ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เทรนด์ "ความมั่นคงทางอาหาร" มาแรง ไทยเร่งรับมือโลกยุคใหม่

เศรษฐกิจ
11 ก.ค. 67
15:29
720
Logo Thai PBS
เทรนด์ "ความมั่นคงทางอาหาร" มาแรง ไทยเร่งรับมือโลกยุคใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สนค.ชี้ ความมั่นคงทางอาหารของโลกมาแรง หลายประเทศลดการนำเข้า “จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย” แนะไทยเกาะติด วางกลยุทธ์รับมือ ทั้งผลิตและการค้า หวังเพิ่มมูลค่าการส่งออก

วันนี้ (11 ก.ค.2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การความมั่นคงทางอาหารของโลก พบว่า หลายประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารรายสำคัญของไทย

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์

ไมว่าจะเป็น จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ต่างมีมาตรการความมั่นคงทางอาหารในทิศทางเดียวกัน คือ การพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ลดการนำเข้า ยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร และสนับสนุนการจ้างงานในประเทศให้มากขึ้น

ดังนั้นไทยจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับกลยุทธ์ทั้งด้านการผลิตและการค้าให้สอดคล้องสถานการณ์ของโลก เพื่อมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับไทย โดยกำหนดแผนพัฒนาระบบเกษตรและอาหารให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

ผอ.สนค. กล่าวอีกว่า ปัจจุบันประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารรายสำคัญของ หันพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก เช่น จีน ออกกฎหมายความมั่นคงด้านอาหาร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2567 กำหนดให้กระบวนการและขั้นตอนการผลิตอาหารต้องดำเนินการและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด และยังมุ่งพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตธัญพืชในประเทศ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

สหรัฐฯ มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตที่ดีของประชาชน ลดความยากจน ลดความหิวโหย และภาวะขาดแคลนอาหารในทุกสถานการณ์ หรือแม้แต่ ญี่ปุ่น ที่มีนโยบายเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในประเทศ ลดพึ่งพาการนำเข้า และผลักดันให้มีการผลิตข้าวสาลี ถั่วเหลือง ธัญพืชอาหารสัตว์ หญ้าแห้ง และปุ๋ยภายในประเทศเพิ่มขึ้น

และมาเลเซีย มีนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนและยืดหยุ่นในภาคเกษตรกรรม ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

สำหรับสถานการณ์การนำเข้าสินค้าธัญพืชของ พบว่า ในปี 2566 โลกนำเข้าธัญพืช 176,156.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.4% สินค้าธัญพืชที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.ข้าวสาลีและเมสลิน มีสัดส่วน 37.1% ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของโลก 2.ข้าวโพด สัดส่วน 34.7% 3.ข้าว สัดส่วน 18.8% 4.ข้าวบาร์เลย์ สัดส่วน 6.5% และ 5.ข้าวฟ่าง สัดส่วน 1.3%

ประเทศผู้นำเข้าธัญพืชรายใหญ่ ได้แก่ จีน นำเข้า 20,544.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 6% เป็นผู้นำเข้าอันดับหนึ่งของโลก มีสัดส่วน 11.7% ของการนำเข้าธัญพืชของโลก นำเข้าจากบราซิลมากที่สุด รองลงมา คือ สหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม สินค้าธัญพืชส่งออกที่สำคัญของไทย ปี 2566 ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย มีมูลค่าการส่งออก 5,144.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.33%

ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ อิรัก และจีน โดยไทยส่งออกข้าวไป 5 ประเทศดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วน 50% หรือครึ่งหนึ่งของการส่งออกข้าวไทยไปตลาดโลก และในช่วง 5 เดือนของปี 2567 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยส่งออกข้าวแล้วมูลค่า 2,659.53 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปริมาณ 4.06 ล้านตัน) เพิ่มขึ้น 39.71%

อ่านข่าว:

คลังถอยไม่ใช้เงิน ธ.ก.ส.แจกดิจิทัลวอลเล็ต หั่นงบเหลือ 4.5 แสนล้าน

“กยศ.”แจงข้อสงสัยผู้กู้ยืมยอดหนี้ไม่ตรง ย้ำคิดดอกเบี้ยแค่ 1%

คนไทย “ เกิดน้อย - สูงวัยอายุยืน ” วิกฤตประชากร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง