ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พรรณไม้น่ารู้ ! “สิงโตกำมะหยี่” กล้วยไม้ถิ่นเดียวของไทย


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

30 เม.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

พรรณไม้น่ารู้ ! “สิงโตกำมะหยี่” กล้วยไม้ถิ่นเดียวของไทย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1111

พรรณไม้น่ารู้ ! “สิงโตกำมะหยี่” กล้วยไม้ถิ่นเดียวของไทย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

พรรณไม้น่ารู้ ! Thai PBS Sci & Tech ชวนรู้จัก “สิงโตกำมะหยี่” 𝘉𝘶𝘭𝘣𝘰𝘱𝘩𝘺𝘭𝘭𝘶𝘮 𝘥𝘩𝘢𝘯𝘪𝘯𝘪𝘷𝘢𝘵𝘪𝘪 Seidenf. วงศ์ : Orchidaceae กล้วยไม้ถิ่นเดียวของไทย พบที่จังหวัดพิษณุโลกและเลย

สิงโตกำมะหยี่

“สิงโตกำมะหยี่” ถูกค้นพบครั้งแรกจากการสำรวจของ Dr. Gunnar Seidenfaden และศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 Dr. Gunnar Seidenfaden ได้ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ว่า “𝘉𝘶𝘭𝘣𝘰𝘱𝘩𝘺𝘭𝘭𝘶𝘮 𝘥𝘩𝘢𝘯𝘪𝘯𝘪𝘷𝘢𝘵𝘪𝘪” เป็นพืชนิดใหม่ของโลก ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Felicitation Volumes of Southeast Asia Studies 1 หน้า 154 ปี ค.ศ. 1965 ตัวอย่างเก็บจากป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงและภูทองจังหวัดพิษณุโลก

โดยคำระบุชนิด "𝘥𝘩𝘢𝘯𝘪𝘯𝘪𝘷𝘢𝘵𝘪𝘪" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแต่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต) ผู้ทรงคุณวุฒิปรีชาสามารถรอบรู้ในนานาวิทยาการ เป็นที่นับถือยกย่องในหมู่บัณฑิตทั้งไทยและต่างประเทศ

สิงโตกำมะหยี่

“สิงโตกำมะหยี่” เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยหรือขึ้นบนหิน ลำลูกกล้วยรูปทรงกลม ผิวเป็นมันวาว ขึ้นชิดกันเป็นกอบนเหง้าสั้น ๆ ใบรูปขอบขนาน 2 ใบ กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. เรียงตรงข้าม ปลายมน ใบแก่สีเหลืองเข้มก่อนหลุดร่วงที่ข้อต่อ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น มีเพียง 1 ช่อ ดอกยาวประมาณ 5 มม. เรียงชิดกันแน่น ใบประดับรองรับดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกและรังไข่สั้น มีขนปกคลุม กลีบเลี้ยงบนรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ข้างคล้ายรูปคล้ายสามเหลี่ยม ด้านนอกมีขนกำมะหยี่ปกคลุม กลีบดอกสีม่วงเข้ม รูปขอบขนาน เกลี้ยง กลีบปากสีม่วงคล้ำ รูปขอบขนาน หนาและอวบน้ำ ปลายกลีบมนและโค้งลง เส้าเกสรสีม่วง มีขนาดเล็กและสั้น ที่ปลายมีรยางค์คล้ายเขี้ยวยื่นขึ้น

“สิงโตกำมะหยี่” เป็นกล้วยไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย พบที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเลย ขึ้นตามต้นไม้ในวงศ์ก่อ หรือพบบ้างที่เจริญบนก้อนหินในบริเวณที่ร่มมีแสงแดดรำไรในป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,000-1,400 เมตร ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ช่วงออกดอกจะทิ้งใบ

สถานภาพ : ไม่พบปลูกเลี้ยงตามบ้านหรือสวนพฤกษศาสตร์ เนื่องจากมีความจำเพาะกับถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ มีประชากรน้อยมาก


Thai PBS Sci & Tech พรรณไม้น่ารู้

📌อ่าน : ชวนรู้จัก “สิงโตนายสนิท” กล้วยไม้ป่าดิบเขาภาคเหนือไทย

📌อ่าน : พรรณไม้น่ารู้ ! “จำปีสิรินธร” พันธุ์ไม้ถิ่นเดียวและหายากของไทย

📌อ่าน : บานสะพรั่งรับลมร้อน “ดอกกุหลาบขาว” พันธุ์ไม้พื้นถิ่นบนเทือกเขาสูง

📌อ่าน : พรรณไม้น่ารู้ ! “หมักม่อ” ไม้ป่าดอกสวย ณ อุทยานแห่งชาติตาดโตน

📌อ่าน : พรรณไม้ไทย “แสมสาร” พฤกษศาสตร์โลกรู้จักมากกว่า 100 ปี

📌อ่าน : ชวนรู้จัก “ม่วงเทพรัตน์” ไม้มงคลพระราชทาน


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

สิงโตกำมะหยี่พรรณไม้น่ารู้กล้วยไม้กล้วยไม้ป่าพฤกษศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด