ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชวนรู้จัก 2 เทคโนโลยีสุดล้ำ พิชิตโรคภัยในเต้านม


วันสำคัญ

6 ต.ค. 66

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ชวนรู้จัก 2 เทคโนโลยีสุดล้ำ พิชิตโรคภัยในเต้านม

https://www.thaipbs.or.th/now/content/407

ชวนรู้จัก 2 เทคโนโลยีสุดล้ำ พิชิตโรคภัยในเต้านม
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

วันนี้ (7 ต.ค. 66) ตรงกับ “วันมะเร็งเต้านมสากล” (World Breast Cancer Day) ภัยเงียบอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก Thai PBS Sci & Tech ชวนรู้จัก 2 เทคโนโลยีสุดล้ำ ในการพิชิตโรคภัยในเต้านม

“มะเร็งเต้านม” เกิดจากอะไร ?

เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมที่แบ่งตัวผิดปกติ โดยเซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นก้อนใหญ่ให้คลำได้ หากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียง ทั้งต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เข้าสู่หลอดเลือด และ/หรือทางเดินน้ำเหลือง ทำให้สามารถไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ที่ไกลออกไป ได้แก่ กระดูก ปอด ตับ หรืออวัยวะสำคัญอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม

แม้ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลสรุปแน่ชัดถึงสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม แต่พบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

     1. อายุมากขึ้น มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น พบได้มากในวัยกลางคนตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป โดยมีเพียงประมาณร้อยละ 10 ที่พบได้ในอายุต่ำกว่า40 ปี
     2. ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม เห็นได้จาก
     2.1 ช่วงเวลาในการมีประจำเดือน พบว่าผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจำเดือนช้า มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม
     2.2 ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร หรือตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย
     2.3 ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจำเดือน เป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น
     3. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง มีโอกาสเสี่ยงที่จะตรวจพบโรคมะเร็งได้ที่เต้านมอีกข้างหนึ่ง หรือผู้ที่เคยตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเต้านมบางชนิด มีโอการเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น
     4. ประวัติครอบครัว พันธุกรรม มะเร็งเต้านมมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับยีน BRCA1, BRCA2 ผู้หญิงที่มีการกลายพันธุ์ของยีนนี้จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
     5. ประวัติการได้รับรังสี โดยเฉพาะการได้รับรังสีบริเวณหน้าอกเมื่ออายุยังน้อย
     6. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย ภาวะอ้วนหลังหมดประจำเดือน น้ำหนักเกิน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

📌อ่านต่อ 7 ต.ค. "วันมะเร็งเต้านมสากล" เช็กเต้านมเองง่ายๆ-ตรวจคัดกรองฟรีก็มี 

ชวนรู้จัก 2 เทคโนโลยีสุดล้ำ พิชิตโรคภัยในเต้านม

1. “แพลตฟอร์มเต้านมจำลอง”

เพื่อฝึกความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค ด้วยอัลตราซาวด์และการเจาะชิ้นเนื้อ ซึ่งเป็นการร่วมมือของ ภาควิชารังสิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) เพื่อช่วยในการพยากรณ์โรคมะเร็งเต้านมซึ่งขึ้นอยู่กับระยะโรคที่ตรวจพบ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะก่อนมีอาการ จะมีโอกาสหายขาดใกล้เคียง 100% ด้วยเหตุนี้ “การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม” จึงมีความสำคัญ ซึ่งการอัลตราซาวด์และการเจาะชิ้นเนื้อเป็นเทคนิคที่มักนำมาตรวจร่วมกับแมมโมแกรม (การตรวจเอกซเรย์เต้านม เป็นการตรวจทางรังสีที่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป) จากนั้นจึงนำชิ้นเนื้อที่ตรวจพบส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

📌อ่านต่อ Thai PBS Sci & Tech : "แพลตฟอร์มเต้านมจำลอง" เพื่อวินิจฉัย "โรคเต้านม" แม่นยำ ด้วยอัลตราซาวด์และการเจาะชิ้นเนื้อ 

2. ตรวจหา "มะเร็งเต้านม" ด้วย AI

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลุนด์ (Lund University) ประเทศสวีเดน พบว่าการตรวจหามะเร็งเต้านมแบบแมมโมแกรม (mammogram) ที่มี AI เป็นตัวช่วย สามารถตรวจพบ "มะเร็ง" ได้ในอัตราที่ใกล้เคียงกันกับการตรวจโดยนักรังสีวิทยา 2 คน

📌อ่านต่อ Thai PBS Sci & Tech : ตรวจหา "มะเร็งเต้านม" ด้วย AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระงานรังสีแพทย์ 

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS 

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งเต้านมมะเร็งวันมะเร็งเต้านมสากลWorld Breast Cancer Day
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

(เซบา บาสตี้ : 0854129703) : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด