ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง เป็นโรคระบบฮอร์โมนที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ พบได้ร้อยละ 5-10 ในผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นจากภาวะอ้วน ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ มีความเครียดสูง และมีโอกาสเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นหากมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็น ติดตามความรู้จาก นพ.พัชรพล อดิเศรษฐกุล นายแพทย์ชำนาญการ สูตินรีแพทย์และมะเร็งนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
มาทราบถึงการเลือกใช้น้ำยาฟอกสีฟันอย่างถูกต้อง เนื่องจากปัจจุบันมีการจำหน่ายยาฟอกสีฟันหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบครอบฟัน แบบปากกา ทำให้ผู้บริโภคต้องเลือกซื้อให้ถูกเพราะอาจจะเจอสินค้าที่ไม่ถูกหลักอนามัยพร้อมกับเป็นอันตรายต่อสุขภาพในช่องปากได้ ติดตามความรู้จาก ทพ.เมธาพันธ์ ชานนท์หงษ์พานิช ทันตแพทย์
ระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เปลี่ยนแปลงในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ที่จะมีการนำสารอาหารและออกซิเจนไปให้ทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของหัวใจได้ ติดตามความรู้จาก นพ.สุวาณิช เตรียมชาญชูชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ
โรคใหลตาย หรือ Sudden unexplained nocturnal death syndrome (SUNDS) คือ การเสียชีวิตขณะนอนหลับซึ่งคนไข้ที่เป็นโรคใหลตายจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงจนทำให้เสียชีวิต ซึ่งโรคใหลตายพบมากในหมู่คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศไทย ติดตามความรู้จาก นพ.วงศกร เหลืองพิพัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด รพ.จุฬาภรณ์
โรคเกาต์เทียม มีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นพบได้บ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี แต่คนอายุน้อยก็สามาถเป็นได้ สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม อาการของโรคเกาต์จริง และโรคเกาต์เทียมทั้ง 2 แบบที่เหมือนกัน คือ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณตำแหน่งข้อล่างเป็นหลักวัน แต่เกาต์เทียมสามารถปวดได้นานกว่าเกาต์จริงเป็นหลักเดือน ติดตามความรู้จาก พญ.วิภาดา จาติเสถียร อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ขนาดและความยาวของอวัยวะเพศชายขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพันธุกรรม เชื้อชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัว หรือปริมาณไขมันสะสม การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับการเพิ่มขนาดน้องชายที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลนำไปสู่วิธีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ติดตามความรู้จาก นพ.วิชญะ ปริพัฒนานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ รพ.จุฬาภรณ์
ฟันคุด คือฟันซี่ที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติอาจจะมีกระดูกหรือเหงือกมาปิดขวาง หรือเอียงไปชนฟันข้างเคียง โดยฟันคุดมักจะพบที่ตำแหน่งฟันกรามซี่ในสุด ในบางรายจะส่งผลให้มีอาการเหงือกอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่ควรจะพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุก่อนจะมีอาการรุนแรงจนแก้ไขยาก ติดตามความรู้จาก ทพ.เมธาพันธ์ ชานนท์หงษ์พานิช ทันตแพทย์
เตือนกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ระวังพยาธิหอยโข่ง หรือพยาธิปอดหนู ซึ่งปกติแล้วไม่ได้เข้ามาอยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่สามารถรับเชื้อผ่านการรับประทานสัตว์ที่มีพยาธิชนิดนี้เข้าไป เช่น หอยโข่ง หอยเชอรี่ กุ้งน้ำจืด ปลาน้ำจืด หากรับประทานอาหารเหล่านี้แบบดิบโดยไม่ผ่านการปรุงสุกมีโอกาสรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ติดตามความรู้จาก พญ.ศศิ ใหญ่สว่าง จักษุแพทย์เฉพาะทางกระจกตาและการแก้ไขสายตา
ข้อดี - ข้อเสียของนวัตกรรมเลนส์กดตา (Orthokeratology หรือ Ortho-k) หรือ เลนส์ที่สามารถแก้ไขสายตาที่ผิดปกติแบบไม่ถาวรด้วยการใส่คอนแทกต์เลนส์แบบกึ่งแข็งที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคลในขณะที่นอนหลับตอนกลางคืน ทำให้กระจกตาของผู้ใส่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปชั่วคราว จึงสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นในเช้าวันถัดมา ติดตามความรู้จาก นพ.ปัณณ์ธนารัช กะสีวัฒน์ หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีจักษุวิทยาฯ รพ.จุฬาภรณ์
สัญญาณเตือนรอยดำที่คอ (Acanthosis Nigricans) ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่สร้างความรำคาญใจให้กับใครหลาย ๆ คน อาจส่งผลให้ขาดความมั่นใจ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางโรคได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งจะมีอินซูลินที่กระตุ้นเซลล์ผิวหนังทำให้เกิดรอยดำได้ ติดตามความรู้จาก พญ.พรทิพย์ ธีระวิทย์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้นได้กับผู้ชายในทุกช่วงวัย แต่ก็มักจะพบมากขึ้นตามอายุทิ่เพิ่มขึ้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายเกิดขึ้นได้จาก ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ หรือ สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมอง ติดตามความรู้จาก นพ.วิชญะ ปริพัฒนานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ รพ.จุฬาภรณ์
คนไทยส่วนใหญ่มักจะชอบรับประทานอาหารรสจัด อาหารหมัก ดอง อาหารดิบ เช่น ปลาร้า เนื้อสัตว์ดิบ ผักสด ซึ่งในอาหารเหล่านี้ถือเป็นแหล่งรวมพยาธิหลายสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวจี๊ด และสายพันธุ์อื่น ๆ อีกหลายชนิด เพราะฉะนั้นเราควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก เลือกอาหารที่สด ใหม่ สะอาด เพื่อป้องกันพยาธิเข้าสู่ร่างกายเราให้มากที่สุด ติดตามความรู้จาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย
ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองจำนวนกว่าร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากบุหรี่ ทั้งจากการที่ตัวผู้ป่วยเป็นผู้สูบเองหรือคนใกล้ตัวสูบ โดยจะมีอาการคือ หายใจเข้าและออกไม่เต็มที่ ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย หอบ ไอ มีเสมหะตลอดเวลา ระยะของโรคจะเริ่มแสดงอาการตอนที่เรามีอายุมากขึ้นเพราะเกิดจากการสะสมเรื่อย ๆ โดยมีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นตัวกระตุ้น วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันด้วยการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่เพื่อยืดอายุสุขภาพของปอด ติดตามความรู้จาก อ. พญ.สิรภัทร ตุลาธรรมกิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นสาเหตุทำให้ท้องอืด นอนไม่หลับ เสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน รวมถึงโรคอ้วน ซึ่งการปรับเวลาในการรับประทานอาหาร เพิ่มการออกกำลังกาย จะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ติดตามความรู้จาก นพ.กุลเทพ รัตนโกวิท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
กลั้นปัสสาวะ ดื่มน้ำน้อย พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการที่สังเกตได้คือ ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รู้สึกแสบขัดขณะปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น อาการติดเชื้อลามไปถึงกรวยไตส่งผลให้ติดเชื้อในกระแสเลือด ยิ่งเรียนรู้การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดตามความรู้จาก นพ.วิทยา จิระอนันต์กุล ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ปอดคืออวัยวะหนึ่งที่สำคัญในร่างกาย ซึ่งใช้ในการหายใจและหน้าที่หลักคือการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย ดังนั้นการดูแลปอดให้ดีและแข็งแรง จะช่วยให้สุขภาพร่างกายของเรานั้นแข็งแรงตามไปด้วย ติดตามความรู้จาก ศ.ดร.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล หน่วยโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัจจุบันมีความเข้าใจผิดในเรื่องของการประกอบอาชีพนักกายภาพบำบัด เนื่องจากมีผู้ซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อให้บริการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งมีการโฆษณาโดยแอบอ้างว่าเป็นนักกายภาพบำบัดแต่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพของนักกายภาพบำบัดซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย ติดตามความรู้จาก อ.สุริยา ชอลี สภากายภาพบำบัด
ภาวะเลือดจาง หรือ โลหิตจาง เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงมีปริมาณลดน้อยลงกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ผู้หญิงวัยทำงานจะมีประจำเดือนที่ต้องสูญเสียเลือดในทุกเดือน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางได้มากกว่า ติดตามความรู้จาก นพ.กรธัช อชิรรุจิกร อายุรศาสตร์โรคเลือด ศูนย์อายุรกรรม
การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากการรักษาทางการแพทย์ และกายภาพบำบัดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ยังมีการรักษาแบบผสมผสาน ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น เช่น การฝังเข็ม การใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic gait training) การใช้วิตามินบำบัด (Vitamin Boost) รวมถึงการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ติดตามความรู้จาก ธนรัตน์ ใบเจริญโรจน์ แพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย