ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สมาคมวิศวกรโครงสร้างฯ พบ 4 สาเหตุทาวน์เฮาส์ทรุด จ.สมุทรปราการ

ภูมิภาค
11 ม.ค. 67
06:57
6,450
Logo Thai PBS
สมาคมวิศวกรโครงสร้างฯ พบ 4 สาเหตุทาวน์เฮาส์ทรุด จ.สมุทรปราการ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย พบ 4 สาเหตุ ทำทาวน์เฮาส์ทรุด จ.สมุทรปราการ พบยังทรุดตัวต่อเนื่องแนะเร่งยับยั้ง พร้อมประเมินอาคารเสียหายรุนแรงจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ต้องตัดแยก - รื้อถอน

จากกรณีเมื่อวันที่ 3 ม.ค.267 เมื่อเวลา 20.00 เกิดเหตุบ้านทาวน์เฮาส์ 4 หลังย่านสมุทรปราการทรุดตัว 

สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย แจ้งว่าได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบเหตุทาวน์เฮาส์ทรุด

สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย แจ้งว่าได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบเหตุทาวน์เฮาส์ทรุด

สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย แจ้งว่าได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบเหตุทาวน์เฮาส์ทรุด

ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ศ.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย แจ้งว่าได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบประกอบด้วยนายชูเลิศ จิตเจือจุน อุปนายกฯ นายวัฒนพงศ์ หิรัญมาลย์ เลขาธิการสมาคมฯ เข้าร่วมตรวจสอบพร้อมกับ สมาคมผู้ตรวจสอบอาคารโดย นายณัฐวุฒิ สมิทธิเบญจพล และเจ้าหน้าที่เทศบาลบ้านคลองสวนเข้าตรวจสอบอาคาร

อ่านข่าว : ระทึก! กระโดดหน้าต่างหนีตายบ้าน 4 หลังทรุด

จากการตรวจสอบพบว่าเป็นทาวน์เฮาส์สูง 2 ชั้นจำนวนหลายคูหาต่อเนื่องกัน ก่อสร้างมาประมาณ 27 ปีแล้ว ด้านล่างของบ้านยกใต้ถุนสูงประมาณ 1.0 - 2.0 ม. สันนิษฐานสาเหตุที่เกิดการทรุดตัวมาจาก

1.เสาตอม่อที่รองรับน้ำหนักของบ้านมีขนาดเล็กเพียง 15 ซม. และเนื่องจากดินที่ทรุดตัวลงทำให้เสาชะลูดขึ้นจนรับน้ำหนักไม่ได้

2. เสาตอม่อเกิดการเอียงตัว ซึ่งอาจเกิดการเยื้องศูนย์ของเสาเข็ม จนเนื้อคอนกรีตกะเทาะหลุด เหล็กเสริมเป็นสนิม

ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบพบ เสาตอม่อที่รองรับน้ำหนักของบ้านมีขนาดเล็กเพียง 15 ซม. และเนื่องจากดินที่ทรุดตัวลงทำให้เสาชะลูดขึ้นจนรับน้ำหนักไม่ได้

ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบพบ เสาตอม่อที่รองรับน้ำหนักของบ้านมีขนาดเล็กเพียง 15 ซม. และเนื่องจากดินที่ทรุดตัวลงทำให้เสาชะลูดขึ้นจนรับน้ำหนักไม่ได้

ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบพบ เสาตอม่อที่รองรับน้ำหนักของบ้านมีขนาดเล็กเพียง 15 ซม. และเนื่องจากดินที่ทรุดตัวลงทำให้เสาชะลูดขึ้นจนรับน้ำหนักไม่ได้

3. การเอียงตัวของเสานำไปสู่การสูญเสียเสถียรภาพ และทำให้เกิดการดึงรั้งอาคารหลังอื่นตามมา

4. คอนกรีตที่ใช้ทำเสาอาจมีคุณภาพไม่ดี และกำลังรับน้ำหนักอาจไม่เพียงพอ

อ่านข่าว : ไม่พบ "ฟอสฟีน" ตกค้างในชุมชน-พบรถไม่มีใบอนุญาตขนสารเคมี 

ทั้งนี้อาจมีปัจจัยอื่นประกอบ เช่น ฐานราก ซึ่งต้องตรวจสอบต่อไป โดยในขั้นต้นนี้ สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยแนะนำเทศบาลว่า สภาพปัจจุบันของอาคารอาจจะไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย และ การทรุดตัวยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง

สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยแนะนำเทศบาลว่า สภาพปัจจุบันของอาคารอาจจะไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย และ การทรุดตัวยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง

สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยแนะนำเทศบาลว่า สภาพปัจจุบันของอาคารอาจจะไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย และ การทรุดตัวยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง

สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยแนะนำเทศบาลว่า สภาพปัจจุบันของอาคารอาจจะไม่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย และ การทรุดตัวยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง

ดังนั้นจะต้องยับยั้งการทรุดตัวในเบื้องต้นก่อน โดยการเพิ่มค้ำยันชั่วคราว จากนั้นประเมินว่าอาคารที่ได้รับความเสียหายรุนแรง จนถึงระดับที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้วมีกี่หลัง และต้องตัดแยกจากโครงสร้างส่วนที่เหลือ และทำการรื้อถอนหรือมาตรการอื่นที่เหมาะสม ทั้งนี้ งานแก้ไขอาคารดังกล่าวเป็นงานที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมมาให้ความเห็นและกำกับมาตรฐานในการทำงานต่อไป

อ่านข่าวอื่น ๆ

รถกระบะทำสารเคมีรั่วไหล จ.สมุทรปราการ จนท.เร่งควบคุมสถานการณ์ 

งัดหลักฐานใหม่! สู้ค่าโง่คลองด่าน 9.6 พันล้าน-ศาลให้งดบังคับคดีชั่วคราว 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง