ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ป้องกัน “AI” แปลงเป็นมิจฉาชีพ สภาผู้บริโภคชงแก้กฎหมายควบคุม


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

14 มี.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ป้องกัน “AI” แปลงเป็นมิจฉาชีพ สภาผู้บริโภคชงแก้กฎหมายควบคุม

https://www.thaipbs.or.th/now/content/931

ป้องกัน “AI” แปลงเป็นมิจฉาชีพ สภาผู้บริโภคชงแก้กฎหมายควบคุม
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

สภาผู้บริโภคเสนอแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ปี 2522 ให้ทันสมัย ป้องกันถูกละเมิดสิทธิจาก AI เพื่อยกระดับสิทธิผู้บริโภคเทียบเท่าสากล

วันที่ 15 มีนาคมของทุกปีถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” (World Consumers Rights Day) ซึ่งองค์กรของผู้บริโภคทั่วโลกที่เป็นสมาชิกของ สหพันธ์องค์กรของผู้บริโภคสากล จะร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักถึงความสำคัญในสิทธิของผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภคด้านต่าง ๆ และการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริโภค ก่อเกิดงาน Tech talk “AI กับการคุ้มครองผู้บริโภค” จัดโดยสภาผู้บริโภค

สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า วันผู้บริโภคสากลในปีนี้ สหพันธ์ผู้บริโภคสากลร่วมกับองค์กรสมาชิกทั่วโลกกว่า 200 องค์กร จาก 100 ประเทศ ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดวาระ “เอไอ (AI) ที่มีความรับผิดชอบและเป็นธรรมกับผู้บริโภค” เป็นหัวข้อหลักในการรณรงค์เรียกร้องร่วมกันขององค์กรผู้บริโภคทั่วโลก เพื่อมุ่งเน้นสร้างการรับรู้ในผลกระทบของผู้บริโภคอันเกิดจากแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ เอไอ อาจทำให้มีการให้ข้อมูลที่หลอกลวงเพื่อแสวงหากำไร ข้อมูลที่บิดเบือน มีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว การขยายความอคติและมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบันของผู้บริโภคทั่วโลกกำลังถูกคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีหรือ AI ที่นอกจากเข้ามาช่วยมนุษย์ในการทำงานสร้างสรรต่าง ๆ ยังถูกนำมาใช้เพื่อการหลอกลวงด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นการนำเอไอ มาเลียนแบบเสียง  ลอกเลียนใบหน้าที่เหมือนจริง ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อต้องเสียทรัพย์  

ในวาระดังกล่าว สภาผู้บริโภคจึงได้จัดโครงการรณรงค์วันสิทธิผู้บริโภคสากล ปี 2567 วันนี้ (14 มี.ค. 67) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของเอไอในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งผลักดันข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคให้เทียบเท่าสิทธิผู้บริโภคสากล ผ่านเวทีเสวนาที่น่าสนใจ ทั้งวงเสวนา Consumer Talk หัวข้อ “เราจะช่วยกันยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคไทยได้อย่างไร?” และ Tech Talk หัวข้อ : เอไอ (AI) กับการคุ้มครองผู้บริโภค เราต้องหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากเอไอไม่ใช่เพียงให้เอไอหลอกหลวงหรือการใช้ข้อมูลเท็จที่ซับซ้อน “ดีฟเฟค” (Deep Fake) อย่างเดียว โดยกลเม็ดดังกล่าวอาจจะใช้เอไอ เป็นตัวช่วยแอบอ้างว่ามีบัญชีโอนเงินมาเป็นบัญชีผิดปกติเพื่อให้ผู้บริโภคอายัติบัญชีซึ่งต่อมาผู้บริโภคพบว่าเงินตนเองในบัญชีได้สูญหายเพราะหลงเชื่อเอไอ  

ดังนั้น แม้เอไอจะสร้างประโยชน์อย่างมากในการเข้ามาช่วยงานหลายประเภทให้มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกันก็ไม่ควรเปิดโอกาสให้เอไอ ถูกนำมาใช้เพื่อเอาเปรียบหรือหลอกลวงผู้บริโภค เพราะ ปัจจุบันเอไอ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จึงต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสม และผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา หากผู้ที่เอาเปรียบผู้บริโภคกลายเป็นระบบเอไอ

ส่วนเรื่องการผลักดันข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น สภาผู้บริโภคได้เสนอให้ยกระดับผู้บริโภคไทยเทียบเท่าผู้บริโภคสากลโดยแก้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค 2522 เพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภคให้ชัดเจนและให้เป็นสากลมากขึ้น ในเรื่องของอำนาจต่อรองให้กับผู้บริโภค การปกป้องผู้บริโภค การสนับสนุนองค์กรฟ้องคดีแทนผู้บริโภคต้องมีตัวแทนในสัดส่วนที่ชัดเจน

การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 2522 ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนซึ่งกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคของสภาผู้แทนได้ริเริ่มแล้ว ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. ออกแบบร่างกฎหมายฉบับใหม่ให้ทันกับกลโกงของมิจฉาชีพ รวมถึงเรื่องความเท่าทันของการทำงานเอไอ ทั้งเรื่อง การโจรกรรมทาง (Cyber Crime) ที่ผู้บริโภคต้องเผชิญทุกวัน ไม่ว่าจะถูกหลอก ถูกโกง กดลิงก์ในเอสเอ็มเอส และควรจะปรับตัวหรือแก้ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องเหล่านี้


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สภาผู้บริโภค

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

AIมิจฉาชีพวันสิทธิผู้บริโภคสากลWorld Consumers Rights DayThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech InnovationInnovation Tech World
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด