ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ภาพจริงหรือ AI Gen ? ใช้เครื่องมือ “ตรวจสอบ” ได้ไม่มีค่าใช้จ่าย


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

6 ม.ค. 67

สุพัตรา ผาบมาลา

Logo Thai PBS
แชร์

ภาพจริงหรือ AI Gen ? ใช้เครื่องมือ “ตรวจสอบ” ได้ไม่มีค่าใช้จ่าย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/647

ภาพจริงหรือ AI Gen ? ใช้เครื่องมือ “ตรวจสอบ” ได้ไม่มีค่าใช้จ่าย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ตั้งแต่มี AI Generated เข้ามา ในปัจจุบันถูกใช้งานและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เชื่อว่าหลายคนอาจเคยลองใช้งานกันบ้างแล้ว แต่หากมีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือเพื่อการหลอกลวงผู้อื่นนั้น อาจไม่ส่งผลดีและมีปัญหาตามมาได้ ทำให้ AI Gen ถูกมองในด้านลบตามไปด้วย หากแต่เลือกใช้ในเชิงสร้างสรรค์ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร

ด้วยเหตุนี้บริษัทผลิตกล้องของญี่ปุ่น Nikon, Sony และ Canon จึงได้ร่วมมือกันและกำลังดำเนินการสร้างวิธีป้องกันงานของช่างภาพจากการถูกคุกคามด้วยภาพที่ซึ่งถูกสร้างด้วย AI โดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้มี “ลายเซ็นดิจิทัล” ฝังอยู่ในภาพถ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายจริงและภาพถ่ายที่ถูกสร้างขึ้นโดย AI ทั้งนี้ ยังสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบริษัทและองค์กรข่าวให้มีความน่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้

จากรายงานของ Nikkei Asia เทคโนโลยีที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ตอนนี้ จะถูกรวมเข้ากับกล้องรุ่นใหม่ภายในปีนี้ (ปี 67) โดย “ลายเซ็นดิจิทัล” ที่จะฝังอยู่ในภาพนั้นประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญ คือ เวลา วันที่ สถานที่ และแม้กระทั่งตัวตนของช่างภาพ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

นอกจากนั้นยังมีบริการบนเว็บไซต์ไว้ “ตรวจสอบ” ภาพโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับรูปภาพที่มี “ลายเซ็นดิจิทัล” เว็บไซต์จะ Verify ทั้งยังมีข้อมูลรับรองระบุชัดเจน อย่างวันที่ เวลา และข้อมูลอื่น ๆ หากแต่เป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นด้วย AI หรือถูกดัดแปลง จะไม่สามารถหาภาพนั้น ๆ ได้ และเว็บไซต์จะระบุว่า “ไม่มีข้อมูลรับรอง”

และเนื่องจากผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่นควบคุมตลาดกล้องทั่วโลกโดยประมาณ 90% จึงอาจกล่าวได้ว่า  “ลายเซ็นดิจิทัล” นี้จะเป็น Solution ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการช่างภาพหรือช่างภาพข่าวทั่วโลก

ซึ่งในปัจจุบัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tsinghua ของจีนได้เสนอโมเดลใหม่ของ AI ที่มีความรวดเร็วในการผลิตภาพได้ถึงประมาณ 700,000 ภาพต่อวัน และการเพิ่มขึ้นของบริการ AI Gen ได้ถูกนำไปสร้างเนื้อหา Deepfake ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอีกด้วย ดังที่กล่าวข้างต้น ก็เป็นอีกสาเหตุให้รูปภาพของเหล่าคนดังหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงได้รับการดัดแปลงไปด้วย

และเพื่อตอบสนองต่อการแพร่กระจายของ Deepfake ทาง Google ก็ได้เปิดตัวเครื่องมือที่ฝังลายน้ำแบบ “มองไม่เห็น” ไว้ในรูปภาพที่สร้างด้วย AI ขณะที่ Intel ได้คิดค้นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ความถูกต้องของภาพจากการเปลี่ยนของสีผิว และ Adobe กำลังร่วมมือกับ Leica เพื่อรองรับ Content Credentials หรือลายเซ็นนั่นเอง

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : techspot, asia.nikkei 
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

AIAI GenAI GeneratedเทคโนโลยีTechnologyThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Innovation Tech World
สุพัตรา ผาบมาลา
ผู้เขียน: สุพัตรา ผาบมาลา

นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชา ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ ผู้รักในการเขียนและการเล่าเรื่อง

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด