“ดอกบัวยักษ์” สนามหลัก “หางโจวเกมส์”
สนามแข่งขันที่มีบทบาทมากที่สุด คือสนามหลักของการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ ในเอเชียนเกมส์ 2022 หางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ Hangzhou Sports Park Stadium หรือที่เรียกว่า “ดอกบัวยักษ์” ความจุ 80,000 ที่นั่ง ซึ่งสนามแห่งนี้จะใช้ในพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน รวมทั้งจัดแข่งกรีฑาและฟุตบอลชายนัดชิงชนะเลิศ
ภาพ : AFP
สำหรับแรงบันดาลใจในการออกแบบสนามแห่งนี้ มาจากเนื้อผ้าและวิธีการทอผ้าไหมโบราณ ซึ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสะท้อนภาพเกลียวคลื่นอันเชี่ยวกรากของแม่น้ำเฉียนถัง
ส่วนหลังคาของสนาม ประกอบไปด้วยโครงสร้างแบบกลีบดอกไม้ใหญ่-เล็ก รวมกว่า 55 กลีบ อันมีที่มาจาก บัวพื้นเมืองของทะเลสาบตะวันตก หนึ่งในทิวทัศน์ที่งดงาม และเป็นเอกลักษณ์ของเมืองหางโจว
จัดเต็มทั้งดีไซน์และเทคโนโลยี
ในฐานะเมืองที่ผสมผสานวัฒนธรรมไปกับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ทำให้สนามแข่งขันที่สร้างขึ้นใหม่ มีทั้งความสวยงามแบบสมัยใหม่ ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ขัดต่อภาพลักษณ์ของความเป็นเมืองอนุรักษ์
เช่นสนามดอกบัวยักษ์ที่เป็นภาพสะท้อนเมืองหางโจวได้อย่างครอบคลุม โดยใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบน้อยกว่าสนามรังนกที่กรุงปักกิ่งถึง 67 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่สนาม หางโจว อีสปอร์ตส์ เซ็นเตอร์ ก็มีการออกแบบให้เหมือนยานอวกาศโดยใช้แนวคิด “กระแสน้ำวนแห่งดวงดาว” เข้ากับชนิดกีฬาที่จัดการแข่งขัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และไม่พลาดที่จะสร้างบรรยากาศในสนามแข่งอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยระบบภาพและเสียงรอบทิศทางแบบ 360 องศา
ภาพ : AFP
อีกสนามที่มีความโดดเด่นในเรื่องของดีไซน์ไม่แพ้กันคือ เฉียนถัง โรลเลอร์ สปอร์ตส์ เซ็นเตอร์ ที่ใช้แข่งโรลเลอร์สเก็ต และสเก็ตบอร์ด ซึ่งเมื่อมองลงมาจากด้านบน จะดูเหมือนรูปทรงของเลข 6 สองตัวเชื่อมกัน หรือรูปลูกข่างหมุนคล้ายเกลียวลมที่เป็นเอกลักษณ์ของกีฬาโรลเลอร์สเก็ตนั่นเอง
https://stadiumth.com/asian-games/highlight/detail?id
การสร้างสนามกีฬาหลายแห่ง มักจะต้องเลือกระหว่างความยั่งยืน ประสิทธิภาพการใช้งาน และการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ศูนย์กีฬาหางโจว รวมทั้งสามอย่างไว้ด้วยกัน ซึ่งการออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากบทกวีและดอกไม้
การก่อสร้างก็ลดการใช้คาร์บอนและลดการใช้วัสดุ กล่าวคือ มีการใช้เหล็กน้อยกว่าสนามกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งถึง 67 % ทำให้สนามกีฬาสวยงามและยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน
https://www.facebook.com/19thAGHZ2022/posts/pfbid02ezRbJavP8GFHAAS6K5idXnpo8gwbXGD17pK4U71r1cPRXBxy7nMHyu9abLjFeL6pl
การออกแบบสนามกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อประหยัดทรัพยากร ทีมออกแบบจึงก่อสร้างโดยลดปริมาณเหล็ก โดย 1) เชื่อมโยงเปลือกเหล็กและโถคอนกรีตเข้าด้วยกันในแต่ละระดับ เพื่อให้ทั้งสองระบบทำงานพร้อมกัน และ 2) เพิ่มโครงสร้างด้านบนโถเพื่อลดคานยื่นของหลังคา
การก่อสร้างสนามกีฬาที่ยั่งยืน
นอกจากการใช้เหล็กน้อยกว่าสนามกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งถึง 67% แล้ว ทีมออกแบบยังกล่าวว่า ได้วางแผนโดยใช้พื้นสีอ่อนที่มีรูพรุน เพื่อลดการไหลของน้ำจากไซต์งาน และลดความร้อนจากการกระทบของแสงจากพื้น
สนามกีฬาที่ทำกิจกรรมได้ตลอดทั้งปี
สนามกีฬาทั้งหมดจะทำหน้าที่เป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจริมแม่น้ำเฉียนถัง เพื่อเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับแฟน ๆ กีฬาและคนในชุมชน ทั้งก่อนแข่งขัน ระหว่างแข่งขัน และหลังการแข่งขัน
https://www.facebook.com/19thAGHZ2022/posts/pfbid02ezRbJavP8GFHAAS6K5idXnpo8gwbXGD17pK4U71r1cPRXBxy7nMHyu9abLjFeL6pl
สนามกีฬาที่เป็นศูนย์กลางรวมคน
บทบาทพิเศษของสนามกีฬาคือ การสร้างศูนย์กลางพลเมืองที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงการสร้างสุขภาพที่ดี ถือเป็นหนึ่งในแง่มุมที่มีเอกลักษณ์ที่สุดของการพัฒนาสนามกีฬา พร้อมทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในชีวิตประจำวันของคนในย่านนี้และส่งเสริมการลงทุนด้านทิศใต้ของแม่น้ำอีกด้วย
https://www.nbbj.com/work/hangzhou-olympic-sports-center
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19” มีกีฬาแข่งขันกี่ชนิด
เปิดตัวมาสคอต 3 แบบ แห่ง“เอเชียนเกมส์ 2022” สะท้อนความเป็นหางโจว