วันนี้ (31 มี.ค.2568) นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอ การค้าไทย กล่าวว่า กรณีแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา หอการค้าไทย ยังยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยยังสามารถเดินหน้าต่อได้ หากมีการบริหารจัดการร่วมกันอย่างเต็มที่จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว โปร่งใส และการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องออกสู่สังคม และต้องยอมรับว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน

นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย
นายพจน์ อร่ามวัฒนนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย
ทุกหน่วยงานจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น และระบบเตือนภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและอันดับแรกที่จะต้องเร่งดำเนินการ รวมถึงการสร้างศูนย์กลางเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับสังคมทั้งในประเทศและทั่วโลกเข้าใจเพื่อป้องกันความ เข้าใจผิด และให้ทุกภาคส่วนยังคงมีความเชื่อมั่น เพราะจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ มีความเข้าใจอยู่แล้วในเหตุแผ่นดินไหว
สำหรับมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจยังเร็วเกินไปที่จะประเมินทั้งนี้ยังคงมั่นใจว่าภาคการผลิตยังไม่มีผลกระทบ รวมไปถึงภาคของการส่งออก ยังมองว่าเป็นทิศทางที่ดี ส่วนการท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ไม่น่าจะมีปัญหาแต่จำเป็นจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาโดยเร็วที่สุด

พร้อมทั้งเร่งตรวจสอบระบบอาคารทั่วประเทศทุกจังหวัด ให้กับมาโดยเร็วที่สุด อาคารไหนที่ยังเป็นความเสี่ยงก็จำเป็นจะต้องเร่งแจ้ง ส่วนไหนสามารถดำเนินการได้ก็ประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีความมั่นใจ ส่วนจีดีพีของไทยในปีนี้ยังคงอยู่ที่ 3% การส่งออกยังคงโตตามเป้าหมายแม้จะมีความกังวลในส่วนของ ทรัมป์ 2.0 อยู่บ้าง
ประธานหอการค้ากล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่าภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์และประเมินล่วงหน้าได้ แต่สิ่งที่จะต้องเร่งและสร้างมาตรฐาน คือ การทำระบบแจ้งเตือนภัย ต้องให้มีความรวดเร็ว เพื่อที่ให้ประชาชนได้รับรู้และมีการเตรียมรับมือ

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามและแก้ไขปัญหาการเตือนภัย SMS ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามและแก้ไขปัญหาการเตือนภัย SMS ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
นอกจากนี้ หอการค้าไทยขอให้ทางรัฐบาลช่วยประสานงานไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้ ให้มีหน่วยงานกลางที่ช่วยประสานงานเข้าแก้ปัญหาในรูปแบบเดียวกันกับกรุงเทพฯ
โดย หอการค้าไทยนำเสนอแนวทางข้อเสนอของต่อภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การจัดการด้านความปลอดภัยต่อระบบภัยพิบัติ รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ มี 8 ข้อ ประกอบด้วยเร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในตึกอาคารอย่างรวดเร็วที่สุด โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแบบอย่างในการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต

,กำลังหนดให้มีตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ทั้งสำนักงาน โรงงาน อาคารสูง และสิ่งปลูกสร้างในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย รวมถึงสอบหาข้อเท็จจริงถึงปัญหาที่เกิดเหตุขึ้น,เร่งจัดทำระบบเตือนภัยพิบัติไปสู่ภาคประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีโดยด่วน
และการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและซักซ้อมแผนฉุกเฉิน ในกรณีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั้งภาคประชาชน ภาคสังคม และภาคธุรกิจ พร้อมสนับสนุนระบบสื่อสารฉุกเฉิน และอบรมเจ้าหน้าที่ในสถานประกอบการรวมทั้งการส่งเสริมมาตรฐานผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ระบบควบคุมอาคารและการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ในทุกจังหวัดโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ เพื่อเสริมความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์

,เร่งรัดมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประกอบการรายย่อย SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ รวมถึงการประสานผู้ประกอบการด้านก่อสร้างและวัสดุ เพื่อซ่อมแซมอาคารและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพ ราคาประหยัดจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน
รวมทั้งมาตรการสื่อสารเชิงรุก เชิงบวกและสร้างความเข้าใจร่วมกับภาคีเครือข่ายในทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนและนักลงทุนมั่นใจว่าไทยสามารถบริหารสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรัฐบาลควรมีหน่วยงานกลางที่จะเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ เพื่อสื่อสารให้ทันเวลา โปร่งใส อย่างถูกต้องตามสถานการณ์ที่เป็นจริงให้กับสาธารณชนและต่างประเทศได้รับทราบ
หอการค้าไทยพร้อมประสานงานและสนับสนุนสมาชิก ที่เป็นผู้ประกอบการทั่วประเทศ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และร่วมฟื้นฟูประเทศไทยให้มั่นคง แข็งแรง และยั่งยืนผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ด้วยความปลอดภัย และร่วมกันสร้างประเทศไทยที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้สูญเสีย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาและกระทบ
อ่านข่าว : ศูนย์วิจัยกสิกร ประเมินแผ่นดินไหว "เศรษฐกิจ" เสียหาย 2 หมื่นล้าน
ขุมทรัพย์ “ไชน่า เรลเวย์” แกะรอยผู้ถือหุ้นจีน-ไทย สร้างอาคารสตง.