ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิด 3 ข้อหัวใจกฎหมายอากาศสะอาด ความหวังแก้วิกฤตฝุ่น PM2.5

สังคม
21 ม.ค. 68
07:44
140
Logo Thai PBS
เปิด 3 ข้อหัวใจกฎหมายอากาศสะอาด ความหวังแก้วิกฤตฝุ่น PM2.5
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กฎหมายอากาศสะอาดก้าวสำคัญในการสร้างระบบการจัดการมลพิษ ฝุ่น PM 2.5 แบบยั่งยืน "บัณฑูร" เปิด 3 ปัจจัยหัวใจหลักของร่างกฎหมาย ส่วนหนึ่งเนื้อหามาจากปฏิบัติการจริงในพื้นที่ ระบุปี 2567 จุดความร้อนลดลง 30%

ในช่วงระยะเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา ปัญหาฝุ่นควันกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจอย่างมาก รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ยกระดับปัญหานี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการจัดตั้งมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและลดปริมาณฝุ่นควันในอากาศ 

ท่ามกลางความหวังก็ยังคงมีคำถามว่าในที่สุดแล้ว พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ซึ่งได้รับการบังคับใช้เมื่อไม่นานมานี้ จะสามารถเป็นคำตอบสุดท้ายในการจัดการปัญหาฝุ่นควันอย่างยั่งยืนหรือไม่

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด กล่าวถึงหัวใจของร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … มี 3 ปัจจัยหลัก คือ 

1.จัดการแหล่งกำเนิดที่เป็นต้นทางของฝุ่น ซึ่งมีทั้งหมด 6 แหล่งกำเนิดตั้งแต่ภาคคมนาคม อุตสาหกรรม ภาคป่าไม้ ภาคเกษตร ภาคเมือง และฝุ่นข้ามแดน

2.การทำงานไม่ใช่เฉพาะช่วงที่เผชิญช่วงของ 3-4 เดือนที่มีสถานการณ์ฝุ่นสูงขึ้น แต่จะเป็นการทำงานต่อเนื่อง 8 เดือน ก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งการทำงานต่อเนื่องจะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

3.ให้มีการทำงานเชื่อมโยงกัน มีกรรมการ กฎหมายที่ดูแลเป้นการเฉพาะอยู่แล้ว กฎหมายฉบับนี้จะไปช่วยอำนวยการทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน

ทั้งนี้ร่างกฎหมายส่วนหนึ่งเนื้อหามาจากปฏิบัติการจริงในพื้นที่ การทำงานร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ได้ดำเนินการแล้วในปีนี้ จากการเปรียบเทียบระหว่างปี 2566 และ 2567 สัดส่วนของจุดความร้อน (Hotspot) ลดลง 30% โดยรวมทั้งประเทศ กรณีของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เคยไหม้ใน 10 พื้นที่ 3.3 ล้านไร่ ในปี 2566 ได้ลดลงมาเหลือ 2.2 ล้านไร่ในปี 2567

ซึ่งเป็นตัวอย่างว่าสิ่งที่เขียนไว้ในร่างกฎหมายกับสิ่งที่นำไปปฏิบัติจริง ได้ส่งผลต่อการลดความรุนแรงของปัญหาได้ระดับหนึ่ง

มาตรการห้ามเผา-ลดเผา ลด 30%

อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็นอำเภอที่มีจุดความร้อน (Hotspot) ค่อนข้างสูง เป็นอันดับ 1 หรือ อันดับ 2 ของ จ.เชียงใหม่ ได้เข้าไปส่งเสริมปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง เป็นไม้ผล กาแฟ ผักอินทรีย์ที่ส่งขายในตลาดปัจจุบันนี้

มีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรพื้นที่ข้าวโพดที่เดิมมีการเผา กลายเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ส่งขายในประเทศและต่างประเทศ

กรณีไร่อ้อย จ.สิงห์บุรีการปรับขยาย แปลงการปลูกอ้อยให้มีขนาดเพียงพอที่จะให้รถไถ รถเกี่ยวเข้าไปได้ ก็ทำให้ไร่อ้อยส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่เผา

สำหรับมาตรการห้ามเผา ลดเผา ในทางปฏิบัติเทียบระหว่างปี 2567 กับปี 2566 จุดความร้อน (Hotspot) ลดไปได้ 30% โดยรวมทั้งประเทศ ซึ่งแนวทางที่ปฏิบัติถือว่าเป็นแนวทางที่มาถูกต้อง

"ฝุ่นข้ามแดน" อีกหนึ่งโจทย์ใหญ่

ซึ่งโจทย์ต่อไปคือการขยายผลและความเร็วในการจัดการพื้นที่ที่ยังเป็นแหล่งมลพิษทางอากาศ ซึ่งจากมาตรการข้างต้นเป็นภาคเกษตร ภาคป่าไม้ ซึ่งยังเหลือภาคอุตสาหกรรม คมนาคม และที่สำคัญโจทย์ของฝุ่นข้ามแดน โดยรวม 40% ซึ่งแนวทางของการจัดการลดฝุ่นข้ามแดน ได้แก่

1.ความร่วมมือเพราะบางช่วงเวลา ลมพัดจากแหล่งกำเนิดฝุ่นในไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

2.การจำกัดการนำเข้าสินค้าที่มาจากการเผา ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติแล้ว และได้บรรจุในกฎหมาย

3.ถ้ามีหลักฐานเชื่อมโยงได้ว่ามีการเผาข้ามแดนมีผลกระทบเชื่อมโยงมายังสุขภาพ สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ได้ออกแบบกฎหมายไปถึงการฟ้องดำเนินคดี การลงโทษ

3.ความต้องการขยายการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านเพราะผลิตผลเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่เพียงพอ

4.ต้องเพิ่มผลผลิตในประเทศ วางแผนการผลิตให้พอ หรือ การวิจัยคิดค้นวัตถุดิบทดแทน ซึ่งถั่วเหลือง ข้าวโพด ก็เป็นอีกทางออกหนึ่ง ที่ลดความจำเป็นการนำเข้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ

ปัญหาฝุ่นแก้มานาน แต่ไม่หมดสักที

ปัญหาฝุ่นที่มีมาอย่างยาวนาน และได้มีการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้น ซึ่งนายบัณฑูร ระบุถึง 2 วิธีหลักคือ ต้องแก้ไขให้ครบทุกแหล่งกำเนิด ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะทำได้สำเร็จเพียงบางส่วน

และระดับความสำเร็จเมื่อเทียบกับระดับของปัญหาไม่เพียงพอ ซึ่งถ้าให้ประเมินความพยายามที่ทำกันมานับตั้งแต่มีวาระแห่งชาติเมื่อปี 2562 ปัญหามีอยู่ 100% ที่ทำได้ประมาณ 40-45% ซึ่งจะต้องเร่งขยายผล เร่งขยายขีดความสามารถในการเข้าไปดำเนินการกับต้นทางแหล่งกำเนิดของฝุ่นเหล่านี้

อ่านข่าว :

อากาศปิด! 22 ม.ค.นี้เตือนกทม.ฝุ่นพิษพีคสีแดงอีกรอบ

จะเกิดอะไร? เมื่อร่างกายเจอ "ฝุ่น PM 2.5"

ดีเดย์วันแรก กทม.ขอ ปชช.WFH พบค่าฝุ่น PM2.5 ระดับสีส้มทั้ง 50 เขต 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง