ยุคนี้เป็นยุคที่การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ รวมไปถึงที่บ้านก็สามารถเกิดคลาสเรียนได้ เหมือนกับ 2 ครอบครัวนี้ คือครอบครัวทองสอดแสงที่ใช้สื่อใน Youtube เป็นอุปกรณ์ ฝึกให้ลูกพูดได้ 2 ภาษา และครอบครัวสวนในศีล ที่ใช้การเรียนรู้วิถีเกษตร โดยมีแปลงผักหน้าบ้านเป็นห้องเรียน ให้การเรียนรู้ของลูกตั้งต้นจากความสนุก มีความสุขในทุกสิ่งที่เขาทำ จึงเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
เมื่อป่าไม้บนดอยค่อย ๆ หายไป ชายหนุ่มชาวม้งคนหนึ่งจึงลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการปลูกกาแฟเพิ่มพื้นที่ป่า ทำให้ทุกกระบวนการของการทำกาแฟเกิดขึ้นได้บนดอย จนมีรายได้ตอบโจทย์ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และเป็นที่มาของการสร้างแบรนด์กาแฟบนดอยที่มีชื่อว่า กาแฟเดอม้ง กาแฟที่เห็นความสำคัญของทรัพยากรบ้านเกิด และต้องการที่จะสร้างความสุขอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป
เมื่อโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เด็กและครูต้องห่างไกลกัน เกิดเป็นโครงการ “รถพุ่มพวงชวนเรียนรู้” ที่คุณครูจะนำเอาอุปกรณ์ การเรียนการสอนเข้าไปหาเด็ก ๆ ถึงหน้าบ้าน สร้างการเรียนรู้ที่สนุก จับต้องได้ เป็นกันเอง นำโดย ครูตู้ สราวุฒิ พลตื้อ ที่จะพาเด็ก ๆ ออกไปปั่นจักรยานเรียนรู้ ศึกษาธรรมชาตินอกห้องเรียน และครูอ้อม ชุตินธร หัตถพนม ที่ขอพาเด็ก ๆ มาเรียนรู้เรื่องของการทำส้มตำ ร้อยพวงมาลัย การเรียนรู้ของเด็ก ๆ จากรถพุ่มพวงของคุณครูจะสนุกสนานแค่ไหน เด็ก ๆ จะได้อะไรจากการเรียนการสอนแบบนี้
จากหน้าที่พิธีกรสาวเก่งท่องโลก รายการสองข้างทาง Along Way Home “หลิว - อ้อมใจ ศรีชู” ทุกวันนี้เธอพักการเดินทางกลายมาเป็นคุณแม่ลูกหนึ่ง ที่เลือกแล้วว่าจะหยุดพักและใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย อยู่กับสามีชาวสเปนและลูกชายวัยกำลังน่ารัก ที่สวนมะพร้าวริมทะเล จ.ชุมพร โดยพยายามสร้างแหล่งอาหาร ทำสวนปลูกผัก เลี้ยงไก่เพื่อกินไข่ หาความรู้จากอินเทอร์เน็ตเพื่อนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ใช้เองในบ้าน บนเส้นทางและวิถีปฏิบัติที่แทบจะมองไม่เห็นความมั่นคงทางการเงิน แต่หลิวยืนยันว่านี่คือช่วงเวลาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและอิสรภาพ ที่มีจุดเริ่มต้นง่าย ๆ จากการพึ่งพาตนเอง
เรื่องราวของกลุ่ม “ปัถวีโมเดล” อ.ท่ามะขาม จ.จันทบุรี กลุ่มเกษตรกรชาวสวนที่ปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรแบบดั้งเดิม มาเป็นการทำสวนผลไม้อินทรีย์แบบ 100% สรรหาวิธีต่าง ๆ ทั้งการหมักปุ๋ยใช้เอง จัดตั้งธนาคารชันโรง ใส่ใจทุกอย่างตั้งแต่ดิน น้ำ อากาศ ผลผลิต ไปจนถึงมือผู้บริโภค ที่บอกได้เลยว่าเกษตรอินทรีย์สามารถทำได้ ขายได้ อยู่ได้จริง และมีความสุข
เมื่อมุมมองของคนในสังคมยังมองว่าอาชีพการเลี้ยงโคนม เป็นอาชีพที่ทั้งเหนื่อย ยาก ลำบาก แถมได้รายได้น้อย ทำให้เกษตรกรที่เป็นคนรุ่นใหม่ไม่หันกลับมาเลี้ยงวัวนม จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้คุณเบส ปฏิวัติ อินทร์แปลง เริ่มพัฒนาการเลี้ยงวัวของฟาร์มตัวเองให้ทันสมัยและครบวงจร ด้วยการเสริมเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดการทำงานที่ประสิทธิภาพ และสะดวกสบายต่อเกษตรกรฟาร์มโคนม
ใครจะเชื่อว่าพื้นที่แค่ 100 ตารางวา สามารถปลูกพืชได้ 300 กว่าชนิด แต่มันเกิดขึ้นจริง ที่สวนของตาลำพัน ชะเอม จังหวัดนครสวรรค์ ที่ปลูกพืชที่มีตัวอักษรตั้งแต่ ก-ฮ ท่องทั้งวันก็ยังไม่หมด และยังมีเคล็ดลับวิชาเซียนผักหวาน เพาะพันธุ์กล้าผักหวานขายทำเป็นอาชีพ ปลดหนี้ได้ และสร้างรายได้ตลอดทั้งปี
เมื่อชีวิตต้องพบเจอกับวิกฤตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า น้ำท่วม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว หรือแม้กระทั่งล่าสุดอย่างโรคระบาดโควิด-19 พันเอกแพทย์หญิงสุมล นาคเฉลิม อดีตข้าราชการทหารที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกร จึงเริ่มจัดการน้ำ จัดการดิน พลังงาน สร้างที่อยู่อาศัยและสร้างป่าอาหารบนพื้นที่ใน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี เพื่อรับมือกับภัยบัติที่จะเกิดขึ้น
จากคนไม่เคยสนใจเรื่องการเกษตรเลย "รัชศักดิ์ เพ็ชรหล้า" สจวร์ดหนุ่มเมืองลำปาง ก็เริ่มต้นศึกษาข้อมูลวิธีการจากอินเทอร์เน็ตรวบรวมองค์ความรู้และลงมือทำ รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นให้กับพ่อแม่และสร้างรายได้จากผลผลิต ด้วยการต่อยอดแปรรูปและขายออนไลน์ เมื่อลงมือทำจึงทำให้เขารู้ว่า นี่แหละคือ "ความสุขที่แท้จริง" ที่เขาต้องการ การได้ทำอะไรที่อยู่ใกล้ชิดพ่อแม่ ได้มีเวลาดูแลท่าน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเขาคือ "ครอบครัว"
ไปรู้จัก 2 ธุรกิจอาหารออนไลน์ที่เลือกใช้วิธีผูกปิ่นโต และสร้างกติกามอบส่วนลดแก่ลูกค้าทันที 10 บาท เมื่อใช้ภาชนะใช้ซ้ำ หวังเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดการภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก ให้มีปริมาณลดลง และกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมหันมาตระหนักและลงมือปฏิบัติจริงในการลดใช้พลาสติกครั้งเดียวแล้วทิ้ง