กรณีท่อบรรจุสารซีเซียม-137 จากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำที่ จ.ปราจีนบุรี หายปริศนา และมีข้อกังวลว่าจะถูกนำไปกำจัดไม่ถูกวิธี มีผลกระทบต่อสุขภาพ และปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
วันนี้ (14 มี.ค.2566) เวลา 15.00 น. นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และผู้แทนจากโรงไฟฟ้า ร่วมแถลงข้อมูลกรณีวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 หายออกไปจากโรงไฟฟ้า อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
นายณรงค์ กล่าวว่า หลังจากทราบว่าท่อบรรจุสารซีเซียม-137 วัสดุกัมมันตรังสี หายไป แจ้งประชาสัมพันธ์ชาวบ้าน และร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ให้ช่วยสังเกตและตรวจสอบท่อเหล็กดังกล่าวให้แจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
อยากให้เจอเร็วที่สุด เพราะกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพได้ ถ้าพบท่อเหล็กขนาด 5 ยาว 8 นิ้ว และหนัก ถ้าพบเจอให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
ส่วนนายกิตติพันธ์ จิตต์เป็นธรรม ผู้แทนบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 A จำกัด ระบุว่า สารซีเซียม-137 วัสดุกัมมันตรังสี ติดตั้ง 14 ชิ้น ห่อหุ้มด้วยท่อเหล็กกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม ใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับของขี้เถ้าในไซโลของโรงไฟฟ้า ติดตั้งใช้งานเมื่อปี 2538
ที่รู้ว่าหายไปเพราะวันที่ 10 มี.ค.นี้ ตามตารางต้องตรวจสอบดูว่ามีระดับรังสี จึงพบว่าหายจากตำแหน่งไป และเริ่มหาในพื้นที่ใกล้เคียง ยืนยันในโรงงานมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด แต่ไม่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ บุคลภายนอกเข้าไปแต่ต้องมีบัตร ไม่แน่ใจชัดเจน
นอกจากนี้ บริษัทฯ เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สภ.ศรีมหาโพธิ โดยห่วงว่าจะเป็นอันตรายถ้ามีผู้ไปสัมผัส เพราะถือเป็นสารอันตราย พร้อมตั้งรางวัลนำจับไว้ 50,000 บาท สำหรับผู้ชี้เบาะแสจนนำไปสู่การติดตามกลับคืนมา
ขณะนี้ได้ปูพรมในการค้นหา และติดตามอย่างต่อเนื่อง และจะขยายพื้นที่ออกไป แต่ในโรงงานได้มีการติดตามประสานและบุคลากรสอบสวนข้อเท็จจริงกับพนักงาน
ปูพรมร้านของเก่า-โรงหลอมเหล็กเชื่อมีคนนำออก
ขณะที่นายเพิ่มสุข กล่าวว่า ทางโรงงานขออนุญาตครอบครองสารซีเซียม-137 มาตั้งแต่ปี 2538 และท่อดังกล่าวมีความแข็งแรงมาก เนื่องจากภายในจะบรรจุแท่งโลหะ และบรรจุด้วยสารซีเซียม-137 แบบช็อตๆ
ค่ารังสีความแรงเท่าครึ่งช้อนกาแฟ 80 มิลลิคูรี (mCi) และมีฮาฟไลฟ์ 30 ปี แต่ถ้าหิ้วออกไปในแท่งยังมีความปลอดภัยได้ แต่อย่าไปผ่าจะเจอซีเซียม-137 และถ้าเจอโดยตรงนำสารซีเซียม มาเล่นจะป่วยร้ายแรง และเป็นมะเร็ง
นายเพิ่มสุข กล่าวว่า การรักษาความปลอดภัยในการบรรจุสารซีเซียม-137 มีการออกแบบให้รองรับแรงตกเท่ากับตึก 5 ชั้นจะไม่เป็นอะไรเลย และเรื่องนี้เชื่อว่าต้องมีคนหิ้วออกไปแน่นอน
อยากแจ้งเตือนว่าอย่ารับซื้อของเก่าจากคนที่นำไป คนรับซื้ออย่าซื้อต้องแจ้งหน่วยงานรัฐทันที รวมทั้งปูพรมโรงหลอมเหล็กในพื้นที่ 40 แห่งในจังหวัดและใกล้เคียง เพราะห่วงว่าจะเอาเหล็กไปหลอม
เป็นผู้เชี่ยวชาญ ระยะปลอดภัย 1-2 เมตร ระดับรังสีจะปลอดภัยไม่ส่งผลกระทบกับผู้ที่อยู่ใกล้ แต่ถ้ามีการสัมผัสจะมีผื่นแดง ได้ปูพรมในการค้นหา และติดตามอย่างต่อเนื่องและจะขยายพื้นที่ออกไป แต่ในโรงงานได้มีการติดตามประสานและบุคลากรสอบสวนข้อเท็จจริงกับพนักงาน
ในกรณีที่หาไม่เจอ ในออสเตรเลียที่เคยมีเคสหายระหว่างทางหาเจอง่าย แต่รอบนี้มาจากคนที่เคลื่อนย้ายไป ต้องตามหาคนให้เจอ ทุกอย่างจะจบและโรงงานที่มีระบบควบคุมความปลอดภัยมีรปภ.มีกล้องวงจรปิด ต้องหาให้เจอ ถ้าโยนทิ้งน้ำตรวจหารังสีไม่เจอ
ความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารกัมมันตรังสีซีเซียม
ข้อมูลจากสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ซีเซียม-137 (Caesium-137) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร หรือไอโซเมอร์ของแบเรียม-137
ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง แบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้รังสีแกมมา โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาที ซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล
โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร ใช้ในด้านรังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีการใช้ซีเซียม-137 สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี เกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก จึงมีการใช้โคบอลต์-60 ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่า
นอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้ว ยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า การนำมาใช้งาน เราจะพบซีเซียม-137 ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้น เครื่องวัดอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน
ซีเซียม สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเป็นสาร ประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม และรูบิเดียม
เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์
ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรกินปรัสเซียนบลู ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
การควบคุมดูแลซีเซียม-137 ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมพอ อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของไอโซโทปรังสี และเกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ กรณีตัวอย่างที่ทราบกันดี ได้แก่ อุบัติเหตุที่ Goiania accident ที่มีการทิ้งสาร กัมมัตรังสีจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ประเทศบราซิล ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนหลายคน
ซีเซียมที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา จะถูกเก็บอยู่ในภาชนะโลหะ อาจะถูกทิ้งปะปนไปกับโลหะเก่าและถูกนำไปหลอม ทำให้เกิดโลหะผสมที่มีกัมมันตภาพรังสี
ตัวอย่างได้แก่ อุบัติเหตุที่ Acerinox accident ในปี 1988 เมื่อบริษัท Acerinox ซึ่งดำเนินกิจการแปรรูปของเก่า ของสเปน ได้เกิดอุบัติเหตุโดยทำการหลอมซีเซียม-137 จากต้นกำเนิดรังสีแกมมา
ในปี 2009 บริษัทซีเมนต์ของประเทศจีน ในจังหวัด Shaanxi ได้รื้อโรงงานผลิตซีเมนต์เก่าที่เลิกใช้แล้ว โดยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานกับสารรังสี ทำให้ซีเซียม-137 บางส่วนที่ใช้ในเครื่องมือตรวจวัดซีเมนต์ ถูกส่งไปหลอมรวมไปกับโลหะที่ไม่ใช้แล้ว 8 คันรถที่โรงงานหลอมเหล็ก