ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
ฟังเสียงประเทศไทย
ฟังเสียงประเทศไทย

เมื่อไหร่สังคมไทย จะมีที่ทางให้กับคำว่า "ชนเผ่าพื้นเมือง"

หน้ารายการ
15 ก.พ. 68

เกือบ 2 ทศวรรษ ที่มีความพยายามทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถดำรงวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมและเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ ก่อนที่จะมี "ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ." กฎหมายแห่งความหวังที่ภาคประชาชน และวิชาการร่วมกันผลักดันเข้าสู่สภาฯ ได้สำเร็จ และเดินหน้าผ่านมติของสภาในวาระ 3 ไปเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 ที่ผ่านมา

แต่การผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว กลับไม่ได้เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าพื้นเมือง เพราะสภาได้ปัดตก มาตรา 27 ไม่เห็นด้วยกับหลักการ "พื้นที่คุ้มครองชาติพันธุ์" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของร่างกฎหมายที่จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชาติพันธุ์ และยังไร้ซึ่งคำว่า "ชนเผ่าพื้นเมือง" กลายเป็นกฎหมายที่เขียนโดยละเลยเจตนารมณ์ของประชาชน

เพราะอะไรนิยาม "ชนเผ่าพื้นเมือง" ถึงกลายเป็นปัญหา และ "พื้นที่คุ้มครองชาติพันธุ์" จึงเป็นเงื่อนไข แล้วเมื่อไหร่สังคมไทยจะมีที่ทางให้กับคำว่า ชนเผ่าพื้นเมือง ชวนมาร่วมกันคิด ร่วมกันมอง หาทางออก เพื่อปลดล็อกประเทศไทยเดินหน้าต่อไปพร้อม ๆ กัน กับแขกรับเชิญทั้ง 5 ท่าน

  1. ปิ่นสุดา นามแก้ว เยาวชนชาติพันธุ์ดาราอาง และผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง
  2. พงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ตัวแทนชาวบ้านบางกลอย และกลุ่มบางกลอยคืนถิ่น
  3. วิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวเลอันดามัน
  4. ศักดา แสนมี่ เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
  5. อภินันท์ ธรรมเสนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ติดตามได้ในรายการฟังเสียงประเทศไทย วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 17.30-18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ดูรายการฟังเสียงประเทศไทยแบบจุใจ ในรูปแบบ UNCUT ได้แล้ววันนี้ ที่ YouTube CitizenThaiPBS

เมื่อไหร่สังคมไทย จะมีที่ทางให้กับคำว่า "ชนเผ่าพื้นเมือง"

15 ก.พ. 68

เกือบ 2 ทศวรรษ ที่มีความพยายามทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถดำรงวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมและเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ ก่อนที่จะมี "ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ." กฎหมายแห่งความหวังที่ภาคประชาชน และวิชาการร่วมกันผลักดันเข้าสู่สภาฯ ได้สำเร็จ และเดินหน้าผ่านมติของสภาในวาระ 3 ไปเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 ที่ผ่านมา

แต่การผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว กลับไม่ได้เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าพื้นเมือง เพราะสภาได้ปัดตก มาตรา 27 ไม่เห็นด้วยกับหลักการ "พื้นที่คุ้มครองชาติพันธุ์" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของร่างกฎหมายที่จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชาติพันธุ์ และยังไร้ซึ่งคำว่า "ชนเผ่าพื้นเมือง" กลายเป็นกฎหมายที่เขียนโดยละเลยเจตนารมณ์ของประชาชน

เพราะอะไรนิยาม "ชนเผ่าพื้นเมือง" ถึงกลายเป็นปัญหา และ "พื้นที่คุ้มครองชาติพันธุ์" จึงเป็นเงื่อนไข แล้วเมื่อไหร่สังคมไทยจะมีที่ทางให้กับคำว่า ชนเผ่าพื้นเมือง ชวนมาร่วมกันคิด ร่วมกันมอง หาทางออก เพื่อปลดล็อกประเทศไทยเดินหน้าต่อไปพร้อม ๆ กัน กับแขกรับเชิญทั้ง 5 ท่าน

  1. ปิ่นสุดา นามแก้ว เยาวชนชาติพันธุ์ดาราอาง และผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง
  2. พงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ตัวแทนชาวบ้านบางกลอย และกลุ่มบางกลอยคืนถิ่น
  3. วิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวเลอันดามัน
  4. ศักดา แสนมี่ เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
  5. อภินันท์ ธรรมเสนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ติดตามได้ในรายการฟังเสียงประเทศไทย วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 17.30-18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ดูรายการฟังเสียงประเทศไทยแบบจุใจ ในรูปแบบ UNCUT ได้แล้ววันนี้ ที่ YouTube CitizenThaiPBS

08:00

Journeys in Japan การท่องเที่ยวในญี่ปุ่น

30 นาที

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด
ละครบ้านชนะใจ

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย