ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตรวจสอบพบ : โพสต์อ้าง "ประกันสังคม" เพิ่มค่าทำฟันจาก 900 บาท เป็น 1,200 บาท


Verify

7 มี.ค. 68

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

ตรวจสอบพบ : โพสต์อ้าง "ประกันสังคม" เพิ่มค่าทำฟันจาก 900 บาท เป็น 1,200 บาท

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2426

ตรวจสอบพบ : โพสต์อ้าง "ประกันสังคม" เพิ่มค่าทำฟันจาก 900 บาท เป็น 1,200 บาท
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

Thai PBS Verify พบผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กโพสต์อ้าง "ประกันสังคม" เพิ่มค่าทำฟันจาก 900 บาท เป็น 1,200 บาท ด้านประกันสังคมยันยังไม่มีประกาศ ระวังอาจส่งต่อข้อมูลเท็จ

แหล่งที่มา : Facebook

ภาพบันทึกหน้าจอแสดงโพสต์เฟซบุ๊กข้อมูลเท็จ

กระบวนการตรวจสอบ

จากการตรวจสอบพบว่า บัญชีเฟซบุ๊กชื่อ "Phongtarin Butthong" โพสต์ข้อความระบุว่า "ขอบคุณประกันสังคมครับ ที่เพิ่มค่าทำฟันจาก 900 บาท เป็น 1,200 บาท" ซึ่งทำให้มีผู้เข้าใจผิดสอบถามเข้าไปจำนวนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม เราตรวจสอบไปยังสำนักงานประกันสังคม ซึ่งระบุว่า สำนักงานประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถทำฟัน ด้วยการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนและผ่าตัดฟันคุด โดยไม่ต้องสำรองจ่ายในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม โดยสามารถใช้สิทธิได้สูงสุด 900 บาทต่อคนต่อปี ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ประกันตนที่พึงจะได้รับ โดยสามารถขอรับบริการในสถานพยาบาลเอกชนและเครือข่าย หรือสถานพยาบาลของรัฐ (ลิงก์บันทึก)

นอกจากนี้การทำฟันประกันสังคมยังครอบคลุมถึงการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน หรือชนิดถอดได้ทั้งปาก ดังนี้

1. ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมตามหลักเกณฑ์ดังนี้
     - จำนวน 1 - 5 ซี่ จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
     - จำนวนมากกว่า 5 ซี่ จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท

2. ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
           - ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท
           - ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิทันตกรรม มีดังนี้

- ผู้ประกันตนตามมาตรา33 และ มาตรา39 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์

- ผู้ประกันตนตามมาตรา38 และมาตรา41 จะได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ และได้รับสิทธิคุ้มครองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)

2. ใบรับรองแพทย์

3. ใบเสร็จรับเงิน

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

5. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอคริลิก)

6. กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 11 ธนาคาร คลิกที่นี่

สถานที่ยื่นเรื่อง ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

สำหรับรายชื่อคลินิกทันตกรรม คลิกที่นี่          

กรณีผู้ประกันตนเข้ารับบริการกรณีทันตกรรมในสถานพยาบาล ที่ไม่ได้ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมเรื่องการเบิกจ่าย ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ดังนี้

1. ผ่านช่องทางออนไลน์ E-Self Service ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th พร้อมแนบหลักฐาน ประกอบด้วย
    - ใบเสร็จรับเงิน 
    - ใบรับรองแพทย์ 
    - สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน

2. ยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการที่ระบุไว้ในใบเสร็จและใบรับรองแพทย์

ผลกระทบของข้อมูลเท็จนี้เป็นอย่างไร ?

โพสต์ดังกล่าวเป็นเพียงการนำข้อความมากล่าวอ้างเพียงเท่านั้น โดยในความเป็นจริงกระบวนการเพิ่มค่าทำฟันจาก 900 บาท เป็น 1,200 บาท ยังไม่มีการประกาศเพิ่มแต่อย่างใด ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเกิดความเข้าใจผิด 

ภาพบันทึกหน้าจอแสดงความคิดเห็นในโพสต์เท็จ

ข้อเสนอแนะเมื่อได้รับข้อมูลเท็จเหล่านี้

สามารถสอบถามข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ผ่านช่องทางออนไลน์ E-Self Service ต่าง ๆ ดังนี้ 

Website : www.sso.go.th 
Facebook : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน 
Instagram : sso_1506
X (twitter) : @ sso1506 
Youtube : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน 
Tiktok : @ssonews1506 
Line : @ssothai
สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โพสต์ปลอมหลอกลวงโพสต์เท็จประกันสังคมสปสปวดฟันหมอฟันข่าวปลอม
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

ทีม Thai PBS Verify

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด