วันนี้ (3 ก.ย.2567) สถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคเหนือ ยังคงวิกฤตเนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา เตือนช่วงวันที่ 3-7 ก.ย.นี้ฝนตกหนักเนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น
เส้นทางพายุยางิ ขึ้นฝั่งจีนตอนใต้เวียดนามช่วงวันที่ 6-7 ก.ย.ปลายพายุอาจส่งผลให้ภาคเหนือ อีสานได้รับผลกระทบมีฝนเพิ่ม
เหนือ-อีสานเสี่ยงรับอิทธิพล "ยางิ"
นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผอ.สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในภาคหนือเริ่มทรงตัว และมวลน้ำที่ลงมาถึงหน้าเขื่อนเจ้าพระยาแล้ว
วันนี้ได้พยายามเท้อน้ำให้มวลน้ำก้อนใหญ่ ผ่านเข้าระบบชลประทาน ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตกเพิ่ม 300 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อไม่ให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำกระทบมาก ตอนนี้การบริหารจัดการน้ำ ระบบชลประทานยังรองรับได้
พยายามไม่ระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเจ้าพระยามากจนเกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำ โดยปรับการระบายเป็น 1,449 ลบ.ม.ต่อวินาที แต่ระดับน้ำจะเริ่มสูงใน จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
นายธเนศร์ กล่าวว่า ส่วนพายุโซนร้อนยางิ จากฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวช้าๆไปทิศตะวันตก คาบสมุทรอินโดจีน และจะเข้าจีนตอนใต้ และเวียดนามตอนบนช่วง 6-7 ก.ย.นี้
แม้พายุจะเข้าไทยโดยตรง แต่ปลายพายุที่เข้้าทางเวียดนาม ทำให้ภาคเหนือตอนบน อีสานตอนบน จะมีฝนจะมาเติมในเขตลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ดังนั้นจุดที่ต้องเร่งระบายน้ำคือ แพร่ สุโขทัย ต้องเร่งระบายมีเวลา 4-5 วัน
นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผอ.สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน
ปล่อยน้ำเพิ่ม 1,500 ลบ.ม.ต่อวินาที
กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา เวลา 07.00 น.เขื่อนเจ้าพระยา ทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันได ในอัตราระหว่าง 1,400 - 1,500 ลบ.ม.ต่อวินาที รองรับปริมาณน้ำจากทางตอนบน และฝนที่ตกเพิ่ม 3-9 ก.ย.นี้
สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,547 ลบ.ม.ต่อวินาทีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระดับน้ำ ต่ำกว่าตลิ่ง 4.09 เมตร สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,449 ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้ม เพิ่มขึ้นระดับน้ำท้ายเขื่อน เพิ่มขึ้นจากเดิม 18 ซม.
อ่านข่าว ปัดฝุ่น 34 ปี "เขื่อนแก่งเสือเต้น" ชาวบ้านห่วงกระทบชุมชน-ป่าไม้
เขื่อนเจ้าพระยา ปล่อยน้ำเพิ่ม1,449 ลบ.ม.ต่อวินาที รอรับฝนระลอกใหม่ 3-9 ก.ย.นี้ (ภาพกรมชลประทาน)
พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่ม
- บ้านบางพุทรา อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 76 ซม.
- บ้านบางแก้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 64 ซม.
- วัดอินทาราม (คลองโผงเผง) จ.อ่างทอง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 38 ซม.
- วัดโพธิ์ (คลองบางบาล) จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 23 ซม.
- วัดประดู่โลกเชฏฐ์ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 30 ซม
ดังัน้นขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และพื้นที่เสี่ยง ขนย้ายของยกขึ้นที่สูง เพื่อป้องกันความเสีย และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อไป หากระดับน้ำทางตอนบนเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น กรมชลประทานจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป
ชุมชนท่าอิฐ จ.นนทบุรี เริ่มมีทั้งน้ำเจ้าพระยาและน้ำทะเลหนุน
ชุมชนท่ามัสยิดท่าอิฐ น้ำพุ่งพรวด
ขณะที่ชุมชนมัสยิดท่าอิฐ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูง ทำในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ชุมชนริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง
นางเรียม บุญประเสริฐ เจ้าของบ้าน เล่าว่า วันนี้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงกว่าทุกวันและขึ้นเร็ว ทำให้น้ำเข้าท่วมตามชุมชน ซึ่งที่บ้านของตนได้ยกของขึ้นที่สูงแล้ว
น้ำขึ้นสูงมากกว่าทุกวันและมาเร็ว ในแต่ละวันน้ำก็ขึ้นเหมือนกัน ต้องคอยนั่งเฝ้าระวังไม่รู้ว่าน้ำจะขึ้นสูงมากขนาดไหน ในวันนี้น้ำได้ทะลักเข้ามาถึงด้านหน้ามัสยิด
อ่านข่าว เมืองพัทยาฝนตกหนักนาน 3 ชม. น้ำท่วมรถเสียหายหลายคัน
กรมชลประทาน แจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ให้เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำ
อ่านข่าว : พายุ "ยางิ" ไม่เข้าไทย เตือน 3-7 ก.ย.ฝนตกหนักมาก
ปรากฏการณ์ท้องฟ้า เดือนกันยายน 2567 น่าติดตามและห้ามพลาด