ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฟรีวีซา "อินเดีย-ไต้หวัน" เที่ยวไทย 30 วันนาน 6 เดือน

เศรษฐกิจ
31 ต.ค. 66
15:31
1,661
Logo Thai PBS
ฟรีวีซา "อินเดีย-ไต้หวัน" เที่ยวไทย 30 วันนาน 6 เดือน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ครม.เคาะฟรีวีซานักท่องเที่ยว "อินเดีย-ไต้หวัน" เที่ยวไทย 30 วัน นาน 6 เดือนตั้งแต่ 10 พ.ย.-10 พ.ค.2567 คาดดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทยอีก 1.55 ล้านคนกระตุ้นเศรษฐกิจ

วันนี้ (31 ต.ค.2566) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติในหลักการในการกำหนดให้สาธารณรัฐอินเดีย และไต้หวัน เป็นรายชื่อประเทศดินแดนในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดรายชื่อประเทศ ดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน

โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย.2566 –10 พ.ค.2567 (ระยะเวลา 6 เดือน) ซึ่งเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยวของชาวอินเดีย และไต้หวัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมิติเศรษฐกิจและการต่างประเทศในภาพรวม

นอกจากนี้ ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งหน่วยงานความมั่นคงให้กำกับ ติดตาม และประเมินผล กระทบจากการออกประกาศ มท. ฉบับดังกล่าว ภายหลังครบระยะเวลา 6 เดือน ที่ประกาศไว้

ทั้งนี้ จากการพิจารณาข้อมูลนักท่องเที่ยวจากอินเดียและไต้หวัน พบว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย.นี้ มีนักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางเข้าไทยจำนวน 1,162,251 คน และคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2566 จะเดินทางเข้าไทยอีกประมาณ 1.55 ล้านคน

โดยนักท่องเที่ยวอินเดียใช้จ่ายประมาณ 41,000 บาท/การมาท่องเที่ยว 1 ครั้ง ขณะที่ไต้หวัน ใช้จ่ายประมาณ 43,000 บาทการมาท่องเที่ยว 1 ครั้ง คาดว่าภายในปี 2566 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยราว 700,000 คน

ก่อนหน้านี้เมื่อ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา แรกเริ่มใช้นโยบายวีซาฟรีกับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนและคาซัคสถาน โดยเริ่มตั้งแต่ 25 ก.ย.2566-29 ก.พ.2567 รวมระยะเวลา 5 เดือน

อ่านข่าว

วันแรก "วีซาฟรี" รับนักท่องเที่ยวจีน-คาซัคสถาน นายกฯนำทีมต้อนรับ

นายกฯ คาด "วีซาฟรี" จีน-คาซัคสถาน รายได้ 3.5 หมื่นล้านเข้าประเทศ

เอกชนมอง "ยกเลิกวีซ่าชั่วคราว" ได้ผลดีกว่า "ฟรีวีซา"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง