ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สหรัฐขึ้นภาษีไทย กระทบส่งออกหนัก แนะปฏิรูปโครงสร้างผลิต

เศรษฐกิจ
3 เม.ย. 68
14:32
812
Logo Thai PBS
สหรัฐขึ้นภาษีไทย กระทบส่งออกหนัก แนะปฏิรูปโครงสร้างผลิต
อ่านให้ฟัง
05:07อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สหรัฐประกาศขึ้นกำแพงภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก เรียกเก็บจากไทยสูงสุด 36% สรท.มองว่า เกินความคาดหมายที่ประเมินไว้ แนะรัฐเร่งเจรจาสหรัฐหาทางออก และใช้โอกาสนี้ปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรม เน้นสินค้าที่ไทยมีอำนาจต่อรอง

วันนี้ (3 เม.ย.2568) หลายประเทศกำลังกังวลกับสงครามการค้าที่จะรุนแรงขึ้น หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศขึ้นกำแพงภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ทำการค้าเกินดุลกับสหรัฐ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยที่เรียกเก็บภาษีสูงสุด 36% ปัจจุบันภาคการส่งออกของไทย กำลังประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้

โดยหลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นภาษีนำเข้ากับประเทศไทย 36% และจากประเทศอื่นๆ อีกประมาณ 60 ประเทศ มีผลบังคับใช้วันที่ 9 เม.ย.2568

โดยประเทศจีนรวมแล้วสูงสุดมากกว่า 54% ขณะที่ประเทศไทยติดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอัตราภาษีสูงสุดที่ 36% ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับมาตรการดังกล่าวหลายฝ่ายมองว่า จะเป็นการขยายสงครามการค้าที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดโลก รวมถึงสร้างความสับสนให้กับประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ

ขณะที่สถานการณ์การส่งออกของไทย แม้ว่าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2568 จะเติบโตที่ 13% แต่ภาคการผลิตของไทยกลับทรงตัวและไม่มีการเติบโต

นายธนากร เกษตรสุวรรณ กรรมการสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเข้าแห่งประเทศไทย จึงเสนอแนวทางการรับมือกับนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐ ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างการผลิต และแนวปฏิบัติทางด้านการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการค้าไทย ทั้งนี้ รัฐบาลควรเจรจากับสหรัฐโดยด่วน

ด้านนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์​​ ระบุว่า การรับมือผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางภาษีของสหรัฐฯ ปัจจุบันรัฐบาลมีแผนไว้อยู่แล้ว โดยนโยบายเร่งด่วนจะเป็นการช่วยเหลือภาคการส่งออก โดยเฉพาะ SME ซึ่งจะมีค่าชดเชยในเบื้องต้น ส่วนระยะยาวจะต้องเร่งเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ ที่กำลังมองหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ EU ที่ไทยอยู่ระหว่างเจรจาน่าจะเห็นผลเร็วมากขึ้น เพราะทุกประเทศก็กำลังมองตลาดการค้าใหม่ๆ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐเช่นกัน

ขณะที่ในมิติการเจรจาการค้ากับสหรัฐ รัฐบาลได้หารือกับภาคเอกชนและเตรียมข้อเสนอไว้หมดแล้ว ทั้งด้านการค้า การลงทุน โดยจะคำนึงและให้ความสำคัญถึงผลกระทบของเกษตรกรไทยเป็นหลัก ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการตอบรับเพื่อเข้าร่วมเจรจา

นอกจากนี้ ยังความเห็นจาก นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) มีมุมมองต่อนโยบายสหรัฐกับการเรียกเก็บภาษีจากไทย 36% โดยงานแรกของรัฐบาลคือต้องไปหาต้นตอ ว่าภาษีไทยที่เรียกเก็บกับสหรัฐ 72% มาจากไหน เพราะสหรัฐคิดว่าไทยเก็บภาษีสินค้าสหรัฐ 72% ทั้งๆ ที่ค่าเฉลี่ยภาษีนำเข้าแค่ประมาณ 10% ขณะเดียวกันหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ยังเสนอมุมมอง 3 ทางเลือก ได้แก่ "สู้" แบบ แคนาดา ยุโรป หรือจีน "หมอบ" คือเจรจาหาทางลงที่สหรัฐฯ พอใจเช่นปรับลดภาษี หรือยอมเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ "ทน" จ่ายอัตราภาษีแบบนี้ หากเราหาทางออกไม่ได้

ขณะที่มุมมองของ บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด มองว่า ตามการวิเคราะห์แบบละเอียดอ่อน อัตราภาษีที่ 36% อาจทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง -3.6% และการส่งออกจะหดตัวประมาณ -7% หากไม่มีการเจรจาต่อรองและการลดดอกเบี้ยจากแบงก์ชาติ เศรษฐกิจไทยอาจหดตัว -1.1% ในปีนี้ ลดลงจากการคาดการณ์พื้นฐานที่ 2.5%

อ่านข่าว :

กลยุทธ์กำแพงภาษี กับความต้องการของ "ทรัมป์"

"ชาติเอเชีย" งัดกลยุทธ์ฝ่าวิกฤตกำแพงภาษีสหรัฐฯ

จับตา "ทรัมป์" ผลักโลกทั้งใบ สู่สงครามการค้าเต็มรูปแบบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง