ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

" ไชยา" ท้าชน "ธรรมนัส" - ศึกพรรคร่วมรัฐบาลที่ ก.เกษตรฯ

การเมือง
2 พ.ย. 66
17:39
1,751
Logo Thai PBS
" ไชยา" ท้าชน "ธรรมนัส" - ศึกพรรคร่วมรัฐบาลที่ ก.เกษตรฯ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิชาการ มองปรากฎการณ์ ศึกภายใน กระทรวงเกษตร "ธรรมนัส-ไชยา" ใครได้เปรียบ

รอยร้าวภายในกระทรวงพญานาค "เกษตรและสหกรณ์" ระหว่างร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ กับนายไชยา พรหมา รมช.เกษตรฯ  เกิดขึ้นอีกระลอก หลังเคยเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อมีการแบ่งกรมให้กำกับดูแลเมื่อช่วงกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และครั้งที่ 2 จากการแต่งตั้งบุคลการในกระทรวงฯ 

จนกระทั่งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว. พาณิชย์ ต้องออกสยบข่าว โดยระบุว่า ไม่มีปัญหาและเป็นเรื่องธรรมดาในการทำงาน ซึ่งได้มีการพูดคุยกันเรียบร้อยแล้ว ไม่มีปัญหา

สำหรับภารกิจหลักภายในกระทรวงเกษตรฯ ในฐานะเจ้ากระทรวง ร.อ.ธรรมนัส พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กำกับดูแล 11 หน่วยงานหลัก คือ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การยางแห่งประเทศไทย และการตลาดเพื่อเกษตรกร

ส่วนนายอนุชา นาคาศัย จากพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ดูแล 4 หน่วยงาน คือ กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และองค์การสะพานปลา 

ขณะที่นายไชยา พรรคเพื่อไทย ดูแล 4 หน่วยงานเช่นกัน คือ กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และองค์การส่งเสริมกิจการโคนม 

รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ให้สัมภาษณ์ในรายการมุมการเมือง ไทยพีบีเอส โดยระบุว่า รัฐมนตรีว่าการนั้นมีอำนาจใหญ่ที่สุดในกระทรวงอยู่แล้ว เมื่อกระทรวงที่ต้องดูแลมีขนาดใหญ่ มีหน่วยงานภายในจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานให้รัฐมนตรีช่วยว่าการในการทำงาน

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ การแบ่งงานดูเหมือนจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่รัฐมนตรีว่าการก็จะต้องรับผิดชอบสูงสุด ที่ผ่านมามีการแบ่งกันโดยกรมขนาดใหญ่จะมีรัฐมนตรีว่าการดูแล แต่จะมีส่วนน้อยที่รัฐมนตรีจะดูแลส่วนใหญ่ และแบ่งให้รัฐมนตรีช่วยดูแลส่วนน้อย

ประเด็นคือ การแบ่งงานให้ รมช.ดูแลได้ไม่เต็มที่ และยังเข้าไปล้วงลูกในการขอย้ายบุคลากร ปัญหาน่าจะอยู่ที่ รมว.ต้องการที่จะดูแลเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งไม่เกิดเพียงสมัย ร.อ.ธรรมนัส เท่านั้น ตรงนี้อยู่ที่ความใจกว้างของ รมว.ซึ่งตอนนี้ก็อยู่กันคนละพรรค และเคยมีประเด็นกันมาก่อน 

รศ.ดร.อดิศร ยังกล่าวว่า การมอบอำนาจเช่นกรณีนี้ ร.อ.ธรรมนัส ได้มอบอำนาจให้ รมช.ดูแลกรมปศุสัตว์ เมื่อมอบอำนาจให้ รมช.กำกับดูแลแล้ว การแต่งตั้งโยกย้ายโดยหลักการแล้วต้องขึ้นอยู่กับ รมช. แต่การจะล้วงลูกสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งทำได้แต่อาจไม่เหมาะสมควรหารือกันภายในแต่ต้องให้อำนาจเบ็ดเสร็จ เพราะเมื่อมอบให้ รมช.ดูแลกรมต่าง ๆ แล้วก็ควรจะให้ รมช.ดูแล โดยที่ รมว.สามารถให้นโยบายได้ แต่การเข้าไปล้วงลูกในสิ่งที่มีนัยสำคัญ เช่น การบริหารงานบุคคล ให้ความดี ความชอบ ต่างๆ ดังนั้น การเข้าไปยุ่งทั้งหมด ก็มีคำถามว่า อาจไม่จำเป็นต้องมี รมช.ก็ได้ 

ตามธรรมเนียมไม่ได้วัดกันที่อาวุโส แต่อยู่ที่ดุลยพินิจของ รมว. เรื่องอาวุโสเป็นเรื่องของหลักทางรัฐศาสตร์ และหลักในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมือง เนื่องจากเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งกลไกที่จะช่วยคลี่คลายคือ พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 3 พรรค และผู้ที่จะช่วยเคลียร์ คือ นายภูมิธรรม ที่ดูแลในภาพรวม หากยังแก้ไม่ได้ก็อาจจะถึง คนแดนใกล้ หรือ คนแดนสูง ต้องระดับนั้น

รศ.ดร.อดิศร ยังกล่าวว่า ยังมองว่า นัยทางการเมืองในกรณีนี้ก็คือ ร.อ.ธรรมนัส ต้องการสร้างตัวตนผ่านการทำงาน ของพรรคพลังประชารัฐมากกว่าการหวนกลับไปสู่พรรคไทย หรือ กรณีก็สามารถสร้างคุณค่าต่อตัว ร.อ.ธรรมนัส เพิ่มขึ้นได้ ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส จะสามารถไปอยู่ที่ไหนก็ได้ จะสร้างพลังประชารัฐให้เข้มแข็ง หรือกลับไปอยู่พรรคเพื่อไทย ก็จะกลับไปอยู่ในลำดับต้น ๆ 

นายไชย พรหมา  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายไชย พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายไชย พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ขณะที่มุมของ รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย ที่ให้สัมภาษณ์ ทางรายการคลื่นข่าว คลื่นข่าว MCOT NEWS FM100.5 มองว่า ร.อ.ธรรมนัส ค่อนข้างได้เปรียบมี สส.ในมือมากกว่านายไชยา 

รวมถึงกรณีที่นายไชยาออกมาพูด ในเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการนั้น มีความเสี่ยงกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก ข้าราชการการเมืองจะไม่สามารถลงไปย้ายเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติไม่ได้ ซึ่งนายไชยาควรที่จะเร่งทำผลงานให้ประชาชนเห็นผลงานจะดีกว่า

รศ.ดร.ธนพร ยังมองว่า ประเด็นใหญ่ของเรื่องนี้ คือ กรณีหมูเถื่อน ซึ่งการนำเข้าหมู ในช่วงปี 64 - 65 จำนวน 3,400 ตู้ น้ำหนักรวมกว่า 34,000 ตัน ซึ่งในการสำแดงตู้คอนเทนเนอร์ในการนำเข้านั้นมีการสำแดงว่าเป็นปลาแต่ภายในเป็นหมู มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท เมื่อการนำเข้าสำแดงเป็นปลาหน่วยงานที่ต้องตรวจจึงอยู่ที่กรมประมง ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส เป็นผู้ดูแล ขณะที่ กรมปศุสัตว์ซึ่งดูแลหมู จึงนำมาสู่ความขัดแย้ง

ผู้นำเข้าแจ้งว่า เป็นปลา กรมประมงจึงมีหน้าที่ตรวจ ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส ดูแล ซึ่งเมื่อนายไชยา เปิดเรื่องมาเช่นนี้ ก็เข้าทาง ร.อ.ธรรมนัส ที่จะดึงกรมปศุสัตว์มาดูแลเพียงผู้เดียว

ทั้งนี้ ราคาทางการเมืองของบุคคลทั้ง 2 นั้นไม่เท่ากันโดยในการจัดตั้งรัฐบาลนายไชยา มี 1 เสียงเท่านั้น ไม่กระทบแต่พรรคพลังประชารัฐที่มีกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส นั้นจะส่งผลกระทบและอาจทำให้ตั้งรัฐบาลไม่ได้ ท่าทีของแกนนำพรรคเพื่อไทยจึงค่อนข้างมาทาง ร.อ.ธรรมนัส 

รวมถึงหากในอนาคต พรรคพลังประชารัฐ สลายตัว ร.อ.ธรรมนัส ซึ่งอาจจะต้องย้ายมาอยู่กับพรรคเพื่อไทย คำถามคือ สส.ในกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส และ นายไชยา ใครมี สส.ในมือมากกว่ากัน ดังนั้น จึงไม่มีใครที่จะมาสนับสนุนนายไชยา กลับกันก็จะสนับสนุน ร.อ.ธรรมนัส มากกว่า

พรรคเดียวกันแต่คนละพวกสู้พวกเดียวกันแต่คนละพรรคไม่ได้ ซึ่งคนในแวดวงการเมืองทราบกันดี ไม่เช่นนั้นจะมีการฝากเลี้ยง สส.ได้อย่างไร

 

อ่านข่าวอื่น ๆ

จับตา "ปูอัด" สส.ก้าวไกลยังไม่ลาออก-โซเชียลกระหน่ำถามสปิริต  

“สส.ปูอัด” ขอโทษปมคุกคามทางเพศ"พร้อมลาออก" ถ้า กกต.ชี้ผิด  

รู้จัก "สส.ปูอัด" ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ถูกตัดสิทธิ ปมคุกคามทางเพศ 

ขับ"วุฒิพงศ์" พ้นก้าวไกล "สส.ปูอัด"ถูกตัดสิทธิปมคุกคามทางเพศ 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง