ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คุมประพฤติ สรุป 7 วันอันตรายปีใหม่ เมาแล้วขับสูงสุด 7,864 คดี

สังคม
5 ม.ค. 67
16:43
979
Logo Thai PBS
คุมประพฤติ สรุป 7 วันอันตรายปีใหม่ เมาแล้วขับสูงสุด 7,864 คดี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมคุมประพฤติเผยสถิติคดีศาลสั่งคุมความประพฤติ 7 วันช่วงเทศกาลปีใหม่ สะสม 8,102 คดี คดีขับรถขณะเมาสุรามากสุด 7,864 คดี

วันนี้ (5 ม.ค.2567) นางธารินี แสงสว่าง รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ในฐานะโฆษกกรมคุมประพฤติ แถลงสรุปปิดยอดสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติในวันสุดท้ายของ 7 วันควบคุมเข้มข้นปีใหม่ 2567 (4 ม.ค.67)

สถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติมีจำนวน ทั้งสิ้น 1,150 คดี

จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 1,100 คดี คิดเป็นร้อยละ 95.65

คดีขับรถประมาท 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.09 และ

คดีขับเสพ 49 คดี คิดเป็นร้อยละ 4.26

ยอดสะสม 7 วัน (วันที่ 29 ธ.ค.66 – 4 ม.ค.67) มีจำนวนทั้งสิ้น 8,102 คดี จำแนกเป็น

- คดีขับรถขณะเมาสุรา 7,864 คดี คิดเป็นร้อยละ 97.06
- คดีขับรถประมาท 5 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.06
- คดีขับเสพ 233 คดี คิดเป็นร้อยละ 2.88

ธารินี แสงสว่าง รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ

ธารินี แสงสว่าง รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ

ธารินี แสงสว่าง รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ

จังหวัดที่มีคดีขับรถขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 469 คดี นครพนม จำนวน 351 คดี และหนองคาย จำนวน 328 คดี

เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมทั้ง 7 วันที่เข้าสู่ระบบงานคุมประพฤติในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี พ.ศ. 2566 มีจำนวน 8,567 คดี กับ ปี พ.ศ. 2567 จำนวน 7,864 คดี พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา มีจำนวนลดลง 703 คดี คิดเป็นร้อยละ 8.2

สำหรับในช่วง 7 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนตามสถานที่ต่างๆ โดยให้บริการประชาชนแจกน้ำดื่ม ผ้าเย็น เครื่องดื่ม อำนวยความสะดวกจราจร ที่จุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 765 จุด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย อาสาสมัครคุมประพฤติ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ผู้ถูกคุมความประพฤติ และประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 28,857 คน

รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการคุมประพฤติที่มีต่อผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราทุกราย จะต้องผ่านการคัดกรองแบบประเมินการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา จะส่งเข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับผู้กระทำผิด ที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำหรือมีประวัติการกระทำผิดซ้ำ ต้องเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูแบบเข้มข้น และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติ อาทิ รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และทำงานบริการสังคม ที่ให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเมาแล้วขับ เช่น การดูแลเหยื่ออุบัติเหตุในโรงพยาบาล และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

สรุป 7 วันอันตรายปีใหม่ตาย 284 เจ็บ 2,307 ตายเป็นศูนย์ 11 จังหวัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง