ถ้าเป็นเหตุผลที่ชัดเจน เป็นเรื่องของการค้นหาสาเหตุการจมนั่น ประกอบกับภาพจากกล้องอินฟาเรดและภาพการสำรวจใต้น้ำมันมีความเป็นไปได้สูงที่การกู้เรือจะประสบผลสำเร็จ
อาจจะพูดได้ว่า เราจะเห็นเรือหลวงสุโขทัยขึ้นมาเหนือผิวน้ำอีกครั้งในเดือนธันวาคมนี้
หลังจากที่เรือหลวงสุโขทัยจมลงสู่ก้นทะเล เป็นการสำรวจตั้งแต่บริเวณ ปล่องเรือด้านหลัง ซึ่งจะเห็นตราครุฑติดอยู่ ส่วนที่ถัดออกมาเป็นที่ติดตั้ง เสากระโดงเรือ บริเวณนี้จะเห็นได้ว่ามีเสาสัญญาณต่างๆ รวมไปถึงระบบ "เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ" และ เครื่องวัดความเร็วลม ซึ่งในส่วนบนทั้งหมดยังอยู่ในสภาพที่ประเมินแล้วว่าปกติ
คลิปที่ถ่ายทางจากบริเวณดาดฟ้าหัวเรือ มองเห็น ป้อมปืนกระบอกแรก ถัดไปเป็นป้อมปืนแท่นคู่ อยู่หน้าสะพานเดินเรือ บนหลังคาสะพานเดินเรือ จะมองเห็นเรดาร์ติดตั้งอยู่ เป็นเรดาร์ตรวจการณ์ ส่วนตำแหน่งถัดไป มีลักษณะเป็นเหมือนกล่อง สี่เหลี่ยมผืนผ้า อันนั้นคือ "แท่นยิงฮาร์พูน" ซึ่งถือเป็น เขี้ยวเล็บสำคัญของเรือหลวงสุโขทัย
ไปที่หัวเรือกันบ้างด้านหน้ากราบซ้าย จากเลขเรือ มองเห็นลักษณะตัวเรือ อยู่ในแนวระนาบ บางช่วงมองเห็นพื้นทราย นักประดาน้ำ ใช้ไฟฉาย ส่องไปตาม ผนัง ตัวเรือ และแผ่นเหล็ก ยังไม่พบว่ามีร่องรอยการฉีกขาดหรือไม่แต่ ก็ไม่ปรากฏความเสียหายที่จะเป็นเหตุให้น้ำเข้าเรือจากตำแหน่ง บริเวณด้านหน้ากราบซ้าย
ส่วนภาพกล้องอินฟาเรด ที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อมาแล้ว ช่วงเดือนมกราคม ลักษณะตัวเรือ อยู่บนผืนทราย เอียงซ้ายประมาณ 8 องศา ซึ่งหากจะกู้ขึ้นมา ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ จำเป็นจะต้องสำรวจซ้ำเนื่องจากกระแสน้ำ และคลื่นใต้น้ำอาจทำให้พื้นทรายเปลี่ยนแปลงและเรืออาจจะเอียงหรือจมลึกลงไปอีก
ทั้งคลิปและภาพอินฟาเรด เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่กองทัพเรือ ส่งให้กับบริษัทที่สนใจ เพื่อนำไปประเมินวิธีการกู้เรือ และค่าใช้จ่าย
ซึ่งถ้าเราย้อนไปดูไทม์ไลน์ของการคัดเลือกบริษัท พบว่า กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยงานร่างขอบเขต TOR แล้ว ภายใต้งบประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งมีการดำเนินการมาแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ล่าสุดได้รับรายงานว่า มีบริษัทที่เกี่ยวข้อง ร่วมประมูลงานจำนวน 15 บริษัทฯ ซึ่งจะทราบผลบริษัทที่ได้งานภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 90 วัน
วิเคราะห์โดย : วิลาศิณีย์ ศุภรส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"กองทัพเรือ" ช่วยเหลือกำลังพล-ครอบครัว "เรือหลวงสุโขทัย" แล้ว 95 เปอร์เซนต์