ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

2 เดือนแกะรอยเวียดนามซุกป่าภูเขียว 1 เดือนหา "ไม้กฤษณา"

สิ่งแวดล้อม
20 มี.ค. 66
10:42
635
Logo Thai PBS
2 เดือนแกะรอยเวียดนามซุกป่าภูเขียว 1 เดือนหา "ไม้กฤษณา"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุทยานฯ เปิดเส้นทางจับชาวเวียดนาม 6 คนลอบเก็บหาไม้กฤษณาในป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ แกะรอย 2 เดือนพบตีตั๋วผ่านทางด่าน ตม.ถูกกฎหมาย สารภาพซุกป่านาน 1 เดือนใช้แค่มีดลอบทำไม้ ส่งขายเวียดนามกก.ละ 5,000 บาท

วันนี้ (20 มี.ค.2566) นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา กรมอุทยานฯ สนธิกำลังร่วมกับตำรวจ ฝ่ายปกครอง สามารถจับกุมชาวเวียดนาม 6 คนลักลอบเข้าทำไม้กฤษณาข้ามชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิหลังจากมีการรับแจ้งเบาะแส และมีการติดตามความเคลื่อนไหวมาเกือบ 2 เดือน ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ขยายผลเพิ่มเติม 

การจับกุมครั้งนี้ทางภูเขียว แกะรอยมา 2 เดือนหลังจากจับชาวเวียดนามคนแรกได้ และขยายผลพบว่าอีก 6 คนนี้ยังแอบลักลอบอยู่ในป่าและหาไม้หอมในป่ารวบรวมจนได้ปริมาณมาก
ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ตีตั๋วข้ามแดนผ่านตม.ลอบหาไม้กฤษณา 

นายวิชานนท์ แสนผาลา หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนปฏิบัติการร่วมกันเกือบ 2 เดือน กระทั่งเมื่อเวลา 21.30 น.ชุดลาดตระเวนสามารถจับกุมชาวเวียดนาม 6 คน พร้อมรถยนต์ 2 คัน และชิ้นไม้กฤษณา 173 กิโลกรัม อุปกรณ์ที่ใช้ในการ กระทำผิด ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ร่วมกันเก็บหาไม้กฤษณาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ และนำส่งตำรวจดำเนินคดีใน 8 ฐานความผิด ภายใต้พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

ก่อนหน้านี้ในป่าภูเขียว เคยมีกลุ่มคนไทยจากพื้นที่แถวสระแก้ว และชาวกัมพูชาลอบเข้ามาหาไม้กฤษณา แต่ในช่วงปี 2551-52 เปลี่ยนเป็นคนเวียดนาม แต่ที่ผ่านมามักจะจับได้เป็นรายๆ ไปและหายไปนาน จนช่วงหลังโควิด-19 เริ่มกลับมาเคลื่อนไหว โดยปลายปี 2565 จับชาวเวียดนามได้ 1 คน จึงร่วมกับตำรวจและหลายหน่วยงานวางแผนแกะรอย กระทั่งได้ 6 คนตอนนี้ยังมีอีกหลายกลุ่ม

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

 

พบเข้ามาแบบถูกต้องตามกฎหมายผ่านด่าน ตม. แถวหนองคาย-นครพนม เข้าป่าภูเขียวในจุดที่ติดกับชุมชนที่มีระยะทางราว 200 กม.เข้าไปซุกในป่า 1 เดือน รูปแบบเปลี่ยนไปจากเดิมเคยมีคนไทยนำทาง ตอนนี้เข้าพื้นที่เอง 

หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว กล่าวอีกว่า จากการสอบสวนพบว่ากลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่มวิ่ง เข้าหาไม้ในป่าภาคอีสานและภาคเหนือมาระยะหนึ่ง เวลาเข้าป่าครั้งหนึ่ง เขาอยู่ได้ คราวละ 45 วันใช้เวลาในพื้นที่ป่า ที่ชำนาญเส้นทางที่เข้าป่าเพราะเคยมีชาวเวียดนามที่เคยเข้ามาและหลบหนีการจับกุมไปได้ 

ชุดที่เข้าไปรอบนี้ไม่ได้ตัดเนื้อไม้กฤษณาจากต้นใหม่ แต่เก็บจากตอเก่า อุปกรณ์ที่ทำไม้มีเพียงมีด จากเดิมที่จะใช้ขวาน เพื่อลดเสียงดัง และขายราคากลางป 5,000 บาทเอาไปขายให้พ่อค้าชาวเวียดนาม และเอาข้ามแดนไป แต่ยังไม่รู้ว่าเอาไปได้อย่างไร และไม่รู้ว่าได่ข้อเท็จจริงมากแค่ไหน
ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้จัดทำบันทึกจับกุม และนำตัวผู้กระทำผิดและของกลางกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ทั้งนี้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการสืบสวนหาข้อมูลกลุ่มขบวนการดังกล่าวมาโดยตลอด จนกระทั่งสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดและตรวจยึดของกลางได้ดังกล่าว

แก่นกฤษณาราคาพุ่งสูง 200,000 บาท

สำหรับไม้หอมกฤษณา พบว่า เฉพาะแก่นกฤษณา ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200,000 บาท ขณะที่การสำรวจปี 2550 พบไทยมีไม้กฤษณาตามป่าอนุรักษ์กว่า 397,000 ต้น ที่ผ่านมาสถานการณ์ลักลอบเคยรุนแรงในพื้นที่เขาใหญ่ แถวพื้นที่ปราจีนบุรี รวมทั้งในพื้นที่ภาคอีสาน 

ทั้งนี้กลุ่มงานสำรวจทรัพยากรป่าไม้ กรมอุทยานฯเคยสำรวจเมื่อปี 2550 พบมีต้นกฤษณา 397,411 ต้น กระจายอยู่ในป่าอนุรักษ์ ทั้งเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า รวม 24 แห่ง พบมากที่สุดในแถบภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทำไม “กฤษณา” ไม้หอมยังมีราคาแพง และไม่เสื่อมความนิยม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง