ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตกเทรนด์ "สูงวัย" ไม่ทันข้อมูล คนเจนใหม่มองบุหรี่ไฟฟ้า “เท่”

สังคม
23 ม.ค. 67
16:43
502
Logo Thai PBS
ตกเทรนด์ "สูงวัย" ไม่ทันข้อมูล คนเจนใหม่มองบุหรี่ไฟฟ้า “เท่”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กลิ่นหอมจากสารนิโคตินสกัดจากบุหรี่ไฟฟ้า ชวนให้ลอง รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย และสารนิโคตินมีผลกับการพัฒนาของสมอง เรายังเด็กจึงไม่อยากลอง แต่ในอนาคตก็ยอมรับ ว่า ยังไม่แน่ใจ

นายเนรัญชลา สมเกียรติมลคล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่ง บอกความในใจ

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า

เช่นเดียวกับ นายชยาพล ขำลักษณ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่เล่าว่า เห็นเพื่อนสูบบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน แต่ตนไม่ได้คิดลอง ทำได้แค่เดินเลี่ยงไป และมองว่าหากเปรียบเทียบกับการสูบบุหรี่มวนแล้ว ภาพลักษณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าดูทันสมัย

นี่เป็นทัศนคติเพียงส่วนหนึ่งของเยาวชนที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า แม้ตามกฎหมายห้าม ประเทศไทยห้ามนำเข้าและจำหน่าย แต่มีขายเถื่อนเกลื่อนอินเตอร์เน็ต แค่ยกหูโทรสั่งก็ได้บุหรี่ไฟฟ้ามาสมใจ

นางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่

นางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่

นางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่

แสบทรวงวีรกรรมบุหรี่ไฟฟ้า

สอดรับกับข้อมูลของ นางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ เล่าว่า จากการติดตามสถานการณ์ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียนมี หลากหลายรูปแบบ ซึ่งต้องยอมรับว่า รูปลักษณะของบุหรี่ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปเมื่อใส่ไปรวมกับอุปกรณ์การเรียน ดินสอ ปากกา ยูเอสบี แทบแยกกันไม่ออก

ครูบางคนพ่อแม่บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า วัสดุเหล่านั้นคือบุหรี่ไฟฟ้า ที่จะเป็นประตูบานแรกให้เยาวชนในครอบครัว ก้าวเข้าสู่สิ่งเสพติดอื่นๆ ได้ง่าย

แต่ที่แสบสันต์และเจ็บจี๊ดแบบสุดทรวง หนีไม่พ้นเรื่องราวใน จ.กระบี่ ที่ครูพบเด็กแอบสูบบุหรี่ไฟฟ้า สอบถามเด็กกลับปฎิเสธเสียงแข็ง ระบุว่า อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้แอบซื้อหามาเอง ครูไม่มีสิทธิยึดเพราะได้จากพ่อแม่ที่ซื้อ เจอแบบนี้โรงเรียนได้แต่นิ่งงันและงง เมื่อถามผู้ปกครอง กลับตอบอย่างภาคภูมิว่า ซื้อบุหรี่ไฟฟ้าให้ลูกสูบเอง เพราะเชื่อว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน และไม่ทำให้ลูกติดบุหรี่

วีรกรรมให้ "เพื่อนลองสูบ" แล้วเก็บเงิน 

ถ้อยคำเหล่านี้ที่ปรากฏ แสดงว่า แม้แต่ผู้ปกครองก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และไม่รู้สึกผิดด้วยซ้ำว่า ได้หยิบยื่นสิ่งใดให้กับลูกของตัวเอง ทั้งนี้สารพิษก็มากกว่า บุหรี่ไฟฟ้าติดก็ง่ายกว่า ฉะนั้นต้องเร่งแก้ไขสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ยังมีวีรกรรมของเด็กระกดับชั้นประถมศึกษา ใน จ.อำนาจเจริญ ที่สั่งซื้อบุหรี่ไฟฟ้าทางอินเตอร์เน็ต นำมาให้เพื่อน ๆ ลองสูบ คิดราคาการลองครั้งละ 5-10 บาท

นพ.ชยนันท์  สิทธิบุศย์ ผอ.กองงานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ

นพ.ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผอ.กองงานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ

นพ.ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผอ.กองงานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ

ข้อมูลจากคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค ชี้ว่า จากการสำรวจสถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กไทยอายุ 13-15 ปี จำนวน 6,700 คน พบว่า 1.อัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากปี 2558 พบ 3.3 % แต่ปี 2565 พบมาดถึง 17.6 % คิดเพิ่มขึ้นเกือบ 5.3 เท่า

2.อุตสาหกรรมยาสูบมีกลยุทธ์มุ่งเป้าที่เด็ก มีการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว คือ จาก 27 % เป็น 48 %

3.ทัศนคติเยาวชนเปลี่ยนแปลงไป ความตระหนักรู้ถึงพิษภัยของควันบุหรี่มือสองลดลง เด็กอาจจะเข้าใจว่า บุหรี่ไฟฟ้าอาจปลอดภัยกว่าบุหรี่

4.การสื่อสาร พบว่าเด็กรับทราบสื่อต่างๆ เกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่ลดลงทุกช่องทางสื่อ จาก 74.9% เหลือ 61.3%

โจทย์ใหม่ให้ความรู้กับสื่อที่เยาวชนเสพ

ความน่ากลัวของบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้อยู่ที่ติดง่ายอย่างเดียว แต่การเติมสารนิโคตินเพื่อสูบแบบไม่ยั้ง ไม่เหมือนนิโคตินในบุหรี่มวน ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษเกินขนาด หากปล่อยทิ้งไว้สารพิษเหล่านี้ส่งผลต่อพัฒนาการสมอง และ ปอดอักเสบเฉียบพลัน

นพ.ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผอ.กองงานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ ยังระบุว่า เยาวชนซื้อหาบุหรี่ไฟฟ้าทางอินเตอร์เน็ต ถึง 80 % ดังนั้น ต้องดำเนินมาตรการเหล่านี้ อย่างเร่งด่วน

การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ร่วมกับคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดทุกจังหวัด ,ปรับกระบวนการสื่อสาร การเสพสื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นเด็กและเยาวชน เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารพิษภัยของบุหรี่ เช่น ติ๊กต๊อก

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ขณะหน่วยงานรณรงค์ต่อสู้กับพิษภัยของบุหรี่มาอย่างยาวนาน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึงงบประมาณและผู้ที่จะมาช่วยทำงานให้ความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่เริ่มลดลง และคนมีอำนาจกลับเข้าใจบุหรี่ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง

ทั้งที่บุหรี่ไฟฟ้าติดง่ายและเป็นประตูบานแรก ที่ทำให้คนกล้าก้าวเข้าไปสู่ยาเสพติดอื่น ๆ ได้ง่าย โดยพบว่าใน 10 คน ที่มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 7 คน ติดบุหรี่ไปจนตายหรือเลิกก็ตอนตายเท่านั้น

เมื่อได้ลองบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว 70 % เลิกไม่ได้ และปล่อยทิ้งไว้ก็จะเกิดประชากรติดสิ่งเสพติดรุ่นใหม่ ดังนั้นทุกฝ่ายต้องช่วยกันขจัดบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาด้วย โดยการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส.

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส.

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส.

ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า สสส.ยังคงจุดเดิมคือ ไม่สนับสนุนสิ่งที่ทำลายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ และการต่อสู้เรื่องการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ หรือควันบุหรี่มือสอง ทำได้ดี แต่ความสำเร็จเหล่านี้ ถูกท้าทายด้วยบุหรี่ไฟฟ้า ที่ถือเป็นภัยคุกคามใหม่ในเด็กและเยาวชน

ดังนั้นจึงต้องเร่งรณรงค์สื่อสารข้อเท็จจริง อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ ทำให้สังคมรู้เท่าทันกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน

เหลียวหน้าแลหลังบุหรี่ไฟฟ้า ภัยใกล้ตัวที่น้อยคนจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แม้เป่าร้องถึงพิษภัย แต่ก็ไร้การตอบรับ หากผู้มีอำนาจ ผู้ปกครองของเด็กกลับเป็นคนหยิบยื่นบุหรี่ไฟฟ้าให้ถึงปาก ก็ได้แต่หวัง “ความรู้ เท่าทัน และเฒ่าก็ทันข้อมูลจะช่วยเป็นเกราะคุ้มเยาวชน ”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

พบเด็ก เยาวชน ติดบุหรี่ไฟฟ้าพุ่ง 30.5% - วัยรุ่นหญิงเพิ่มขึ้น

วันนอร์ รับเรื่องพิจารณา รัฐสภา "ปลอดบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง