ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กองทัพเรือ อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ลงน้ำ

สังคม
5 ก.ค. 67
10:37
11,300
Logo Thai PBS
กองทัพเรือ อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ลงน้ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กองทัพเรือ อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ "จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" ในการพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับ "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์"

เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2567 เวลา 19.00 น. กองทัพเรือ ได้จัดให้มีการอัญเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เพื่อเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

อ่านข่าว : งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เมื่อ "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ถูกอัญเชิญลงจากคาน นายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พร้อมกำลังพลประจำเรือ ได้ประกอบพิธีจุดธูปเทียนไหว้แม่ย่านางเรือ และถวายบังคมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

จากนั้นจึงเคลื่อนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ จากคลองบางกอกน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งหน้าสู่อู่ทหารเรือธนบุรี ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ในเส้นทางสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (สถานีรถไฟบางกอกน้อยเดิม) โรงพยาบาลศิริราช ท่ามหาราช ท่าช้าง วัดระฆังโฆษิตาราม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงเข้าจอดยังอู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

การอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำ ในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งจำนวน 4 ลำ ดังนี้

  • เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
  • เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
  • เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
  • เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์

โดยจะอัญเชิญลงน้ำและเข้าจอด ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรีกรมอู่ทหารเรือ ระหว่างวันที่ 4 - 7 กรกฎาคม 2567 วันละ 1 ลำ ตามลำดับ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลงน้ำ เพื่อเตรียมการ จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า  

"เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ทราบได้จาก บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ที่ส่งประพันธ์ไว้ว่า

สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบันนี้ เป็นเรือสร้างใหม่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่แล้วเสร็จในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยมี พล.ร.ต.พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนาวาสถาปนิกผู้ต่อเรือสุพรรณหงส์ โดยจัดให้มีการประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

โขนหัวเรือจำหลักเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก มีพู่จามรีห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ตอนกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาหรือบุษบกไว้สำหรับเป็นที่ประทับ

เรือมีความยาวตลอดลำ 44.90 เมตร กว้าง 7.17 เมตร ลึก 0.94 เมตร ใช้กำลังพลรวม จำนวน 71 นาย แยกเป็นกำลังพลประจำเรือ 64 นาย ประกอบด้วย

  • นายเรือ 2 นาย
  • นายท้าย 2 นาย
  • ฝีพาย 50 นาย
  • คนถือธงท้าย 1 นาย
  • พลสัญญาณ 1 นาย
  • คนขานยาว 1 นาย
  • คนถือฉัตร 7 นาย
  • เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จำนวน 7 นาย
ภาพการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นการฝึกซ้อมใหญ่ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562

ภาพการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นการฝึกซ้อมใหญ่ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562

ภาพการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นการฝึกซ้อมใหญ่ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2535 องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ได้พิจารณามอบรางวัลเรือโลก แก่ "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยคณะกรรมการองค์การ World Ship Trust เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เหรียญรางวัลมรดกทางทะเล ขององค์การเรือโลกประจำปี พ.ศ.2535 (The World Ship Trust Heritage Award "Suphannahong Royal Barge")

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่ อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลรักษาเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

ทั้งนี้ ในวันที่ 28 - 29 กรกฎาคม กองทัพเรือ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญเรือพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช จัดแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

โดยจัดการแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือฯ วันละ 2 รอบ

  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 : จัดการแสดงเวลา 15.00 น. และ 20.00 น.
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2567 : จัดการแสดง เวลา 17.00 น. และ 20.00 น.

พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ณ บริเวณท่าราชวรดิฐ

ซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา

ส่วนของการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธี จะเริ่มทำการซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 10 ครั้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 4 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 5 ในวันที่ 3 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 6 ในวันที่ 12 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 7 ในวันที่ 19 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 8 ในวันที่ 26 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 9 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567
  • ครั้งที่ 10 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567

จากนั้นจะเป็นการซ้อมใหญ่ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และ 22 ตุลาคม และซ้อมเก็บความเรียบร้อยในวันที่ 24 ตุลาคม โดยประชาชนที่มีความสนใจรับชมการฝึกซ้อมฝีพายและความงดงามของขบวนเรือพระราชพิธี ที่นับว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก สามารถรับชมได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 จนถึง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

สำหรับพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567

อ่านข่าว : ความเป็นมา "เรือพระราชพิธี" ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง