ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แม่น้ำโขงทางตอนบนของไทย ปีนี้สามารถเดินเรือตลอดทั้งปี

ภูมิภาค
18 ก.ย. 66
10:53
354
Logo Thai PBS
แม่น้ำโขงทางตอนบนของไทย ปีนี้สามารถเดินเรือตลอดทั้งปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แม่น้ำโขงทางตอนบนของไทยที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดเชียงราย ปีนี้ไม่ผันผวนเหมือนอดีตสามารถเดินเรือได้ แต่การสร้างเขื่อนในประเทศจีน ก็ทำให้ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป และชาวบ้านยังมีความกังวลในความพยายามสร้างเขื่อนใหม่ในประเทศลาว คือ เขื่อนปากแบง

ปีนี้แม้สถานการณ์แม่น้ำโขงทางตอนบนของไทยที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดเชียงราย จะไม่ผันผวนเหมือนอดีตสามารถเดินเรือได้ตลอดปีและไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมหรือภัยแล้ง แต่การสร้างเขื่อนในประเทศจีนก็ทำให้ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป และชาวบ้านยังมีความกังวลในความพยายามสร้างเขื่อนใหม่ในประเทศลาว คือ เขื่อนปากแบง จึงมีการรวมตัวกันออกมารณรงค์เพื่อไม่ให้มีการสร้างเขื่อนที่จะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงในอนาคต

 

 

การนำหม้อไห และอุปกรณ์เครื่องครัวออกมาเคาะ เพื่อแสดงเชิงสัญลักษณ์ถึงความไม่เป็นธรรม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงแก่งผาได บ้านห้วยลึก ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่สุดท้ายของแม่น้ำโขงไหลผ่านจังหวัดเชียงรายก่อนแม่น้ำโขง จะไหลพื้นที่ประเทศลาวทั้งสาย เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางกลุ่มรักษ์เชียงของ และองค์กรภาคประชาสังคม จัดขึ้นเพื่อแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์ในการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการก่อสร้างเขื่อนปากแบง ที่กำลังมีความพยายามในการก่อสร้างขึ้นในเร็วๆ โดยอ้างคำจำเป็นในเรื่องของการผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้า

 



นายนิวัติ ร้องแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของและภาคประชาสังคมมองว่าทุกวันนี้แม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนทางระบบนิเวศอย่างมากจากการสร้างเขื่อนในประเทศจีน ซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแม้ทางเครือข่ายจะพยายามเรียกร้องมาโดยตลอด แต่กลับมีความพยามในการก่อสร้างเขื่อนปากแบงในประเทศลาว อีก ซึ่งหากมีการก่อสร้างทางด้าน จ.เชียงราย โดยเฉพาะอำเภอเวียงแก่น และเชียงของจะเกิดภาวะน้ำเท้อ จนท่วมพื้นที่ทางการเกษตรหรือที่อาศัย สันดอนต่างๆ ที่เป็นแหล่งทำมาหากินของคน และของสัตว์และพืชก็จะหายไป อีกทั้งยังจะส่งผลจังหวัดทางล่างแม่น้ำโขงก็จะเกิดวิกฤตแม่น้ำโขงในหลายด้าน

 

ด้านนางสาวเพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการรณรงค์ภูมิภาค องค์กรแม่น้ำนานาชาติ ยอมรับว่าภาคประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในพื้นที่เชียงของและเวียงแก่น กังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเขื่อนปากแบงซึ่งจะทำเกิดน้ำเท้อและการเปลี่ยนแปลงของเส้นพรมแดนไทยลาวที่จะอาจเกิดขึ้นหลังการสร้างเขื่อน ซึ่งทางภาคประชาชนไม่เข้าใจว่าทาง กฟผ.จะต้องลงนามซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มทำไมทั้งที่ไฟฟ้าในระบบมีมากพออยู่แล้ว

 

สำหรับช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ.2566 นี้ คณะกรรรการสิทธิมนุษยชนจะมีการลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวในจังหวัดเชียงราย เพื่อหาทางออกร่วมกัน รวมทั้งการจัดกิจกรรมมหกรรมแม่น้ำโขง ขึ้นในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2566 เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของประชาชนที่หวงแหนแม่น้ำโขงที่อยากเห็นการบริหารพลังงานของประเทศต่างๆ มีความรับผิดชอบมากขึ้น และเป็นธรรมมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง