ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สมาคมชาวนาฯ หนุน “ประกันราคา” ยืน 5 ข้อ แก้ราคาข้าวดิ่ง

เศรษฐกิจ
21 ก.พ. 68
15:39
156
Logo Thai PBS
สมาคมชาวนาฯ หนุน “ประกันราคา” ยืน 5 ข้อ แก้ราคาข้าวดิ่ง
สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ออกแถลงการณ์ 3 มาตรการช่วยเหลือชาวนา ไม่ตอบโจทย์ ร้อง “นบข” ทบทวน ใหม่ หนุน “ประกันราคา” ไม่ต่ำว่า 1 หมื่นบาทต่อตัน ยืน 5 ข้อเสนอแก้ราคาดิ่ง พร้อมตั้ง 9 คำถามถึงรัฐบาล

วันนี้ ( 21 ก.พ.2568) นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ออกแถลงการณ์ของสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยว่า ตามที่สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ได้ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ด้านอนุตลาดฯ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธานการประชุม และได้ร่วมพิจารณามาตรการช่วยเหลือด้านราคาข้าวนาปีการผลิต 2568

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

ดังนี้1. ขยายโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปรัง ช่วยค่าฝากเก็บ 1,500 บาท/ตัน ระยะเวลา 1-5 เดือน ในพื้นที่ 72 จังหวัด ปริมาณ 1.5 ล้านตัน วงเงิน 1,219.13 ล้านบาท

2. การเพิ่มช่องทางการตลาดในประเทศโดยเปิดจุดรับซื้อ รัฐสนับสนุนค่าบริหารจัดการตันละ 500 บาท ผู้ประกอบการช่วยซื้อในราคานำตลาด 300 บาทต่อตัน เป้าหมาย 300,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัด งบประมาณ 150 ล้านบาท เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรที่ต้องการจะขายเลย

3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อกข้าว ช่วยดอกเบี้ยผู้ประกอบการ 6% สำหรับผู้ประกอบการเก็บสต็อก 2 - 6 เดือน และผู้ประกอบการรับซื้อราคาสูงกว่าตลาด 200 บ./ตัน ขึ้นไป เป้าหมาย 2 ล้านตัน วงเงิน 524.40 ล้านบาท โดยทั้ง 3 มาตรการ ใช้งบประมาณรวม 1,893.53 ล้านบาท

โดยสมาคมชาวนนาและเกษตรกรไทย โดยนายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ได้ชี้แจงรายละเอียด ข้อจำกัด และขีดความสามารถของมาตรการดังกล่าวถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับการใช้งบประมาณ

การเปิดช่องโอกาสให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบาย รวมถึงความไม่พร้อมในเรื่ององค์ประกอบในสถาบันที่ร่วมโครงการ และที่สำคัญ มาตรการต่างๆ ยังไม่ตรงตามความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ

มติกรรมการสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เห็นพ้องว่า มาตรการทั้งหมด ไม่ตอบสนองความเดือดร้อนของเกษตรกรโดยแท้จริง ขอให้นบข. ทบทวนและวางมาตรการใหม่ตามที่เกษตรกรร้องขอ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร และป้องกันการสุ่มเสี่ยงทางเสถียรภาพของรัฐบาล

อย่างไรก็ตามสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ขอสรุปความเดือดร้อน ของเกษตรกรผู้ทำนาปรังปีการผลิต 2567/68 ดังนี้ 1 ขอให้ภาครัฐพิจารนา มาตรการประกันราคาผลผลิตข้าวเปลือกจ้าวในฤดูนาปรังปีการผลิต 2568 ความชื้นไม่เกิน 15% ราคาไม่ต่ำกว่า 12,000 บาท/ตัน 1.2ความชื้นไม่เกิน 25% ราคาไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท/ตัน

2.ขอให้ภาครัฐพิจารนา มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในกรณีงดเผาตอซังฟางข้าว ไร่ละ500 บาท ตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เกษตรกรขึ้นทะเบียนไว้

3 ขอให้ภาครัฐควบคุมปัจจัยการผลิต เช่นปุ๋ย ยา และน้ำมันเชื้อเพลิง

4 ขอให้ภาครัฐพิจารนาหาแนวทางชดเชยพื้นที่เกษตรกรที่ใช้เป็นทุ่งรับน้ำ ตามที่เกษตรกรร้องขอ

5 ขอให้ภาครัฐพิจารนาโครงการไร่ละ1,000 ให้ยังคงเดิม อันเป็นการวางมาตรการความเสี่ยงในเรื่องต้นทุนการผลิต

ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการต่างๆ ภาครัฐต้องพิจารนาถึงกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเก็บเกี่ยวไปแล้วให้ได้รับสิทธิ์ในมาตรการดังกล่าวทุกมาตรการ โดยเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้สมาคมฯตั้ง 9 ประเด็นสอบถามในที่ประชุมมีดังนี้ 1. พื้นที่นาปรัง 10 ล้านไร่ ผลผลิต 6.5 ล้านตัน แต่โครงการมีเป้าหมายซื้อเพียง 3.8 ล้านตัน คำถามคือ ส่วนที่เหลือจะทำอย่างไร และชาวนาที่เกี่ยวไปแล้วจะทำอย่างไร

2. ราคาที่ตั้งไม่ต่างจากราคาตลาด ที่มีการซื้อขาย ข้าวแห้ง (คช.15%) ที่ 8,500-8,800 บาท/ตัน ข้าวสด (คช.ประมาณ 25%) 7,200-7,500 บาท/ตัน

3. ต้องใช้หลักฐาน เช่นใบขึ้นทะเบียนเกษตรกร และอื่นๆหรือไม่ เพื่อยืนยัน สิทธิ์และจำนวนข้าวที่ขาย

รัฐบาลจะป้องกันอย่างไร จะเชื่อได้อย่างไรว่ามีการซื้อขายข้าวจากชาวนาจริง ไม่เป็นการเอาข้าวของผู้ประกอบการมาสวมแล้วใช้สิทธิ์ของชาวนาในการรับส่วนต่าง 1,000 บาท/ตัน

4. ชาวนาที่ขายไปก่อนหน้านี้แล้ว จะมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไร

5. การขึ้นทะเบียนในฤดูนาปรัง มีจำนวนพื้นที่ และจำนวนชาวนากี่ราย

6. ข้อเท็จจริงที่ในวงการค้าข้าว และชาวนารับรู้กันว่าณปัจจุบัน มีเกษตรกรนำข้าวที่ไม่เป็นพันธุ์ข้าวของไทยมาปลูกจำนวนมากในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือ เราใช้ให้เข้า ใช้สิทธิ์ในการขายได้หรือไม่ หรือว่าจำกัดสิทธิ์ในการขาย และเราจะขึ้นทะเบียนเกษตรกรอย่างไร พันธุ์ที่เพาะปลูกจริงกับการขึ้นทะเบียนจะตรงกันหรือไม่

7. ในการที่ชาวนาเพาะปลูกข้าวในฤดูนาปรังมีหลายสายพันธุ์ เช่นข้าวหอมปทุม พันธุ์ข้าวกลุ่มข้าว5% กข.79พื้นนุ่ม ข้าวเหนียว จะดูแลแต่ละกลุ่มข้าวอย่างไร ควรจะกำหนดมาตราใน คราวเดียวกัน

8. สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ได้นำเสนอ จ่ายตรงชาวนา 500 บาท/ไร่ หรือที่ชาวนาที่ออกเรียกร้องเสนอประกันรายได้ เพราะเหตุผลใดจึงไม่นำมาพิจารณา ทำไมไม่จ่ายตรงให้กับชาวนาเลย

ทำไมต้องซื้อข้าวไปเก็บแล้ว จ่ายค่าฝากให้ชาวนา 1,000 บาท/ตัน และจ่ายให้สหกรณ์ และ/หรือโรงสี ที่เข้าร่วม 500 บาท/ตัน ทั้งที่เกษตรกรได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง

9. โครงการชดเชยดอกเบี้ย ให้โรงสีที่เก็บฝาก เดิม ที่ให้ 3% เพิ่มชดเชยอีก 3% รวมเป็น 6% หรือว่าขึ้นโครงการใหม่เป็น6%โดยรัฐจะต้องใช้วงเงินเพิ่มอีก 500 กว่าล้านบาท ประโยชน์จะถึงชาวนาจริงหรือไม่ และมีคำถามจากในที่ประชุมว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ประกอบการจะซื้อนำตลาด 200 บาทจริง

ทั้งนี้สมาคมฯ มองว่า ที่ประชุมคณะอนุด้านการตลาด สรุปว่าเห็นด้วยในหลักการ ส่วนรายละเอียดต่าง จะมีกรรมการชุดย่อยดำเนินการ และนำเสนอ นบข. ซึ่งสมาคมฯได้เน้นย้ำไปว่าชาวนาต้องขายข้าวสดได้ 8,000 บาท/ตัน

อย่างไรก็ตามสมาคมชาวนาเกษตรกรไทยขอยืนยันว่า การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการตลาด ข้อเสนอของสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย รวมถึงข้อเสนอของชาวนาที่ยื่นผ่านผู้ว่าฯแต่ละจังหวัด ไม่ผ่านการพิจารณา

โดยแจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากขัดกับมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 พ.ย.66 และ มติ นบข.เมื่อวันที่ 8 พ.ย.67 กำหนดว่าในการจัดทำมาตรการ/โครงการ เพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือภาคเกษตรกร ให้หลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร

ส่วนเรื่องที่ประชุมนำขึ้นมาพิจารณา โดย ฝ่ายเลขาเป็นผู้นำเสนอ ในเรื่องของมาตรการที่จะให้สหกรณ์ ดำเนินการรับซื้อ หรือรับฝาก โดยสหกรณ์ได้ 500 บาท/ตัน ชาวนาได้ 1,000 บาท/ตัน ราคาข้าวแห้งที่ 8,500 บาท/ตัน สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยไม่ได้เป็นผู้นำเสนอ และไม่ได้เป็นแนวคิดของสมาคม สมาคมฯขอยืนยันตรงนี้เพื่อความเข้าใจ

เพราะสมาคมฯ และคิดว่าหลายฝ่ายทราบดีถึงขีดความสามารถและจำนวนสหกรณ์ ว่าไม่มีกำลังพอ และส่วนที่จะเอาใครมาช่วยรับสมาคมฯไม่แน่ใจ แต่คิดว่าอาจจะมีการเอาโรงสีมาเข้าโครงการ และได้ค่าการจัดการ 500 บาท/ตัน และเงินชดเชยดอกเบี้ยอีก 6% ให้โรงสีซื้อนำตลาด โดยทุกฝายทราบว่าสมาคมได้ท้วงติ่งไปในหลายประเด็น

สรุปคือ มาตรการที่ออกมาทั้งหมด ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของสมาคมชาวนา หรือของชาวนาที่ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้นำเสนอเลย ส่วนเรื่องการเผาฟางสมาคมได้นำเสนอต่อที่ประชุมเมื่อวานนี้แต่ที่ประชุมบอกว่าไม่มีความชำนาญเชี่ยวชาญพอ จึงขอให้กระทรวงเกษตรนำไปพิจารณาพิจารณาในคณะอนุกรรมการด้านการผลิตต่อไป

อ่านข่าว:

พาณิชย์ เคาะ 3 มาตรการ ดันราคาข้าวนาปรัง ชงนบข. สัปดาห์หน้า

เปิด 7 มาตรการเร่งดันราคาข้าว ประชุมอนุ นบข.20 ก.พ.นี้

ข้าวไทยราคาตก ! เผือกร้อนลวกมือ "พิชัย" รัฐบาลยังตีมึนแก้ปัญหา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง