ลมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดระหว่างการขึ้นบินหรือการลงจอดของเครื่องบิน เนื่องจากแรงและทิศทางลมมีผลต่อแรงยกของเครื่องบินรวมถึงทิศทางของเครื่องบิน คล้ายกับการล่องเรือที่ต้องคำนึงถึงทิศทางของกระแสน้ำหรือคลื่น
Crosswind Landing หรือการลงจอดเมื่อมีลมขวางเป็นหนึ่งในความท้าทายที่นักบินจะต้องถูกฝึกมาให้ลงจอดได้
Crosswind คือ ลมในลักษณะที่ตั้งฉากกับทิศทางของทางวิ่ง กล่าวคือ หากเครื่องบินบินมาในทางตรงโดยไม่ทดแทนทิศทางลม เครื่องบินจะค่อย ๆ ถูกลมพัดออกห่างจากทางวิ่งไปเรื่อย ๆ เนื่องจากลม ทำให้ในที่สุดเครื่องบินก็จะบินไม่ตรงทางวิ่งและไม่สามารถลงจอดได้
Crosswind Landing คือ การลงจอดระหว่างที่มีลมขวางโดยใช้เทคนิคการทดแทนทิศทางของลมด้วยการบินเฉียงเพื่อหักล้างแรงของลม
การบินเฉียงหรือที่เรียกว่า “Crab” นั้นแก้ปัญหาเรื่องลมเมื่อเครื่องบินจะค่อย ๆ ถูกพัดออกจากทางวิ่ง ทำให้เครื่องบินสามารถ “Line Up” กับทางวิ่งได้ตรง อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมาคือเมื่อเครื่องบินแตะพื้นของทางวิ่งในท่าบินเฉียง ล้อของเครื่องบินจะไถล คล้ายกับการดริฟต์
วิธีแก้ปัญหาในสมัยก่อนก็คือการออกแบบล้อทั้งหมดให้สามารถเลี้ยวได้ เพื่อที่จะทำให้เครื่องบินสามารถลงแตะพื้นได้ในท่าเฉียงโดยไม่ไถล
เทคนิคในการบินค่อย ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนในปัจจุบัน การลงจอดในท่าเฉียงนั้นเป็นมาตรฐานแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากล้อของเครื่องบินสมัยใหม่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ลงจอดในท่าเฉียง ก่อนที่ล้อของเครื่องบินจะแตะพื้น เครื่องบินมักจะเปลี่ยนท่ากลับเป็นท่าตรงและแตะพื้นด้วยท่าตรงเพื่อป้องกันการไถลของล้อ
อย่างไรก็ตามการลงในท่าเฉียงหรือท่า “Crab” ยังทำได้ในกรณีอย่างเช่นเมื่อทางวิ่งนั้นเปียก เช่น จากฝนตก ทำให้ถึงแม้จะลงในท่าเฉียงทำให้ล้อไม่ตรงกับทางวิ่ง ล้อจะไม่ไถลหรือสะดุดอย่างรุนแรงเนื่องจากพื้นทางวิ่งลื่น ทำให้เครื่องบินค่อย ๆ สามารถเปลี่ยนกลับมาท่าตรงบนทางวิ่งได้หลังจากลงจอดแล้ว
เรียบเรียงโดย โชติทิวัตถ์ จิตต์ประสงค์
อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech