ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"Future Food" เทรนด์อาหารโลก อนาคตคนรุ่นใหม่ บนวิถียั่งยืน

เศรษฐกิจ
29 พ.ย. 66
10:35
8,615
Logo Thai PBS
"Future Food" เทรนด์อาหารโลก อนาคตคนรุ่นใหม่ บนวิถียั่งยืน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ออกตัวแรงและโปรโมตตัวเองในฐานะ "ครัวโลก" โดยอาศัยความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมอาหาร และนวัตกรรมอาหารมาตั้งแต่ปี 2564 ว่า "ประเทศไทย" คือ ผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่สุด อันดับที่ 13 ของโลก

มูลค่าการส่งออกกว่า 30,5000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันหลายประเทศรวมทั้งไทยกำลังประสบชะตากรรมไม่ต่างกันจากปัญหาภัยแล้ง หรือ "เอลนีโญ" โดยเฉพาะในปี 2567 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อทำพืชผลการเกษตรและการปศุสัตว์

อ่านข่าว : อาหารทะเลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ปลา ปกป้องมหาสมุทร ลดการทำร้ายสัตว์

อาหารฟิวชั่น

อาหารฟิวชั่น

อาหารฟิวชั่น

ดังนั้น "อาหารแห่งอนาคต" หรือ "Future Food" จึงถูกกล่าวถึงในวงกว้างและถือเป็นอาหารทางเลือกของกลุ่มคนรักสุขภาพ ซึ่งผลิตจากแหล่งโปรตีนพืชและถูกนำมาใช้เป็นอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไทยเป็นผู้ส่งออกโปรตีนทางเลือกรายใหญ่อันดับที่ 25 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกอาหารแห่งอนาคต 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรกของปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2564 ตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จีน และ เวียดนาม

สำหรับ Future Food หรือ อาหารอนาคต จะเป็นการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยภาครัฐหลายหน่วยงานได้มีการวางแผนสนับสนุนอาหารแห่งอนาคตตามเทรนด์อาหารและกระแสความยั่งยืนของโลก

แมลงอาหารอนาคตโปรตีนสูง

แมลงอาหารอนาคตโปรตีนสูง

แมลงอาหารอนาคตโปรตีนสูง

"Future food" อาหารเทรนด์โลก

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย เปิดเผยกับ "ไทยพีบีเอสออนไลน์" ถึงแนวโน้มอาหารอนาคต ว่ายังเผชิญกับความท้าทายที่กดดันจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะเป็น ตลาดคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ ยุโรป จีน ที่ส่งผลต่อกาลังซื้อของผู้บริโภค รวมทั้งต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้นอย่าง ราคาวัตถุดิบ ค่าแรง ราคาพลังงาน ไฟฟ้า จึงทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลง

อ่านข่าว :  จากห้องแล็บสู่จานอาหาร สหรัฐฯ อนุมัติให้ขายเนื้อไก่จากการเพาะเลี้ยงเซลล์

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

สำหรับปัจจัยหนุนอาหารอนาคตไทยและเทรนด์โลกในอนาคต คาดว่าผู้บริโภคยังให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพ ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมซึ่งมีมากขึ้น อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าภาพรวมอาหารอนาคตของโลกและไทยยังมีโอกาสเติบโตได้

อ่านข่าว: เตรียมรับมือ "ผัก-ผลไม้" ฉลากสินค้าเรือนกระจก หลังญี่ปุ่นเข้มนำร่อง

นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า ในอนาคตโลกอาจขาดแคลนทรัพยากร แนวคิดอาหารทางเลือกจึงเกิดขึ้น เช่น สาหร่าย ซึ่งเป็นทองคำสีเขียวแห่งโภชนาการ กำลังได้รับความนิยมในฐานะแหล่งอาหารชั้นยอดและแหล่งโปรตีนที่ยั่งยืน เห็ด ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความหลากหลาย เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยง กำลังได้รับความสนใจ และแมลง คุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนที่สูง ใช้ทรัพยากรในการเลี้ยงน้อยกว่าเนื้อสัตว์ใหญ่

เทรนด์ที่เปลี่ยนไป Future Food จึงไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัว แต่เป็นทางออกของไทยและของโลก ที่อาหารจะไม่เป็นแค่ของอร่อยกินอิ่มท้อง แต่จะเป็นอาหารที่ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อโลก
แมลงอาหารอนาคตโปรตีนสูง

แมลงอาหารอนาคตโปรตีนสูง

แมลงอาหารอนาคตโปรตีนสูง

เปิดเทรนด์ 4 กลุ่ม Future Food 

นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า กระแสความยั่งยืนของโลกอาหารอนาคต แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ (Functional food and drink) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำสามารถให้คุณค่าที่จำเป็นกับร่างกาย เช่น ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ ซึ่งจะไม่อยู่ในรูปแบบแคปซูล เม็ดยา แต่จะหน้าตาเป็นอาหารทั่วไป อาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic foods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลผลิตจากทางการเกษตรที่ปราศจากสารเคมี

อาหารกลุ่มที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (Novel foods) เป็นรูปแบบอาหารใหม่ที่ใช้นวัตกรรมการผลิตสูง และไม่เคยมีการผลิตมาก่อน เช่น Meat Avatar แบรนด์นวัตกรรมอาหาร เนื้อจำแลง โดยการใช้พืชทดแทนเนื้อสัตว์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการแรกจนผลิตออกมาเป็นอาหารเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

และอาหารทางการแพทย์ (Medical foods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริม แต่เป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ

อ่านข่าว : ม.นเรศวร ดัน "จิ้งหรีด" อาหารแห่งอนาคตต่อยอดเชิงพาณิชย์

เนื่องจากอาหารอนาคตหรือ Future food ในตลาดเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยมมาก เพราะมีราคาแพง และกลุ่มเป้าหมายเป็นเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มคนกินมังสวิรัติ กลุ่มคนรักสุขภาพ และยังมีปัญหาเรื่องรสชาติที่ยังไม่ถูกปากผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงส่งออกอาหารอนาคตไปตลาด อาเซียนมากสุดถึงร้อยละ 44 มูลค่า 43,800 ล้านบาท รองลงมาเป็น ตลาดสหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ 14 มูลค่า 14,000 ล้านบาท ตลาดจีน ร้อยละ 11 มูลค่า 11,000 ล้านบาท และตลาอียู (27) และ อังกฤษ มีสัดส่วนร้อยละ 10 มูลค่า 10,200 ล้านบาท

อาหารอนาคตไทยยังคงเจอกับความท้าทายที่กดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และต้นทุนของการผลิตอาหารยังสูง ทำให้การแข่งขันของไทยลดลง
เนื้อจำแลง

เนื้อจำแลง

เนื้อจำแลง

นอกจากนี้ยังไม่รวมไปถึงวิกฤติทางการค้าและเศรษฐกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ ภัยธรรมชาติ แนวโน้มดอกเบี้ย และมาตรการทางการค้าใหม่ๆ ที่ยังต้องติดตาม

นายวิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพ ดังนั้นเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ จึงมีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือ รวมถึงความมั่นคงด้านผลิตและบริโภค ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าทั่วโลกต่างให้ความสนใจและร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ Climate Change

โปรตีนจักจั่น

โปรตีนจักจั่น

โปรตีนจักจั่น

"จิ้งหรีด"ทางเลือกคนชอบโปรตีน

แมลง จัดอยู่ในกลุ่มอาหารใหม่ (Novel Food) หรือ อาหารที่ผลิตจากโปรตีนทางเลือกโดยปัจจุบันอาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของแมลง เริ่มได้รับความนิยมเนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหารจำนวนมากมีโปรตีนสูงไม่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์หลัก

รวมทั้งมีแร่ธาตุ แคลเซียม ไฟเบอร์ วิตามินสูง และไขมันต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนแห่งอนาคต ซึ่งโปรตีนสูงกว่าเนื้อวัว หมูและไก่แล้ว การเพาะเลี้ยงแมลงยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากใช้พื้นที่ น้ำ และอาหารในการเพาะเลี้ยงไม่มาก แถมยังปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าหลายเท่าตัว และแมลงที่ได้รับความนิยมขณะนี้ คือ "จิ้งหรีด" (Cricket) หนึ่งในแมลงอุตสาหกรรมของไทย

BSF โปรตีนทางเลือกกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์

นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า โปรตีนจากแมลงมองว่ายังสามารถแข่งขันได้และเติบโตในอาหารของคนและสัตว์ เช่น BSF ซึ่งเป็นโปรตีนจากหนอนแมลงวันที่สามารถนำมาทดแทนปลาป่นที่นำมาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ด้านนายณัฐชนนท สตันยสุวรรณ พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า เคยซื้ออาหารทางเลือกมารับประทานที่แทนเนื้อสัตว์ ยอบรับว่ามีราคาสูงกว่าอาหารปกติ ส่วนรสชาติแม้จะใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์แต่สู้เนื้อสัตว์ของจริงไม่ได้

ปกติก็ซื้อมากินเป็นบางครั้ง เช่น ช่วงกินเจ หรือกินมังฯ แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงทำให้ไม่กินบ่อยมาก แต่อยากให้พัฒนาเรื่องรสชาติที่กลมกล่อมมากกว่านี้ และราคาถูกลงมาให้ใกล้เคียงกับอาหารที่ซื้อตามร้านค้า

 อ่านข่าวอื่น:

"เกษตร-บริการ" กระอัก เศรษฐกิจไทยกระเตื้อง รับปรับค่าแรงขั้นต่ำ

"คาเฟ-ขนมหวาน-ลูกค้า" สะเทือนถ้วนหน้า น้ำตาลทรายขึ้น 2 บาท

หัวอก“รถเกี่ยวข้าว”ยังไม่ปรับราคา วอนแก้จ่ายค่าเหยียบแผ่นดินอีสาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง