ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปัดรัฐบาลแทรกแซง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" ทบทวนเพื่อแรงงาน

สังคม
21 ธ.ค. 66
12:37
492
Logo Thai PBS
ปัดรัฐบาลแทรกแซง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" ทบทวนเพื่อแรงงาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โฆษกรัฐมนตรี ปัดรัฐบาลแทรกแซง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" ชี้ "นายกรัฐมนตรี" หวังทบทวนเพื่อแรงงานให้มีรายได้ตรงเศรษฐกิจปัจจุบัน หลังปรับรอบใหม่ 2 บาทยังซื้อไข่ไม่ได้

วันนี้ (21 ธ.ค.2566) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคณะกรรมการค่าจ้างมีมติเห็นชอบปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 ตามมติเดิมเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ออกไปก่อนว่า รัฐบาลเข้าใจว่าสิ่งไหนจะดำเนินการอะไรได้บ้าง ทั้งนี้ในฐานะรัฐบาลสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ในช่วงเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ก็ได้มีการหาเสียงไว้ รัฐบาลมีสิทธิรับฟังความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตามกฏหมายจะเห็นด้วยกับรัฐบาล ก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งเป็นเอกสิทธิไปแทรกแซงไม่ได้

นายชัย กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่หยุดแสดงความคิดเห็น โน้มน้าว เพราะเรื่องแบบนี้พูดคุยกันได้ ไม่มีข้อบังคับไหน ที่ระบุว่าปีหนึ่งให้พิจารณาการขึ้นค่าแรงเพียงครั้งเดียว หากผ่านไปแล้วสักระยะ เมื่อคณะกรรมการมีการทบทวนหรือพิจารณาใหม่อีกครั้งภายในปีเดียวกันก็ได้ ซึ่งถือว่าโอกาสมีอยู่เสมอ

อ่านข่าว บอร์ดค่าจ้าง ยืนมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามเดิม

ปัดรัฐบาลแทรกแซงค่าแรงขั้นต่ำ

โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ในเรื่องนี้เป็นไปตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุไว้ออกมาจากใจจริงว่า ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 2 บาท ใน 3 จังหวัดภาคใต้ แม้แต่ไข่ไก่ ไข่ต้มครึ่งฟอง ยังซื้อไม่ได้ หากถามว่าน้อยหรือไม่

นายกรัฐมนตรี มองว่าน้อยมาก ในแง่ของการครองชีพของภาคแรงงาน ค่าแรงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และคำนวณขึ้นค่าแรงล่าสุด 300 บาท เกิดขึ้นเมื่อปี 2555 จนถึงปัจจุบันนี้ ค่าแรงขึ้นมาสูงสุดในรอบ 10 ปี ไม่เกิน 20 %

โฆษกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเปรียบเทียบว่า หากลูกหลานของทุกคนที่จบการศึกษาต่างประเทศ แล้วสตาร์ทเงินเดือนที่ 30,000 บาท ทำงานไป 12 ปี ได้ค่าจ้าง 36,000 บาท จะรู้สึกอย่างไร หลายคนก็ระบุว่า ไม่ไหวถ้าเป็นเช่นนี้ ดังนั้น แรงงานจะแย่กว่าใช่หรือไม่

เมื่อแรงงานทำงานไป 12 ปี ธรรมดาคนรายได้ต่ำเปอร์เซ็นต์การขึ้นค่าแรงต้องสูง คนรายได้สูงเปอร์เซ็นต์การขึ้นค่าแรงต้องต่ำ เพราะฐานเงินเดือนที่ใหญ่ แต่นี้กับกลับกันคนมีรายได้สูงถ้า 10-11 ปี รายได้เพิ่มขึ้น ได้ 20 % แล้วไม่ไหว ขณะที่พี่น้องแรงงานจะไหวได้อย่างไร

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี มองในเชิงการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ยังเห็นมีช่องว่างและมีความเลื่อมล้ำสูงมาก ผู้ใช้แรงงานที่มีรายต่ำอยู่แล้ว แล้วขึ้นค่าแรงในจำนวนที่น้อย นายกรัฐมนตรีมีสิทธิที่แสดงความคิดเห็น

นายกรัฐมนตรีรู้ดีว่า จะไปหักหานกันไม่ได้ เพราะมีกฏหมายกำหนดไว้ การแสดงความเห็นเป็นส่วนหนึ่ง การเคารพกฏหมายก็ต้องปฏิบัติตาม แต่คงจะมีการขับเคลื่อนต่อ

นอกจากนี้ คงไม่ใช่นายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ส่วนตัวเชื่อว่า ในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็เห็นคล้อยตามนายกรัฐมนตรี ที่จะต้องมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะค่าแรงขั้นต่ำของไทยเกินกว่าตัวเลขที่ศึกษาวิจัยว่า คนหนึ่งคนเวลาทำงานมีครอบครัว มีลูกหนึ่งคนขั้นต่ำหนึ่งวันต้องมีรายได้ 560 บาทต่อวัน แต่ค่าแรงกลับห่างไกลมาก จึงเกิดปัญหาทำงานล่วงเวลา (โอที) ทั้งพ่อและแม่ จนไม่มีเวลาดูลูก และนำมาซึ่งปัญหาสังคม

ส่วนตัวจึงเข้าใจว่า ศักยภาพภาคธุรกิจไทย ถ้าบอกว่า ค่าจ้างสูงกว่านี้ไม่ไหว แปลว่า ต้องทบทวนศักยภาพธุรกิจที่ไม่มีความสามารถพอ ที่จะทำธุรกิจและสร้างรายได้มากพอที่จะดูแลคนทำงานได้อย่างมีความสุข ดังนั้นภาคธุรกิจต้องปรับตัว

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการคิดว่าขึ้นค่าแรงแล้วจะทำให้ธุรกิจของตนเองอยู่ไม่ได้ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า คนอื่นที่อยู่ในวงการเดียวกันอาจอยู่รอดได้ เพราะจะมีเจ้าอื่นมาทดแทน และพร้อมจ่ายค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงอย่าได้กังวลว่า ค่าจ้างสูงแล้วธุรกิจอยู่ไม่ได้ และมีแรงงานตกงาน ส่วนตัวไม่เชื่อเช่นนั้น  

อ่านข่าว

แรงงาน-นายจ้าง ยิ้มไม่ออก ! ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2 บาท "ดีกว่าไม่ได้"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง