าท้องถิ่นชาวสูงเนิน ที่เกือบเลือนหายจากความทรงจำ
กุดจิก - โคกกรวด ชุมชนรถไฟในวันเปลี่ยนผ่านสถานีรถไฟกุดจิกและโคกกรวด จ.นครราชสีมา บรรยากาศเก่าที่ผูกพันชุมชน กำลังก้าวสู่การปฏิรูปการเดินรถไฟ พวกเขาร่วมผสานสิ่งเก่าและใหม่ อนุรักษ์วิถีชุมชนริมทางรถไฟ คู่กับความพร้อมในวิถีใหม่ที่จะมาถึง
บ้านฉันทำเองที่สวรรคโลกคนสวรรคโลกมีเอกลักษณ์ในสำเนียงการพูด เคยเป็นศูนย์กลางการค้าการขนส่งที่สำคัญของภาคกลางตอนบน ภูมิปัญญาวิชาชีพสืบสานไปในพื้นที่ใกล้เคียง จนเกิดเป็นงานช่างศิลป์ ช่างฝีมือ สกุลสุโขทัย
สุดทางไม้หมอนที่สวรรคโลกชวนเดินทางไปตามรางรถไฟในเส้นทางสถานีเด่นชัย ที่จะมีทางรถไฟสายใหม่ต่อไปถึงเชียงราย เชียงของไปติดชายแดนไทย - ลาว และอีกเส้นทางที่แยกออกไปสุดทางแค่สถานีสวรรคโลก สถานที่แห่งนี้สำคัญอย่างไรจึงเกิดทางแยกแล้วไปสิ้นสุดเพียงแค่นั้น ?
สิ้นเสียงป่าลั่นในเมืองแพร่ทางรถไฟเชื่อมอาเซียนสู่ทวีปอื่น มิใช่เป็นอภิมหาโปรเจกต์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น เราจะพาไปเยือนถิ่นไม้สัก ตามรอยเจ็ดมหาอำนาจในจังหวัดแพร่ ที่มีทรัพยากรป่าไม้เป็นทรัพย์สมบัติและมรดกอาชีพของผู้คนจวบจนวันนี้
แดนเจ็ดมหาอำนาจแพร่"แพร่" ดินแดนลับแลที่เต็มไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ เป็นเมืองที่ตกอยู่ในวงล้อมของหัวเมืองใหญ่ ในยุคการก่อร่างสร้างอาณาจักรสยาม และอีกหกมหาอำนาจจากนอกประเทศ การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปิดเสรีการค้าทวงดุลอำนาจชาติตะวันตก กระทั่งได้มีการสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือ
จากเชียงดาวสู่ชาวดินป่าไม้ เมล็ดพันธุ์ และสายธารน้ำเย็นบริสุทธิ์จาก "ดอยหลวงเชียงดาว" ที่สูงเสียดฟ้า โน้มหาชาวบ้านบนพื้นดินด้วยความเมตตา หมู่บ้านรอบเขา ธรรมชาติที่มาขึ้นดอย ล้วนพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์จากดอยหลวงเชียงดาวทั้งสิ้น
ชีวมณฑลบนดอยหลวงเชียงดาว"ดอยหลวงเชียงดาว" ถูกประกาศเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของไทย ด้วยความอุดมสมบูรณ์และสลับซับซ้อนของระบบนิเวศ การขึ้นไปยังดอยหลวงแห่งนี้จึงเหมือนก้าวสู่เมืองลับแล เปิดผัสสะทั้งห้า สัมผัสและฟังเสียงธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง