ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สปสช. เร่งแก้ผลกระทบผู้ป่วย "OP New Model 5" พื้นที่ กทม.

สังคม
12 มี.ค. 67
17:52
964
Logo Thai PBS
สปสช. เร่งแก้ผลกระทบผู้ป่วย "OP New Model 5" พื้นที่ กทม.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สปสช.เร่งแก้ปัญหาผลกระทบผู้ป่วย "OP New Model 5" พื้นที่ กทม. หลังผู้ใช้สิทธิ "บัตรทอง" ร้องเรียนปัญหาการเข้ารับบริการต่อเนื่อง พร้อมประชุมร่วมคณะทำงานทุติยภูมิ ตติยภูมิ เคลียร์ปมการเบิกจ่าย ช่วยสร้างความมั่นใจ รพ. ร่วมดูแลผู้ป่วยช่วงเปลี่ยนผ่าน

วันนี้ (12 มี.ค.2567) พญ.ลลิตยา กองคำ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่มีประชาชนผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ในพื้นที่ กทม. ได้ร้องเรียนปัญหาการเข้ารับบริการผ่านทางสายด่วน สปสช.1330 และทางสื่อโซเชียลมีเดีย หลังสปสช.เขต 13 กทม. ได้ปรับระบบการเบิกจ่ายค่าบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ (คลินิกชุมชนอบอุ่น) เป็น OP New Model 5 ในรูปแบบ "เหมาจ่ายรายหัว" ตามข้อเสนอของทางคลินิกชุมชนอบอุ่นที่ร่วมให้บริการ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา นั้น

อ่าน : ภารกิจราบรื่น นำเด็ก 1 ขวบครึ่งจากหัวหิน ผ่าตัดด่วน รพ.จุฬาฯ

พญ.ลลิตยา กล่าวว่า สปสช.ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และได้พยายามเร่งแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด ภายหลังจากที่เริ่มระบบการเบิกจ่ายรูปแบบใหม่แล้ว สปสช. ได้มีการจัดตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามสถานการณ์ พร้อมประสานความร่วมมือไปยังคณะทำงานชุดต่าง ๆ  เพื่อร่วมแก้ไขสถานการณ์

สำหรับปัญหาที่ร้องเรียน คือ คลินิกปฏิเสธส่งตัว คลินิกไม่ส่งตัวหน่วยรักษาเดิม คลินิกกำหนดเงื่อนไขออกหนังสือส่งตัว ไม่ส่งต่อหน่วยบริการรับส่งต่อตามสิทธิ และ รพ.ปฏิเสธให้บริการ บริการปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้ (OP Anywhere.) ขอให้ได้รับการส่งตัวจากศูนย์บริการสาธารณสุขตามขั้นตอนเดิม และศูนย์บริการสาธารณสุขปฏิเสธไม่ให้ใช้สิทธิ และให้กลับไปรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นต้น

แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยบัตรทองใน กทม.

พญ.ลลิตยา กล่าวว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการประชุมคณะทำงานชุดทุติยภูมิ เพื่อกำหนดแนวทางการให้บริการเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นในส่วนประชาชนที่ได้รับบริการที่ รพ. ก่อน ตามแนวทาง ดังนี้

กรณีที่ผู้ป่วยมีบัตรนัดของโรงพยาบาล แต่ไม่มีใบส่งตัวของหน่วยบริการปฐมภูมิต้นสังกัด ขอความอนุเคราะห์จากทางโรงพยาบาลให้บริการประชาชน และเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเจ็บป่วยฉุกเฉิน (OP AE), OP Anywhere หรือ CA Anywhere (โรคมะเร็งไปที่ไหนก็ได้) ฯลฯ

และกรณีที่ผู้ป่วยมีบัตรนัดของโรงพยาบาล แต่ใบส่งตัวจากหน่วยบริการอื่น เบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน OP AE, OP Anywhere หรือ CA Anywhere ฯลฯ

กรณีไม่มีบัตรนัด หากเป็นผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์โรงพยาบาลต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยไม่ชักข้า และไม่ต้องขอหนังสือส่งตัวจากต้นสังกัดเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน OP AE ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ และโรงพยาบาลเห็นควรว่าไม่ควรรอให้โรงพยาบาลให้บริการไปก่อน เบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน OP AE ,OP Anywhere หรือ CA Anywhere ฯลฯ

กรณีที่หน่วยบริการปฐมภูมิต้นสังกัดมีใบส่งตัว ขอให้หน่วยบริการที่รับการส่งต่อให้การรักษาได้ เบิกค่ารักษาพยาบาลตามระบบ FS จากคลินิกชุมชนอบอุ่น หรือกองทุนที่เกี่ยวข้อง

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยเกินศักยภาพของโรงพยาบาลรับส่งต่อแห่งที่ 1 ให้โรงพยาบาลรับส่งต่อแห่งที่ 1 ส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลแห่งที่ 2 ที่มีศักยภาพได้ โดยไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวที่คลินิกปฐมภูมิตันสังกัด โดยให้แจ้งให้หน่วยบริการปฐมภูมิต้นสังกัดทราบ และเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน OP Refer หลังจากนั้น และหากโรงพยาบาลแห่งที่ 2 เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้ส่งประวัติการรักษากลับไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิตันสังกัดพิจารณาการส่งตัวมายังโรงพยาบาลแห่งที่ 2 โดยขอความร่วมมือออกหนังสือส่งตัว อย่างน้อย 90 วัน

จากแนวทางเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหานี้ สปสช.ขอความอนุเคราะห์ความร่วมมือจากโรงพยาบาลระบบบัตรทองใน กทม. ทุกแห่ง เพื่อร่วมกันดูแลประชาชนในช่วงเปลี่ยนผ่านและลดความเดือนร้อนก่อน ซึ่งที่ผ่านมามีโรงพยาบาลหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น

ได้เรียกประชุมเครือข่ายคลินิกชุมชนอบอุ่นเพื่อชี้แจงแนวทางบริการแล้ว และเมื่อวานนี้ (11 มี.ค.) ทาง สปสช. เขต 13 กทม. ได้มีการประชุมร่วมกับโรงพยาบาลระบบบัตรทองใน กทม. เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจ พร้อมขอความร่วมมือการให้บริการในช่วงเปลี่ยนผ่านอีกครั้งเช่นกัน

รวมถึงได้มีการประชุมร่วมกับผู้บริหารสำนักอนามัย กทม. และศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) เพื่อความร่วมมือให้บริการผู้ป่วยเช่นกัน โดยในวันที่ (12 มี.ค.) จะมีการประชุมคณะทำงานชุดปฐมภูมิเพื่อวางแนวทางการให้บริการของคลินิกชุมชนอบอุ่นที่ชัดเจน รวมทั้งระบบการส่งต่อเพื่อให้โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และคลินิกสามารถดูแลผู้ป่วยร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

อ่าน : เช็กเลย วิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพ อายุครบ 55 ปี จะได้รับเงินเท่าไร

พญ.ลลิตยา กล่าวว่า สำหรับในส่วนของประชาชนผู้ป่วยบัตรทองที่เข้ารับบริการนั้น ตาม OP Model 5 กรณีที่ผู้ป่วยใหม่ที่เจ็บป่วยหรือไม่สบาย ขอให้ไปรับบริการที่คลินิกชุมชนอบอุ่นตามสิทธิก่อน หากเกินศักยภาพคลินิกฯ จะออกใบส่งตัวให้ไปรับบริการที่โรงพยาบาลรับส่งต่อที่เป็นครือข่าย

ส่วนผู้ป่วยที่มีนัดกับโรงพยาบาลรับส่งต่ออยู่แล้ว สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลตามนัดได้ในครั้งแรก แต่หากมีนัดรักษาครั้งต่อไป ขอให้กลับไปที่คลินิกชุมชนอบอุ่นตามสิทธิก่อน เพื่อให้ประเมินอาการ หากเกินจากศักยภาพบริการ และออกใบส่งตัวให้ ในกรณีนี้รวมถึงผู้ป่วยที่มีใบส่งตัว 90 วันด้วย

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการรับบริการนั้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคซับซ้อนที่ต้องรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาล ขอให้แจ้งมายัง สปสช. ซึ่งจะพยายามประสานและแก้ไขปัญหาให้โดยเร็วที่สุด

อ่านข่าว : FC "แม่มะลิ" ฮิปโปอายุยืน 58 ปียังแข็งแรง-หลบแช่น้ำทั้งวัน

เคาะ 8 มาตรการคุม "น้ำเมา" รับสงกรานต์ 21 วัน ตั้งคณะทำงานศึกษาขยายเวลาขาย

มติ กกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ยุบ "ก้าวไกล" ปมแก้ ม.112

ข่าวที่เกี่ยวข้อง