ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ "อินฟลูฯ" + ธุรกิจขายตรง ?


Verify

10 ต.ค. 67

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ "อินฟลูฯ" + ธุรกิจขายตรง ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1699

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ "อินฟลูฯ" + ธุรกิจขายตรง ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

วงเสวนายกระดับรับมือมิจจี้ภัยการเงิน จากพลเมืองเท่าทันสู่นโยบายสาธารณะในยุค "ดีพเฟค" ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับโคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย แนะนำประชาชนอย่าหลงเชื่อ "อินฟลูฯ" แม้เป็นคนมีชื่อเสียง หลังพบการนำธุรกิจขายตรงเพิ่มความน่าเชื่อถือผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ส่งผลคนหลงเชื่อมากขึ้น

แยกแยะ อินฟลูฯ-มิจฉาชีพ ได้อย่างไร

นางสาว สุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำที่เชื่อมต่อนักการตลาดเข้ากับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย ให้คำนิยามของการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ว่า กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ที่ก่อให้เกิดมิจฉาชีพ ถือว่าไม่ใช่อินฟลูเอนเซอร์

นางสาว สุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore)

เพราะนิยามของอินฟลูเอนเซอร์คือนักสร้างเนื้อหา ที่ทำงานกับแบรนด์ หรือใช้ชื่อเสียงของตนในการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในทางที่ดี แต่สำหรับ

อินฟลูเอนเซอร์ ที่สร้างภาพอวดรวยในโลกโซเชียลมีเดียและไปหลอกลวงผู้อื่น จะต้องเรียกคนเหล่านี้ว่ามิจฉาชีพ

ซึ่งจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต้นรู้สึกว่าหลังจากนี้จำเป็นที่จะต้องกำกับ 2 เรื่องคือ 1.ให้อินฟลูเอนเซอร์หรือคอนเทนท์ครีเอเตอร์ ควรจะต้องพิจารณาและคัดกรองสินค้าที่จะขาย รวมถึง 2.อาจจะต้องมีไกด์ไลน์ในด้านของธรรมเนียม หรือแนวทางปฏิบัติให้อินฟลูเอนเซอร์คัดเลือกสินค้าก่อนจะมาขาย เพราะอินฟลูเอนเซอร์ถือเป็นผู้ที่อยู่ในแสง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพติดต่อได้ง่าย ซึ่งบรรดาอินฟลูเอนเซอร์ มีทั้งเป็นผู้ที่หลอกและผู้ที่ถูกหลอก จึงต้องพัฒนาการทำงานของทุกฝ่ายให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

พบมีทั้ง ปชช. - อินฟลูเอนเซอร์ ถูกหลอก

นอกจากนี้สำคัญอย่างยิ่งที่ประชาชนจะต้องไม่เชื่ออินฟลูเอนเซอร์ต่าง ๆ ที่มาขายสินค้า

อย่าให้แสง สี เสียง หรือความมีชื่อเสียง ความมีตัวตนในโลกออนไลน์ มาทำให้รู้สึกว่าเคลิ้ม

เพราะแม้จะเห็นบุคคลเหล่านี้มาเป็นเวลานาน หรือรู้จักมาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป อาจจะมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีดึงดูดด้วยความโลภกับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ ด้วยการนำตำแหน่งเข้ามาหลอกล่อ ซึ่งในฐานะประชาชนจำเป็นที่จะต้องไม่หลงไปกับคนเหล่านี้เด็ดขาด และในส่วนของอินฟลูเอนเซอร์เอง ปัจจุบันก็พบว่ามีบางส่วนที่ถูกหลอกให้จ่ายเงินค่าสินค้าไปก่อนที่จะรีวิว แต่ถูกโกงเงินในภายหลังด้วยเช่นเดียวกัน

พล.อ.ต. อมร ชมเชย เลขาฯ สกมช.

เช่นเดียวกับ พล.อ.ต. อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กรณีของเคสที่กำลังเป็นข่าวมองว่าเป็นการนำเอากลลวงธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย Multi-Level Marketing หรือ MLM มาบวกกับการนำคนดังมาพูดขายฝัน ถือเป็นแนวคิดที่ทำให้ประชาชน แม้จะยังไม่ทราบว่าสภาพแวดล้อมของธุรกิจจะเป็นอย่างไร แต่กลับเชื่อในตัวของอินฟลูเอนเซอร์ไปก่อน

ซึ่งกลลวงรูปแบบนี้ ถือว่ามีมาเป็นระยะเวลานาน และเชื่อว่าจะมีอยู่ต่อไป ละแมสว่าจะยังไม่มีเอไอดีพเฟคก็ตาม แต่การใช้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่เมื่อเห็นหน้าและหลงเชื่อเลยก็เป็นสิ่งที่ทำให้ถูกหลอกต่อไป ฉะนั้นการคิดเชิงวิเคราะห์ ว่าอะไรเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องนำมาวิเคราะห์ด้วย

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

หลอกกดลิงก์หลอกจ้างงานหลอกผู้สูงอายุหลอกลงทุนหลอกลวงโดนหลอกหลอกโอนเงินหลอกโอนจ่ายมัดจำ
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

ทีม Thai PBS Verify

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด