บัวหิมะ พืชทำเงินแห่งดอยอ่างขาง"พี่กุ้ง" สาวเหนือที่จากเดิมไปใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวง หลังเจอปัญหาพิษโควิด จึงทำให้ได้กลับมาใช้ชีวิตบนดอยบ้านเกิดของสามี โดยทำอาชีพเกษตรแบบพอเพียง และเลือกที่จะปลูกบัวหิมะ พืชที่ทำรายได้และยังแทบไม่ต้องดูแลอะไรมาก
มะกรูดตัดใบ อนาคต Soft Power ของไทย"พี่เคี้ยง" อดีตหนุ่มช่างจิวเวอร์รี่ที่เปลี่ยนตัวเองมาทำการเกษตรอย่างเต็มตัว โดยศึกษาและหาความรู้จนได้มาเจอกับการทำมะกรูดแบบตัดใบ ลองผิดลองถูกจนถือว่าประสบความสำเร็จไปอีกขั้น และสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวเป็นหลัก
"กระจับ" พืชเขาควายแห่งเมืองสุพรรณ"กระจับ" สุดยอดวัตถุดิบท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรี จากเดิมเป็นวัชพืชที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก "พี่จุ๋ม" ที่แต่เดิมบ้านทำไร่กระจับมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เขาได้ทำให้กระจับกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น
สะเดาทะวาย ขมนิดมันนัว อร่อยชัวร์"พี่ลักษณ์" อดีตทหารพรานป่าผู้ที่มีความฝันอยากทำเกษตรมาตั้งแต่เด็ก ได้เริ่มต้นทำเกษตรปลูกผักหลายอย่างตามความฝัน จนได้มาเจอกับ "สะเดาขาวผ่องทวาย"
"มะตูม" ปลูกครั้งเดียว เก็บเกี่ยวได้เป็นสิบปี"ลุงสละ" เกษตรกรรุ่นใหญ่ผู้ปลูกมะตูม แต่เดิมลุงสละทำเกษตรแบบผสมผสานและได้ปลูกต้นมะตูมไม่กี่ต้นโดยไม่คิดว่าจะขายได้ จนมีคนมาติดต่อขอซื้อลูกมะตูมสดทำให้ลุงสละเริ่มคิดขยายพันธุ์
ต้นจาก พืชมากประโยชน์ เคียงคู่ชาวกันตัง"พี่ไก่" เกษตรกรผู้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาต้นจาก พืชปาล์มที่อยู่คู่ชาวกันตรังมาตั้งแต่โบราณให้เป็นที่รู้จักไปไกลถึงระดับโลก
ส้มโชกุน หวานเปรี้ยวละมุน คุณต้องลอง"โกนก" เกษตรกรผู้ปลูกส้มโชกุนในหุบเขาปะเหลียน จ.ตรัง แต่เดิมเคยปลูกทุเรียนแต่กลับเจอปัญหาราคาทุเรียนตก และขายได้ตามฤดูเท่านั้น จึงคิดหาพืชตัวใหม่ อย่าง "ส้มโชกุน" ส้มพื้นเมืองของเบตงแต่การปลูกส้มนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ปูนิ่ม อร่อยฟินกินได้ทั้งตัว"พี่โจ" หนุ่มใต้ที่ออกเดินทางจากบ้านเพื่อค้นหาตัวตน เขาเลือกกลับไปบ้านเกิดตัวเอง เพื่อทำการเกษตรอย่างการเลี้ยง "ปูนิ่ม" ลองผิดลองถูกจนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในการเลี้ยงปูนิ่ม และสร้างรายได้ให้กับเขาในทุกวันนี้
จ่าก้อง คนต้นแบบสู่อนาคตเกษตร"จ่าก้อง" อดีตข้าราชการหนุ่ม ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิดในด้านการเกษตร โดยเขาใช้พื้นที่ของตนเองเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ส่งเสริมและสอนให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มีกิจกรรมทักษะชีวิตด้านการเกษตร
ละมุดสุโขทัย หวานกรอบถูกใจ ปลูกอย่างไรก็ไม่ตาย"ลุงตุ่น" เกษตรกรที่รับไม้ต่อในการปลูกละมุดจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าใครจะคิดว่าละมุดเป็นผลไม้กินยาก แต่สำหรับลุงตุ่น ละมุดเป็นผลไม้เลือกคนกิน และจะกลายเป็นผลไม้แห่งชาติในอนาคตอีกด้วย
มะริด ไม้ป่ามีผล ยิ่งปลูกยิ่งรวยคุณอาบัญชา อดีตนักธุรกิจ หันหน้ามาทำการเกษตรอย่างเต็มตัว สนใจไม้ป่ามีผลอย่าง "ต้นมะริด" ซึ่งเป็นไม้ป่าหายาก และใกล้สูญพันธุ์ เขาจึงอยากเผยแพร่ให้คนที่สนใจได้รู้จักกับมะริดมากขึ้น
ปลาเม็ง แห่งเเม่น้ำตาปี ของดีว่าที่ GI"ผู้ใหญ่โต" เกษตรกรที่มุ่งมั่นตั้งใจเลี้ยงปลาพื้นถิ่นของบ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพราะปลาเม็งไม่ใช่แค่เลี้ยงง่าย ดูแลง่าย และรสชาติอร่อยเท่านั้น แต่ยังสามารถแปรรูปได้หลากหลายอย่าง
หอยนางรมสุราษฎร์ เกิดมาชาตินี้ต้องลอง"พี่เชน" จากหนุ่มสุราษฎร์ที่ไปย้ายไปใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพ ก่อนจะกลับมาเป็นเกษตรกรในบ้านเกิดตัวเอง โดยพี่เชนเลือกที่จะเลี้ยงหอยนางรม ที่ต้องอาศัยธรรมชาติดูแลและเกื้อกูลกัน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างอาชีพให้กับชาวประมงในพื้นที่อีกด้วย
ผักปิ่นโต ผักแห่งความสุข"พี่นก" อดีตสาวบัญชีที่ผันตัวออกมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว โดยกลับมาเริ่มปลูกผักสวนครัวพร้อมปรับการขายผักให้เป็น "การผูกปิ่นโตผัก" ถึงจะทำแค่วันละนิดวันละหน่อยแต่การขายผักทำให้พี่นกและครอบครัว มีรายได้ทุกวัน
กระชายซิ่ง โสมไทย อนาคตไกล"เฮียอ้าท" อดีตผู้ช่วยนักวิจัยพันธุ์พืชที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกรผู้ปลูกกระชาย ใช้แนวคิดในการปลูกพืชชนิดอื่นระหว่างรอต้นกระชายในแปลงเดียว ถือเป็นการหมุนเวียนรายได้แบบที่ไม่ต้องรอนาน
ฝรั่งกลมสาลี่ หวานนิดเปรี้ยวหน่อยอร่อยลงตัว"พี่ลออง" เกษตรกรรุ่นใหญ่ที่มีใจรักในการปลูก "ฝรั่งกลมสาลี่" มานานเกือบ 30 ปี จากเดิมมีอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกผักอยู่แล้ว แต่เหมือนพรมลิขิตที่ทำให้พี่ลอองได้มาเจอกับฝรั่งกลมสาลี่โดยบังเอิญ
เห็ดคุณชาย เพาะง่าย สบายไปทั้งชาติ"พี่โก้" หนุ่มทำงานประจำที่หารายได้เสริมจากการเพาะเห็ด จนกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เขาสามารถปลดหนี้หลักล้านได้ โดยพี่โก้ได้เลือกเพาะเห็ดเศรษฐกิจอย่าง "เห็ดนางฟ้าภูฐาน" และ "เห็ดนางรมฮังการี"
ไก่ดำภูพาน ตำนานแห่งความดำ"พี่เล็กและพี่ยา" หนุ่มสาวเจ้าของอู่เครื่องยนต์ ที่วางแผนกลับมาทำเกษตรในบ้านเกิด อ.ภูพาน จ.สกลนคร ด้วยทุนเดิมที่มีใจรักในการเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว จึงเลือกเลี้ยงไก่ดำภูพาน สัตว์เศรษฐกิจที่กำลังมาแรง
ภูพานเฮ พืชโปรตีนแห่งอนาคต"ดร.กฤษ" หนุ่มดีกรีไม่ธรรมดา ผู้สนใจในการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ กับพืชที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่าง "ภูพานเฮ" ที่ปลูกได้ทุกสภาพดิน ทนต่อทุกสภาพอากาศ ผลยังมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
หมากเม่า สุดยอดทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน"หมากเม่า" สุดยอดพืชประจำท้องถิ่นของจังหวัดสกลนคร พบได้มากบริเวณแถบเทือกเขาภูพานจนได้รับสมญานามว่าเป็นทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน
จากกลุ่มนักดนตรีวัยรุ่น เดินทางมาสู่วงดนตรีชื่อดัง I-ZAX นั้น เส้นทางไม่ได้ง่าย พวกเขาต้องสู้กับข้อจำกัดมากมาย รวมถึงใช้เวลาทำเดโมถึง 3 ปี กว่าจะได้ออกเพลง
ละอองฟอง - Superbaker วงดนตรี 2 วง ที่มีแนวเพลงสุดมีเอกลักษณ์ นอกจากความคุ้นเคยแล้ว เส้นทางดนตรีของพวกเขายังมีจุดร่วม อย่างการได้ออกแสดงในเวทีเดียวกันอีกด้วย
พูดคุยกับ พล.ร.ต.อนันท์ สุราวรรณ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ถึงความท้าทายจากการฝึกหนักที่สุดในบรรดาหน่วยรบพิเศษของทุกเหล่าทัพ บทบาทและภารกิจสำคัญของหน่วยซีลเพื่อประเทศชาติ และแนวทางการฝึกยอดคนในอนาคต
วิเคราะห์เจาะลึกถึงประเด็นข่าวต่างประเทศ ในรายการทันโลก กับ Thai PBS วันที่ 21 พ.ย. 67 เวลา 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส
ร่วมสนทนาประเด็น...การเดินหน้าแจกเงินดิจิทัลเฟส 2 และเฟสต่อไป พายุหมุนทางเศรษฐกิจจากเฟสแรก และมาตรการแก้หนี้ภาคครัวเรือน
รู้ลึกอย่างรอบด้านและเท่าทันทุกเหตุการณ์สำคัญในรายการข่าวค่ำ ออกอากาศวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.50 - 20.30 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.02 - 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส
พบกับประเด็น..."มีน พีรวิชญ์" หาแพชชั่นผ่านธุรกิจเสื้อผ้า..."โอปอล สุชาตา" ไม่เสียใจ หลังคว้ารองอันดับ 3
พบกับประเด็น...เปิดสุ่มปลายักษ์คืนชีพแหล่งท่องเที่ยว จ.สุพรรณบุรี...ไก่ย่างไม้หัวลิงเอกลักษณ์เฉพาะตัว จ.บุรีรัมย์
ชวนคุยประเด็นร้อน...ทักษิณเผย แจกเงินหมื่นระลอก 2 กลุ่มสูงอายุเกิน 60 ปี พร้อมมั่นใจ "เลือกตั้งครั้งหน้า" เพื่อไทยไม่ต่ำกว่า 200 แล้วมาวิเคราะห์ทักษิณลงพื้นที่ช่วยหาเสียง "เลือกตั้งนายกฯ อบจ. อุดรธานี ไปดูการเลือกประธานบอร์ดแบงก์ชาติเคาะแล้ว รอชง ครม. อนุมัติ และประเด็น "ที่ดินเขากระโดง" ศึกภายในพรรคร่วมรัฐบาล
เรื่องราวของสมุนไพรที่ช่วยบำรุงปอด ต่อกันด้วยการเกษตรแบบผสมผสาน สู้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และสร้างกล้ามเนื้อช่วงล่าง เพิ่มอัตราการเผาผลาญ
แก้ปัญหาอายุที่มากขึ้น ส่งลงต่อการสร้างกล้ามเนื้อที่ลดลง ทำให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายลดลง กับ คุณสุดาวดีวิบูลยเสข ผู้ฝึกสอน ด้วยการออกกำลังกายที่เน้นสร้างกล้ามเนื้อช่วงล่าง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้วยท่าออกกำลังกายที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ใช้เวลาไม่มากแต่มีประสิทธิภาพเห็นผลได้จริง ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
ดูแลปอดและลำไส้ใหญ่ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว กับ พท.ว.ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย รับฟังความรู้ความสัมพันธ์ของอวัยวะในร่างกายที่จะทำให้เราดูแลร่างกายได้อย่างตรงจุดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสูตรการสุมยาด้วยขมิ้น มะกรูดตะไคร้ ใบเตย การใช้สมุนไพรเป็นยา การกินเป็นยาด้วยหอมใหญ่ หอมไทย หอมแขก มะกรูด มะนาว เลมอน และกระเจี๊ยบ เพื่อสุขภาพแข็งแรงห่างไกลปัญหาเรื่องปอด และลำไส้ใหญ่ ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
ชมการออกแบบวิถีชีวิตดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจแบบพึ่งพาตนเอง กับ คุณสุรชัย สะนิละ เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตนเอง บ้านสุมาลี โดยการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปลาในบ่อ แบ่งสัดส่วนพื้นที่ปลูกสมุนไพร ไม้ดอก และไม้ประดับ แบบไม่พึ่งพาสารเคมี ใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ การใช้น้ำด่างจากเถ้าถ่านดูแลพืชผัก การต่อยอดใช้ผลผลิตที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ไว้ใช้ในครัวเรือน และการสร้างอากาศที่ดี บรรยากาศร่มรื่น การจัดสรรเวลาออกกำลังกายบริหารปอดที่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
สัมผัสกับถนนสายใหม่อย่าง “บรรทัดทอง” ซึ่งจริง ๆ แล้วถนนเส้นนี้มันมีมากกว่าของกินอร่อย ๆ ที่ทุกคนนึกถึง เราจะได้เห็นวิถีชีวิตในชุมชนเก่าแก่ที่อยู่อาศัยมาก่อนที่ย่านนี้จะฮิตและเป็นที่รู้จัก
ชวนไปชิมขนมหมี่สิ แบบชาวกะเหรี่ยงแท้ๆ ในรายการลุยไม่รู้โรย ชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/Lui/episodes/94169
เบื้องหลังการผลิตละครหม่อมเป็ดสวรรค์นั้นมีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ทั้งวิธีคิดในการหยิบยกเอาเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงเรื่องราวที่มีต้นกำเนิดจาก บทประพันธ์เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์เท่านั้นยังครอบคลุมถึงวิธีคิดในการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากของเหล่าทีมงานเบื้องหลัง
เลือกตั้ง นายก อบจ. ภาคอีสาน ดุเดือด “เพื่อไทย-ประชาชน” ชิงอุดรฯ ขณะที่ “ค่ายสีน้ำเงิน” ปักธง หวังกวาดอีสานใต้ วิเคราะห์กับ รศ.ธนพร ศรียากูล ผอ.สถาบันวิเคราะห์การเมืองฯ และคุณอุรชัย ศรแก้ว ผู้สื่อข่าวอาวุโส ไทยพีบีเอส
การประชุม COP29 ณ กรุงบากู อาเซอร์ไบจาน เตรียมสะท้อนความพยายามร่วมของนานาชาติในปีนี้ แม้ผลลัพธ์ที่ผ่านมายังคงเผชิญคำถามถึงความคืบหน้าและประสิทธิภาพ พร้อมจับตาประเด็นการจัดหาเงินทุน – เร่งแก้ปัญหา Climate Change ในประเทศกำลังพัฒนา
เจาะธุรกิจเทรนด์ฮิต "จีนเทา" จัดกรุ๊ปทัวร์บ่อน "เที่ยวพ่วงพนัน" จากคดีจับนักพนันชาวจีนเกือบ 20 คน ย่านวังทองหลาง พ่วงกับการท่องเที่ยวสถานที่ในไทยที่โด่งดังในโลกออนไลน์
จุดยืนของโดนัลด์ ทรัมป์ ชัดเจนมาตั้งแต่เป็นรัฐบาลสมัยแรก ระหว่างปี 2017 ถึงปี 2020 ว่า เขาจะทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งและอเมริกาจะต้องมาก่อน ซึ่งการกลับมาในสมัยที่ 2 หลังเอาชนะคามาลา แฮร์ริส ได้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมกับอำนาจเต็มมือจากการที่รีพับลิกันกวาดที่นั่ง-ครองเสียงข้างมากทั้งสองสภา ก็ทำให้หลายประเทศต้องรีบขยับตัว เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับยุคทรัมป์ 2.0
พวกเราพาไปบุกย่าน “บ้านแหลม” ย่านที่อุดมสมบูรณ์ทั้งชายฝั่งและทะเล ครั้งนี้ทีมงานได้พบกับเจ้าถิ่นสุดเก๋าอย่าง “แก๊งลิงสุดแสบ” อีกหนึ่งปัญหาของชาวบ้านแหลมที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร
ชวนไปพบกับเพื่อนใหม่ที่ “อำเภอบ้านแหลม” จ.เพชรบุรี ครั้งนี้เราได้สัมผัสวิถีชีวิตทั้งแบบเมืองและวิถีประมง และยังบังเอิญได้พบกับ “ป้าทองย้อย-ป้าน้ำผึ้ง” บ้านหลังสุดท้ายแห่งบ้านแหลมที่ยังทำกุ้งแห้ง เรื่องราวจะเป็นอย่างไร
ใครที่อยากทำบุญสงเคราะห์สุนัขและแมวจรจัด สามารถส่งอาหารช่วยเหลือกันได้ มีแคมป์เลี้ยงสัตว์จรจัดกลางป่าเกือบ 400 ตัว คนที่มาเที่ยวแคมปิงสามารถซื้ออาหารสัตว์มาแลกที่พักฟรี ได้ช่วยเหลือสัตว์จรจัดพร้อมกับพักผ่อนที่แคมป์กลางธรรมชาติ จ.สงขลา
พาไปชมสองสามีภรรยา อยู่ที่ ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เลี้ยงแพะ และแกะ แบบไล่ทุ่ง ลดต้นทุนค่าอาหารเป็นอย่างดี และยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) ด้านปศุสัตว์ของอำเภออีกด้วย
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส