เปิดภาพถ่าย...ย้อนเรื่องราววันนี้ในอดีต "5 พ.ย. 2499" (ค.ศ. 1956) "วิกฤตการณ์คลองสุเอซ" หรือ Suez Canal Crisis 1956
จริง ๆ แล้ว...ความขัดแย้งและความขุ่มมัวเริ่มตกตะกอนมาตั้งแต่ 26 กรกฎาคม 2499 เมื่อประธานาธิบดีอียิปต์ "กามาล อับเดล นัสเซอร์" (Gamal Abdel Nasser) ประกาศโอนย้าย Suez Canal Company ที่ดำเนินงานด้านการขนส่งทางเรือผ่าน "คลองสุเอซ" ให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอียิปต์ จากเดิมที่ "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยชาวอียิปต์เชื่อว่า การปล่อยให้บริษัทของ "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" เข้ามาจัดเก็บค่าผ่านทาง "คลองสุเอซ" ทำให้พวกเขาสูญเสียรายได้ไปจำนวนมาก
🔥 ความขัดแย้งปะทุขึ้น!
โดยมี "ตัวละครหลัก" คือ อียิปต์, ฝรั่งเศส-อังกฤษ และอิสราเอล
"ฝรั่งเศส-อังกฤษ" กลัวว่า "นัสเซอร์" จะปิด "คลองสุเอซ" และยกเลิกการขนส่งปิโตรเลียมไปยังยุโรป
เมื่อความพยายามทางการทูตล้มเหลว... "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" ก็เริ่มเตรียมการปฏิบัติการทางทหารอย่างลับ ๆ เพื่อที่จะยึดการควบคุม "คลองสุเอซ" กลับคืน และหากเป็นไปได้... ก็จะปลด "นัสเซอร์" ออกจากตำแหน่ง
"ฝรั่งเศส-อังกฤษ" เปิดฉากปฏิบัติการทางทหารเข้ารุกรานพื้นที่ "คลองสุเอซ" เพื่อตอบโต้การประกาศยึด Suez Canal Company คืนของ "นัสเซอร์"
29 ตุลาคม 2499 กองทหาร "อิสราเอล" เข้ารุกราน "อียิปต์" จากนั้น "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" ก็ตามมา... เช่นแผนที่ตกลงกันไว้
วันนี้ (5 พ.ย.) เมื่อ 66 ปีที่แล้ว
ภาพในวันนั้นเป็นเช่นไร ?
📸 "ทหารอิสราเอล" สวมใส่ "ผ้าคลุมไหล่" ขณะสวดมนต์ภาวนาแด่การสู้รบและการบุกโจมตีที่กำลังเกิดขึ้น ณ คาบสมุทรไซไน ประเทศอียิปต์
📸 เรือของกองกำลังทหาร "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" จอดนิ่งอยู่ใกล้กับ Port Said ประเทศอียิปต์ และพบว่า ในพื้นที่ "คลองสุเอซ" กำลังถูกไฟโหมลุกไหม้
📸 กองกำลังทหาร "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" เตรียมตัวเข้าเทียบท่าที่ Port Fouad ใกล้กับ Port Said ประเทศอียิปต์
📸 กองกำลังทหาร "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" เข้าเทียบท่าที่ Port Fouad ใกล้กับ Port Said ประเทศอียิปต์
📸 "กองกำลังทหารฝรั่งเศส" ยกพลขึ้นบกถึง Port Said ประเทศอียิปต์
การปฏิบัติการดำเนินต่อไป... การนำเรือเทียบท่าของกองกำลังทหาร "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" ถูกประณามจากนานาชาติ และถูกกดดันอย่างหนัก โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา
แน่นอนว่า การปฏิบัติการในพื้นที่ "คลองสุเอซ" ย่อมส่งผลกระทบใหญ่หลวง เกิดการหยุดชะงัก และนำไปสู่การขาดแคลนทรัพยากร เรือขนส่งสินค้าและเรือท้องแบนไม่เพียงพอ
จนท้ายที่สุด... ทั้งกองกำลังทหาร "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" ถูกบีบให้ถอนกำลังและยุติการรบ และมีผลในเวลาเที่ยงคืน 6-7 พฤศจิกายน 2499 ขณะที่ "อิสราเอล" ก็จำต้องปลดปล่อย "ไซไน"
องค์การสหประชาชาติ (UN) ยินยอมมอบอำนาจอธิปไตย "คลองสุเอซ" แก่ "อียิปต์" โดยกลับมาเปิดดำเนินการขนส่งทางเรือได้อีกครั้งในเดือนเมษายน 2500
ผลพวงจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ "อิสราเอล" ไม่สามารถใช้ "คลองสุเอซ" ได้อย่างอิสระ แต่ได้สิทธิ์การเดินเรือในช่องแคบติราน (Straits of Tīrān) ส่วน "ฝรั่งเศส-อังกฤษ" โชคไม่ดีนัก...ต้องสูญเสียอิทธิพลที่เคยมีในพื้นที่ตะวันออกกลางไป
สำหรับ "นัสเซอร์" กลับเป็นที่รู้จักในนาม "ผู้ชนะแห่งวิกฤตการณ์คลองสุเอซ" และเป็น "ฮีโร่" สำหรับชาวอียิปต์และอาหรับชาตินิยม
แหล่งอ้างอิง : National Army Museum, IWM