ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เกร็ดน่ารู้ #มหกรรมวิทย์66 รู้จัก “เมือกหอยทาก” พลังแห่งการฟื้นฟูผิวอันน่าอัศจรรย์


Logo Thai PBS
แชร์

เกร็ดน่ารู้ #มหกรรมวิทย์66 รู้จัก “เมือกหอยทาก” พลังแห่งการฟื้นฟูผิวอันน่าอัศจรรย์

https://www.thaipbs.or.th/now/content/250

เกร็ดน่ารู้ #มหกรรมวิทย์66 รู้จัก “เมือกหอยทาก” พลังแห่งการฟื้นฟูผิวอันน่าอัศจรรย์
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

งานกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม Hall 9-11 อิมแพ็คเมืองทองธานี 11 – 20 สิงหาคม 2566 มีแน่นอนสำหรับฉันนั้นก็คือ “ภาษาไทย ฉันเฉิดฉาย”อธิบายความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ความงาม ไขความลับของการย้อนวัยและความลับของความงาม ซึ่งสิ่งที่ยกมาเล่าสู่กันฟังในปัจจุบันคือ "เมือกหอยทาก" ที่จะช่วยให้ผิวพรรณชุ่มฉ่ำ เด้ง เราไปหาคำตอบกัน “เมือกหอยทาก” ให้มากขึ้นกัน…

“เมือกหอยทาก” เป็นสารคัดหลั่งที่ผลิตมาเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการปกป้องผิวของหอยทาก ทั้งในขณะเคลื่อนที่และพื้นผิวที่สัมผัสกับอากาศตลอดเวลา ลดแรงเสียดทานเหมือนเป็นการปูพรมขณะเดิน ที่สำคัญเมือกที่ผลิตออกมายังช่วยสมานแผลบนเนื้อเยื่อของมันเอง ที่เกิดการขูดขีดเสียดสีกับพื้นผิวขรุขระ

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเปลือกของหอยทากได้รับความเสียหายแตกออก หอยทากจะใช้น้ำเมือกในส่วนของแมนเทิล (Mantle) ที่อยู่ในชั้นถัดจากฝากระดองหอย ซึ่งถือเป็นเมือกหอยทากส่วนที่ดีที่สุด มาช่วยซ่อมแซมและสร้างเปลือกใหม่ให้ตัวเองแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งการฟื้นฟูของเมือกหอยทากอย่างน่าอัศจรรย์

"หอยทากสยาม" ชนิด Cryptozona siamensis "หอยหอม" C. Volvulus ชนิด Cryptozona volvulus และหอยทากแอฟริกา Lissachatina fulica สารสกัดจากน้ำเมือกหอยทาก ประกอบไปด้วย

• อลันโทอิน (Alantoin) เป็นสารที่ช่วยสนับสนุนและเร่งการแบ่งเซลล์ ช่วยในเรื่องสมานแผลได้ เป็นสารต้านการอักเสบและระคายเคืองผิว และยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในผิวให้ชุ่มชื้น ฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อม
• คอลลาเจน (Collagen) ช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น เปล่งปลั่ง เนียนเด้ง
• อีลาสติน (Elastin) สารปฏิชีวนะธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด
• ไกลโคลิคแอซิด (Glycolic acid) เป็นสารสำคัญที่สามารถแทรกซึมเข้าชั้นผิวหนังได้ดี ช่วยเร่งการสังเคราะห์คอลลาเจนในชั้นผิวหนัง

วิธีการสกัดเมือกหอยทาก

นำหอกทากเข้าพักในโรงเรือนสะอาด และให้อาหารสูตรที่เหมาะสมก่อนนำไปเก็บเมือก ซึ่งใช้การสัมผัสที่นุ่มนวลบริเวณขอบเปลือกด้านในติดกับส่วนแมนเทิล เป็นสัมผัสแห่งความรัก เพื่อให้หอยทากหลั่งเมือกออกมา ใช้เวลา 2-3 นาทีต่อการสัมผัส ในแต่ละครั้งมั่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้หอยทากได้รับบาดเจ็บหรือระคายเคือง


 

ชี้เป้างาน #งานวันวิทย์66 มีอะไรให้ชมบ้าง https://thaip.bs/D4Vofqb

🌏 “รอบรู้ดูกระแสก้าวทันโลก” ไปกับ #ThaiPBSSciAndTech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Thai PBS Sci & Tech Thai PBS Sci And Tech เมือกหอยทากNSTFAIR2023มหกรรมวิทย์66หอยทาก
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด