ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ประกันสังคม" ยืนยันไม่ได้เปลี่ยนหลักการ "เลือกตั้ง" บอร์ดประกันสังคม เป็น "สรรหา"

เศรษฐกิจ
19 ก.พ. 67
16:53
592
Logo Thai PBS
"ประกันสังคม" ยืนยันไม่ได้เปลี่ยนหลักการ "เลือกตั้ง" บอร์ดประกันสังคม เป็น "สรรหา"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ประกันสังคม" ชี้แจงกรณีร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม กรณีที่มาการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้ประกันตน ระบุไม่ได้เปลี่ยนแปลงหลักการเดิม ระบุการสรรหาใช้ในกรณีสุดวิสัยทำให้จัดเลือกตั้งไม่ได้ และเพื่อให้การบริหารกองทุนไม่ได้รับผลกระทบ

วันนี้ (19 ก.พ.2567) นางมารศรี ใจรังษี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ชี้แจงประเด็นที่สื่อสังคมออนไลน์ ที่ระบุว่า กระทรวงแรงงานได้เสนอร่าง พ.ร.บ.บอรประกันสังคมที่ให้บอร์ดใช้ระบบแต่งตั้งกรรมการเหมือนเดิม อีกทั้ง ยังตั้งข้อสังเกตถึงการพยายามยกเลิกระบบเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนอาจถูกผลักดันโดยกลุ่มอำนาจเก่าของกระทรวงแรงงานที่ฝังรากอยู่มาอย่างยาวนาน นั้น

อ่านข่าว : ดรามา "แรงงาน" เสนอร่าง กม.ยกเลิก "เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม" 

นางมารศรี ใจรังษี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า ในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. มีการแก้ไขที่มาของการได้มา คณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตน และนายจ้างไม่ได้เพิ่งเสนอแก้ไข หลังจากมีการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมตามที่เป็นข่าว แต่เป็นร่างเดิมที่เคยเสนอแก้ไขไว้ตั้งแต่ปี 2565 แต่ขณะนั้นต้องตกไป เนื่องจากมีการยุบสภาในปี 2566 โดยวิธีการได้มาซึ่งกรรมการให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นั้น

อ่านข่าว : 24 ธ.ค.66 เลือกตั้ง "บอร์ดประกันสังคม" ดูแลผลประโยชน์ให้ผู้ประกันตน 

มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการจากเดิมที่กำหนดให้ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนให้มาจากการเลือกตั้ง เป็นวิธีการสรรหาแต่อย่างใด เพราะในร่าง ม.8 ได้กำหนดวิธีการได้มา ไว้ 2 วิธี ได้แก่ 1) การเลือกตั้ง หรือ 2) วิธีการสรรหา โดยเหตุผลที่กำหนดเช่นนี้ เนื่องจากหากเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ในกรณีเกิดโรคระบาด หรือกรณีเกิดภัยพิบัติ ทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เพื่อให้การบริหารกองทุนไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากกรรมการหมดวาระลง (บอร์ดรักษาการ) จะไม่สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบในบางเรื่องได้ จึงกำหนดให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถประกาศกำหนดวิธีการอื่น เช่น การสรรหาคณะกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ได้

อ่านข่าว : เปิดโฉม 7 ว่าที่บอร์ดประกันสังคมชุดแรก

ทั้งนี้ หลักการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ยังคงมีอยู่เช่นเดิม ประกอบกับในการเสนอร่างกฎหมาย ทุกขั้นตอนมีการเผยแพร่และผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ทั้งในชั้นก่อนเสนอเข้า ครม. และชั้นการตรวจร่างของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

อ่านข่าวอื่น ๆ

เลือกตั้ง "บอร์ดประกันสังคม" สำคัญอย่างไร ?  

9.49 แสนคน ลงทะเบียนเลือกบอร์ดประกันสังคม 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง