ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อาณาจักรแสนล้าน "สารัชถ์ รัตนาวะดี" นายทุนพลังงาน "GULF"

การเมือง
13 มิ.ย. 66
16:43
9,454
Logo Thai PBS
อาณาจักรแสนล้าน "สารัชถ์ รัตนาวะดี" นายทุนพลังงาน "GULF"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปี 2564 "กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ" ธุรกิจพลังงาน ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของไทยปิดดีลแสนล้านซื้อหุ้น INTUCH ทำให้ บมจ.กัลฟ์ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และการเปิดขายหุ้นกู้ให้กับประชาชนทั่วไปในปี 2565 ยิ่งทำให้บริษัทนี้น่าจับตามองเพิ่มขึ้นอีก

ดังไม่ทันตั้งหลักเมื่อมีการขุดข้อมูลผู้ถือหุ้น ITV และพบชื่อ สารัชถ์ รัตนาวะดี เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และเป็นเจ้าของกลุ่มทุนพลังงานรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นาม GULF 

หลังเรียนจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ปริญญาโท ด้านการบริหารจัดการวิศวกรรม จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

"สารัชถ์ รัตนาวะดี" ที่ขณะนั้นอายุเพียง 29 ปี ก่อตั้ง "บริษัท กัลฟ์ อิเล็คตริก จำกัด" ในปี 2537 เพื่อประกอบธุรกิจพลังงานไฟฟ้า โดยเขาดำรงตำแหน่ง "กรรมการผู้จัดการใหญ่"

อ่าน : รู้จัก “สารัชถ์ รัตนาวะดี” CEO กัลฟ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ INTUCH

สารัชถ์ค่อยๆ สร้างอาณาจักรธุรกิจพลังงานขึ้นมา ด้วยการจัดตั้งบริษัทอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้คำว่า "กัลฟ์" นำหน้า ได้แก่

  • บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (2539)
  • บริษัท กัลฟ์ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (2539)
  • บริษัท กัลฟ์ ยะลา กรีน จำกัด (2540)
  • บริษัท กัลฟ์ ไอพีพี จำกัด (2547)

การก่อตั้ง "กัลฟ์" เกิดขึ้นในช่วงปี 2537 ที่รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงาน จากที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างโรงไฟฟ้า เองทั้งหมด

มาเป็นให้เอกชนสร้างโรงไฟฟ้า แล้ว กฟผ.จะรับซื้อจากผู้ผลิตเอกชนอิสระรายใหญ่ (Independent Power Producer - IPP) เพื่อให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้เพียงพอ และลดการลงทุนของภาครัฐ

โครงการ IPP ที่กลุ่มกัลฟ์เริ่มเดินหน้าในช่วงแรก ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด กัลฟ์ผิดหวังจากโครงการ "โรงไฟฟ้าบ่อนอก" อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพราะถูกชาวบ้านในพื้นที่คัดค้านอย่างหนัก กระทั่งมีการปิดถนนเพชรเกษม

กัลฟ์ยอมถอย และเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ต่อรองขอย้ายที่ตั้งโรงไฟฟ้าจากบ่อนอกไปที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี แทน เป็นจังหวะเดียวกับที่รัฐบาล โดย ปตท.ต้องการนำก๊าซธรรมชาติเข้าจากเมียนมา และหาโรงไฟฟ้ารองรับ

จากนั้นกลุ่มกัลฟ์ เดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าและขายให้กับภาครัฐมาตลอด ทั้งโรงไฟฟ้าแก่งคอย จ.สระบุรี, โรงไฟฟ้าสมุทรปราการ, โรงไฟฟ้าหนองแค เป็นต้น

ปัจจุบัน กลุ่มกัลฟ์มีโรงไฟฟ้าซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติ ทั้งที่ให้บริการเชิงพาณิชย์และและอยู่ระหว่างก่อสร้าง ในประเทศไทยกว่า 25 โรง และในต่างประเทศ ได้แก่ โอมาน เวียดนาม เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และ ลาว 

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Jackson Generation ที่ GULF เข้าถือหุ้น 49% มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Jackson Generation ที่ GULF เข้าถือหุ้น 49% มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Jackson Generation ที่ GULF เข้าถือหุ้น 49% มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท

ในปี 2554 สารัชถ์ก่อตั้ง "บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด" เพื่อทำธุรกิจ Holding Company หรือธุรกิจถือหุ้นบริษัทต่างๆ ในเครือ พร้อมกับขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป หรือ IPO ในราคาหุ้นละ 45 บาท ช่วง ธ.ค.2560

เพื่อระดมเงินทุน 24,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนทำให้ กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดติด 10 อันดับแรกของไทยหลายปีติดต่อกัน

อ่าน : เด็ด "พิธา" สะเทือน "สารัชถ์" ปมหุ้น ITV สู่ GULF ทุนพลังงาน

และทำให้ชื่อของ "สารัชถ์" ติดโผมหาเศรษฐีไทยจากนิตยสารฟอร์บส เป็นครั้งแรกในปี 2561 ในอันดับ 7 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 106,000 ล้านบาท 

GULF อาณาจักรแสนล้าน 

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) เป็นบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) และเป็นบริษัทพลังงานและสาธารณูปโภคชั้นนำ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเทพฯ

กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ ลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่ง รวมถึงธุรกิจดิจิทัล โดยมีโครงการในหลายประเทศ ใน 3 ทวีป ก่อตั้งขึ้นในปี 2554 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2560 

ผู้บริหาร GULF ประกอบด้วย 

  1. สารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  2. พรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  3. บุญชัย ถิราติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  4. รัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  5. ยุพาพิน วังวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน
  6. บังอร สุทธิพัฒนกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวางแผนองค์กร
  7. รวิ กูรมะโรหิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจต่างประเทศ
  8. วรพงษ์ วิวัฒน์วานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาโครงการ
  9. สมิทธ์ พนมยงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารสินทรัพย์ธุรกิจในเครือและการลงทุน
  10. ธนญ ตันติสุนทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์กร
  11. จิรภัทร อาจละกะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานวิศวกรรม
  12. สุพร หลักมั่นคง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานองค์กรสัมพันธ์
  13. โอฬาร ศรีวรัฏฐา ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายบัญชี

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 

ข้อมูลหลักทรัพย์และผู้ถือหุ้น-หุ้นสามัญ

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) มีหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารทุนประเภทหุ้นสามัญ ซึ่งออกโดยบริษัท จำนวน 11,733,149,998 หุ้น

มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท

ทั้งนี้ รายชื่อผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรกของบริษัทมีดังนี้

  1. กลุ่ม สารัชถ์ รัตนาวะดี จำนวน 8,632,434,119 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 73.57
    • สารัชถ์ รัตนาวะดี จำนวน 4,171,077,797 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 35.55
    • นลินี รัตนาวะดี (คู่สมรส สารัชถ์) จำนวน 23,100,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.20
    • บริษัท กัลฟ์ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 570,054,777 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 4.86
    • Gulf Capital Holdings Limited จำนวน 2,626,240,498 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 22.38
    • Gulf Investment and Trading Pte. Ltd. จำนวน 1,241,961,047 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 10.59
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 482,030,064 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 4.11
  3. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 220,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.88
  4. South East Asia UK (Type C) Nominees Limited จำนวน 153,812,937 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.31
  5. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 145,539,022 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.24
  6. สำนักงานประกันสังคม จำนวน 102,738,140 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.88
  7. บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) จำนวน 101,271,300 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.86
  8. State Street Europe Limited จำนวน 77,454,701 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.66
  9. กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวน 33,625,075 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.29
  10. กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 33,625,075 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.29

    รวมทั้งหมด 9,982,530,433 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 85.08

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565

ธุรกิจของ GULF

GULF ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ซึ่งแบ่งการดำเนินธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. ธุรกิจพลังงาน ประกอบด้วยธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจให้บริการที่เกี่ยวข้องของกลุ่มบริษัท ธุรกิจ โดยการลงทุนพัฒนาก่อสร้างและดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้า ทั้งโรงไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับภาครัฐ หรือผู้รับซื้อไฟเอกชนที่มีความมั่นคง ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนพัฒนา ก่อสร้าง และดำเนินการธุรกิจก๊าซ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่มีความสำคัญต่ัอการผลิตไฟฟ้าของบริษัท รวมถึงของประเทศไทย

  2. พลังงานหมุนเวียนและธุรกิจก๊าซธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เน้นโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล ในด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน, การเชื่อมต่อการเดินทางและด้านเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
     
  3. ธุรกิจดิจิทัล มีการศึกษาและลงทุนในธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลมากขึ้น เพื่อตอบรับกระแสของการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยปัจจุบัน บริษัทมีการลงทุนในธุรกิจดิจิทัล เช่น การถือหุ้น INTUCH และ THCOM ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 บริษัท มีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ INTUCH และ THCOM โดย ถือหุ้น INTUCH อยู่ในสัดส่วนร้อยละ 46.6 และถือหุ้น THCOM ในสัดส่วนร้อยละ 41.1 
ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2565 GULF มีสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธ.ค2565 เท่ากับ 418,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55,498 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3) จาก 31 ธ.ค.2564

อ่าน : ก่อนจะมาเป็น “อินทัช โฮลดิ้งส์” ผู้ถือหุ้นใหญ่ ITV

เมื่อดูส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม INTUCH ที่เป็นประเด็นร้อนขณะนี้ พบว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไร Core Profit จากบริษัทร่วม INTUCH ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ที่ 1,085 ล้านบาท และในทั้งปี 2565 อยู่ที่ 4,467
ล้านบาท 

ที่มา : รายงานประจำปี 2565 บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง