ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เลือกตั้ง2566 : วิเคราะห์ เสียงส.ว.กำลังตีกลับ “หนุนพิธา”

การเมือง
18 พ.ค. 66
15:26
2,190
Logo Thai PBS
เลือกตั้ง2566 : วิเคราะห์ เสียงส.ว.กำลังตีกลับ “หนุนพิธา”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เสียงชัดจากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ว่าที่นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 มั่นใจและเดินหน้าตั้งรัฐบาล 8 พรรค 313 เสียง สองวันติดต่อกัน ทั้งวันหารือวันแรก และวันแถลงข้อตกลงร่วมกัน 3 ข้อ หนุนนายพิธาเป็นนายกฯ

เป็นการตอกย้ำความคืบหน้าไปอีกขั้นของการตั้งรัฐบาล ที่มีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำ ด้านหนึ่งด้วยมั่นใจในพลังของประชาชนที่แสดงฉันทามติ 14 พ.ค.2566 และอีกด้านหนึ่งเชื่อว่า สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ที่เป็นด่านหินสำคัญในการโหวตเลือกนายกฯ จะไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่า ไม่กล้าหักหาญมติของประชาชน

หลังจากใจชื้นขึ้นเปราะหนึ่ง เมื่อนายศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกฯ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ย้ำว่า มี ส.ว.อย่างน้อย 75 คน พร้อมจะโหวตให้พรรคนายพิธา แต่ยังจะมีปัจจัยสำคัญรออยู่ข้างหน้าอีกหนึ่งคือ เรื่องถือหุ้นไอทีวี

สอดคล้องกับ ส.ว.อีกหลายคน ที่เริ่มทยอยออกมาแสดงท่าที พร้อมโหวตให้หัวหน้าพรรคก้าวไกล แต่ยังไม่สามารถสรุปจำนวนที่แน่ชัดได้ แต่เมื่อ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุชัดว่า เขาได้ทำหน้าที่เจรจากับ ส.ว.บางส่วน เพื่อให้ช่วยสนับสนุนนายพิธาอีกแรงหนึ่ง

ปรากฏว่า มี ส.ว.หลายคนรับปากจะช่วยโหวตสนับสนุน อีกหนึ่งคนที่พูดในทำนองเดียวกัน คือช่วยเจรจากับ ส.ว.ที่รู้จักมักคุ้นให้ทางช่วยพูดชักชวน ส.ว.คนอื่นคือ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย

นำไปสู่ตัวเลขประมาณการที่มีการเผยแพร่ผ่านหน้าสื่อ มี ส.ว.ประมาณ 20-30 คนแล้ว ที่พร้อมโหวตให้นายพิธา และเชื่อว่าจะมีทยอยเพิ่มขึ้นจากนี้ไป กระทั่งถึงวันประชุมรัฐสภาโหวตเลือกนายกฯ

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค้าวไกล จับมือกับพรรคการเมือง 7 พรรค แถลงจัดตั้งรัฐบาล วันที่ 18 พ.ค.2566

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค้าวไกล จับมือกับพรรคการเมือง 7 พรรค แถลงจัดตั้งรัฐบาล วันที่ 18 พ.ค.2566

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค้าวไกล จับมือกับพรรคการเมือง 7 พรรค แถลงจัดตั้งรัฐบาล วันที่ 18 พ.ค.2566

แม้จะมี ส.ว.อีกส่วนหนึ่ง แสดงท่าทีไม่สนับสนุนอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว.ที่เคยประฝีปากกลางสภากับ ส.ส.พรรคก้าวไกลมาหลายครั้ง และถูกมองว่า ยืนอยู่ข้างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสมอมา

โดยตอกย้ำว่า คนจะเป็นนายกฯ ต้องมีคุณสมบัติรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งพุ่งเป้าโจมตีไปที่จุดด้อย และเป็นจุดโหว่สำคัญของพรรคก้าวไกล รวมทั้งสาเหตุเรื่องมักพูดจาแข็งกร้าวใส่ ส.ว. และหวังปิดสวิตช์ ส.ว. มาตลอด เมื่อถึงวันหนึ่ง กลับจะขอเสียงส.ว.โหวตให้ได้อย่างไร

ขณะที่นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกวุฒิสภา แม้จะออกตัวพร้อมโหวตให้ฝ่ายที่มีเสียงข้างมากในสภา แต่ได้แนะนำให้ ส.ส.ไปรวบรวมเสียงกันเองให้ได้ครบ 376 เสียงจะดีกว่า ไม่ควรหวังพึ่งส.ว. เพราะส่วนใหญ่จะโหวตไปในทางเดียวกัน และที่เป็นอิสระจริง ๆ มีไม่ถึง 20 คน

แม้อาจเป็นคำพูดที่ไม่ระรื่นหูสำหรับพรรคก้าวไกล และและกองเชียร์ แต่ในทางกลับกันไม่อาจมองข้ามความเป็นจริงไปได้ เพราะเมื่อย้อนกลับไปดูผลโหวตของ ส.ว.ชุดปัจจุบันในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะไปในทางเดียวกัน ไม่แตกแถว

แม้แต่เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งพรรคก้าวไกล เพื่อไทย และประชาชาติ ที่พยายามยื่นร่างแก้ไขหลายครั้งหลายฉบับ รวมทั้งประเด็นปิดสวิตช์ ส.ว. แต่ไม่เคยผ่านด่านสภาฯ ได้เลย ตั้งแต่วาระแรกด้วยซ้ำ

แต่เพราะกระแสที่ตีกลับ ส.ว.บางส่วนที่ยังหวังไปต่อบนเส้นทางการเมือง ต้องชั่งใจและคิดคำนวณผลได้ผลเสียใหม่ ผลที่ออกมาจึงถูกคาดหมายว่าจะเป็นในเชิงบวกต่อพรรคก้าวไกลมากกว่าเชิงลบ

หรือหากท้ายที่สุด ไม่มีทางเลือกอื่น พรรคก้าวไกลยังมีไพ่เด็ด พร้อมดึงพรรคการเมืองที่ 9 ที่น่าจะมีจำนวน ส.ส.มากหน่อย เข้าเสริมทัพ ปิดช่องโหว่นี้ได้

วิเคราะห์ : ประจักษ์ มะวงศ์สา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลือกตั้ง2566 : "เสรีพิศุทธิ์" กังวลเสียง ส.ว. ช่วยคุยรุ่นพี่รุ่นน้องโหวตหนุน "พิธา"

เลือกตั้ง2566 : เพื่อไทยเห็นร่าง MOU ก้าวไกลแล้ว รับบางข้อยังเห็นแย้ง

เลือกตั้ง2566 : รู้จักพรรคม้ามืด "เพื่อไทรวมพลัง" ร่วมจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง