ย้ายพื้นที่ ? ทางแก้ "คนกรุงเก่า" จำยอมรับน้ำแทน "คนกรุง"

สังคม
6 ก.ย. 67
21:02
1,162
Logo Thai PBS
ย้ายพื้นที่ ? ทางแก้ "คนกรุงเก่า" จำยอมรับน้ำแทน "คนกรุง"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วม ชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มต่ำ ต้องเสียสละรับน้ำนาน 2-3 เดือน ชาวบ้านบอกต้องอยู่ใน "สภาวะจำยอม" รับน้ำแทนคนกรุงฯ ปัญหานี้ทำให้หน่วยงานด้านน้ำ เสนอทางเลือกเพื่อลดผลกระทบ คือ การย้ายบ้านเรือนออกจากพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก

วันนี้ (6 ก.ย.2567) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการด้านน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. หนึ่งในข้อเสนอเพื่อเป็นทางเลือกแก้ไขปัญาน้ำท่วมซ้ำซาก คือ การย้ายชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ไปอยู่พื้นที่อื่น แต่ต้องสำรวจความคิดเห็นแต่ละครอบครัว

และรัฐบาลต้องจัดงบประมาณเยียวยาชาวบ้านให้เหมาะสม หลังเกิดกรณีชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ระบุว่าต้องอยู่ใน "สภาวะจำยอม" รับน้ำแทนคนกรุงฯ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากน้ำเหนือทุกปี

แนวทางเบื้องต้นคือ ย้ายพวกเขาออกจากพื้นที่ไหม ไม่ได้บังคับ แต่ให้รัฐไปเสนอทางเลือก ว่าในพื้นที่แบบนี้ ท่วมทุกปี ท่วมแน่นอน ท่วมแบบไม่ต้องลุ้น เพราะยังไงก็ท่วม

ถ้าหากรัฐมีพื้นที่ที่ดี ที่สามารถจัดการให้เขาได้ หรือสนับสนุนเงินงบประมาณในการย้ายที่อยู่ ที่ความเสี่ยงต่ำกว่า แบบนี้มีใครที่จะยกมือไปบ้าง

หรือถ้าไม่ต้องการย้ายจริง ๆ ก็ดีดบ้านขึ้น แต่ทุกวันนี้ก็ดีดบ้านชาวบ้านจนไม่ไหวแล้ว แต่ถ้าชาวบ้านจะเลือกทางนั้นก็ได้ 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

สอดคล้องกับความเห็นของ รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญ IPCC ระบุว่าสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้ อาจรุนแรงมากกว่าปี 2565 แต่การเจรจาต่อรองผันน้ำเข้าทุ่งรับน้ำก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นทางเลือกเสนอย้ายชาวบ้านที่มีความพร้อม ออกจากพื้นที่ท่วมซ้ำซาก เพื่อนำพื้นที่มาเป็นแก้มลิง อาจเป็นวิธีสุดท้ายที่ทำยาก แต่รัฐบาลควรนำมาทบทวน

รัฐบาลต้องลองพูดคุย ถ้าให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ที่ใหม่และให้เงินเพิ่ม เงื่อนไขดีหรือไม่ และรัฐบาลก็จะได้พื้นที่ตรงนั้นมาเป็นแก้มลิงเพิ่มอีก การเจรจาแบบนี้ต้องคุยกันตอนที่ชาวบ้านสงบ อารมณ์ดี แต่ก็เข้าใจว่าชาวบ้านก็รักพื้นที่ของตัวเอง อาจมีบางคนยอมไปเพราะเศรษฐกิจไม่ดี 

ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ย้ำว่าหลังจากนี้ภัยพิบัติจะรุนแรงมากขึ้นทุก 10 ปี สิ่งก่อสร้าง พนังป้องกันน้ำท่วมอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงต้องเร่งหาวิธีเตือนภัยที่แม่นยำ เพื่อลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในอนาคต

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อ่านข่าว :

ซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ยางิ" ขึ้นเกาะไห่หนาน คาดรุนแรงสุดรอบ 10 ปีของจีน

น้ำท่วม “กว๊านพะเยา” สู่ภาวะปกติ รอบนอกยังจม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง