ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

บุหรี่ไฟฟ้า? สินค้าต้องห้ามครอบครองผิดกฎหมาย

สังคม
1 ก.พ. 66
14:18
8,591
Logo Thai PBS
บุหรี่ไฟฟ้า? สินค้าต้องห้ามครอบครองผิดกฎหมาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กางเหตุผล "บุหรี่ไฟฟ้า" สินค้าต้องห้ามครอบครอง นำเข้า ผิดกฎหมายหลายฉบับในไทย โทษส่งออกจำคุกไม่เกิน 10 ปีปรับเงิน 5 เท่า นำเข้าโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 500,000 บาท

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ค้นหาคำตอบข้อถกเถียงปมดาราสาวไต้หวัน หลังจากมีข้อมูลที่ออกมาไม่ตรงกันเรื่องการครอบครอง "บุหรี่ไฟฟ้า" และการส่งให้เธอ เพื่อแลกกับเงินจำนวน 27,000 บาท

ข้อสงสัยในมุมของกฎหมาย ชัดเจนว่าการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ถือเป็นผิดตามกฎหมายหรือไม่ ? พบว่า กระทรวงยุติธรรม ระบุว่าการขายบุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมาย 

ทั้งนี้ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มาตรา 29/9 มาตรา 56/4 และคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 ลงวันที่ 28 ม.ค.2558

การจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดฐาน “ฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งห้ามขาย หรือห้ามให้บริการบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า” ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หรือเรียกกันได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าต้องห้าม

สอดคล้องกับข้อมูลของกรมศุลกรกร หากมีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานที่สาธารณะที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ เช่น ในโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ถือว่าฝ่าฝืน มาตรา 42 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

และสำหรับกรณีของผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ซื้อ รับไว้ หรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ทั้งที่รู้อยู่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นของที่ห้าม นำเข้ามาประเทศไทย ต้องถือว่ามีความผิดเช่นกัน ซึ่งหากถูกจับกุมดำเนินคดีต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 246 พ.ร.บ.ศุลกากร
พ.ศ.2560 ซึ่งมาตรการทางกฎหมายเหล่านี้ของ ประเทศไทย ถือว่าสอดคล้องกับนโยบายและมาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในหลายประเทศทั่วโลก  

ในปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ยังคงเป็นของต้องห้ามในประเทศไทย โดยถูกจัดว่าผิดกฎหมาย และห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557 ภายใต้ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ปัจจุบันผู้ฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมถูกริบสินค้า

และพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 244 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดนำเข้าของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการทางศุลกากรเข้าในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำเลียงโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ซึ่งความผิดที่ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งของที่มิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจะได้รับคือ ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิด

ภาพ:กรมศุลกากร

ภาพ:กรมศุลกากร

ภาพ:กรมศุลกากร

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

ข้อมูลจาก นพ.จตุภัทร คุณสงค์ ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายถึง บุหรี่ไฟฟ้าว่า เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อน และไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป

ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่ ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และน้ำยา ถ้ากล่าวถึงเฉพาะส่วนของน้ำยาที่จะถูกทำให้เป็นไอและเข้าสู่ร่างกายของผู้สูบจะประกอบด้วยสารประกอบหลัก ๆ คือ

  • นิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่ปกติทั่วไป เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่
  • โพรไพลีนไกลคอล เป็นส่วนประกอบในสารสำหรับการทำให้เกิดไอ
  • กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้นที่จะผสมผสานกับสารโพรไพลีนไกลคอล

องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า เมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย เช่นเดียวกันกับโพรไพลีนไกลคอล

สารแต่งกลิ่นและรส เป็นสารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

อ่านข่าวเพิ่ม แจ้ง ม.157 ตำรวจ 7 นายละเว้นปฏิบัติหน้าที่คดีดาราสาวไต้หวัน

บุหรี่ไฟฟ้าเสพติดหรือไม่?

แน่นอนว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด ดังนั้นการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจึงทำให้ผู้สูบ “ติด” ได้ไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา นอกจากนี้รูปแบบและขั้นตอนในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็มีความใกล้เคียง กับการสูบบุหรี่ธรรมดามาก ทำให้ผู้สูบยังคงติดในพฤติกรรมการสูบเหมือนบุหรี่ธรรมดา

ข้อมูลจาก พญ.นันทนัช วุฒิไกรวิทย์ และ นพ.อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา
หน่วยโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติการหายใจ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยระบุว่า 

  • นิโคติน เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่ ดังนั้นบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • โพรไพลีนไกลคอล
  • กลีเซอรีน หากสูดดมอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองปอดได้ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหอบหืด
  • สารประกอบอื่นๆสารแต่งกลิ่นและรส โทลูอึน เบนซีน นิกเกิล โคบอลต์ โครเมียม ตะกั่ว

แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เกิดมะเร็งปอด แต่มีหลักฐานยืนยันว่าเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา "ชูวิทย์" เตรียมเปิดเส้นทางตั้งด่านรีดเงินบ่าย 2 วันนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง