แชร์

Copied!

แอปฯ ดูดเงิน ! มิจฉาชีพส่ง QR Code ปลอม หลอกสแกนจ่ายค่าไฟ

22 พ.ย. 6707:21 น.
แอปฯ ดูดเงิน ! มิจฉาชีพส่ง QR Code ปลอม หลอกสแกนจ่ายค่าไฟ

สารบัญประกอบ

    เตือนภัย ! มิจฉาชีพได้โทร.มาหลอกว่าจะทำการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า และจะคืนเงินให้เป็นจำนวน 4,500 บาท แต่ให้เหยื่อจ่ายค่าไฟฟ้าที่ค้างไว้ก่อน โดยจะให้ทำการสแกน QR Code และทำตามขั้นตอนที่มิจฉาชีพบอก แต่เมื่อหลงเชื่อทำตาม

    เตือนภัย ! มิจฉาชีพได้โทร.มาหลอกว่าจะทำการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า และจะคืนเงินให้เป็นจำนวน 4,500 บาท แต่ให้เหยื่อจ่ายค่าไฟฟ้าที่ค้างไว้ก่อน โดยจะให้ทำการสแกน QR Code และทำตามขั้นตอนที่มิจฉาชีพบอก แต่เมื่อหลงเชื่อทำตาม พบว่ามีเงินออกไปเกินกว่ายอดที่มิจฉาชีพแจ้ง จนเกือบหมดบัญชี ทำให้เกิดความเสียหาย

    ซึ่งการที่เรากดลิงก์ หรือสแกน QR Code แล้วทำตามขึ้นตอนที่มิจฉาชีพบอกนั้น จะเป็นการติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน ที่มิจฉาชีพทำขึ้นมาให้มีความคล้ายกับแอปพลิเคชันของการไฟฟ้า และของธนาคารเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ จนทำให้สูญเงินได้

    Thai PBS Verify, Thai PBS Sci & Tech และตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเรียนแจ้งเตือนว่าประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพ หากมีการขอให้เปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า หรือให้การดำเนินการใด ๆ ที่จะต้องโอนเงินไป ให้ทำการตรวจสอบไปยังการไฟฟ้าก่อน โดยการโทร.กลับไปสอบถามยังการไฟฟ้าที่ใช้บริการอยู่โดยตรง หรือหากไม่แน่ใจสามารถสอบถามมายังศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (AOC) โทร. 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    รู้จัก 5 เทคนิครับมือมิจฉาชีพหลอกติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน

    ปัจจุบันมักมีผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพโทรหลอกลวงว่า “เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร” โดยให้กดรับเป็นเพื่อนในไลน์ปลอมของหน่วยงานนั้น ๆ แล้วหลอกให้กดลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของคนร้าย เพื่อหลอกให้ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน ซึ่งทำให้มิจฉาชีพสามารถรีโมตเพื่อจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายได้ Thai PBS Verify จึงแชร์วิธีการป้องกันและรับมือนั้น มีดังนี้

         - อย่าหลงเชื่อคนร้ายโทร.แอบอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ วิธีตรวจสอบคือ ให้ตัดสายทิ้งแล้วลองโทร.กลับทันที หากไม่สามารถติดต่อได้ หรือ ไม่มีผู้รับสาย ให้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นมิจฉาชีพ

         - ไม่กดลิงก์ จากช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น SMS, LINE, Messenger หรืออื่น ๆ

         - ไม่รับบุคคลที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเป็นเพื่อนในสื่อสังคมออนไลน์

         - ไม่ติดตั้งแอปฯ จากเว็บไซต์ ลิงก์ หรือ QR Code หากต้องการติดตั้งแอปฯ ให้เปิด Google Play หรือ App Store เพื่อค้นหาแอปฯ แล้วติดตั้งเองเท่านั้น

         - ไม่สแกนใบหน้า หากไม่ใช่แอปฯ ของทางธนาคาร

    หากโหลดแอปฯ แล้วถูกดูดเงินหรือโอนเงินออกจากบัญชี ทำได้ดังนี้

         - แจ้ง Call Center ธนาคารทันที
         - แจ้งความที่สถานีตำรวจ ได้ทุกแห่ง
         - แจ้งสายด่วน บช.สอท. โทร. 1441 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


    Thai PBS Verify เตือนภัย..ใกล้ตัว !

    📌อ่าน : ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีเช็ก "มือถือ" ถูกตั้งแอปฯ รีโมทดูดเงิน 

    📌อ่าน : สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ! “ไก่” ไม่ได้โตเร็ว เพราะใช้ฮอร์โมนเร่ง

    📌อ่าน : รวยผิดวิธี ไม่ถึง 10 ปี ได้เป็นผู้ต้องหา (ฉ้อโกงประชาชน, ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ)

    📌อ่าน : เตือน ! “เกรียนคีย์บอร์ด” โทษหนัก โพสต์เอาสนุกป่วนเมือง

    📌อ่าน : เตือนภัย ! SMS แนบลิงก์ปลอม หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว

    📌อ่าน : มิจฉาชีพ ! สินเชื่อหลอก บอกเป็นธนาคารชื่อดัง


    แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB), สมาคมธนาคารไทย, ธนาคารกรุงไทย

    ตรวจสอบข่าวปลอมคัดกรองข่าวจริงกับ Thai PBS Verify

    สารบัญประกอบ