หลังจากเมืองสงขลา หรือ ซิงกอรา ที่หัวเขาแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกทําลายลงไปแล้ว ประชาชนที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่บริเวณฝั่งแหลมสนซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของหัวเขาแดง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 มีผู้คนเข้ามาอาศัยหนาแน่นขึ้น แต่พื้นที่แหลมสนคับแคบไม่สามารถขยับขยายเมืองได้ และประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภค จึงทำให้มีการย้ายเมืองข้ามฟากทะเลสาบสงขลามายังฝั่งตำบลบ่อยาง
ย้อนไปดูเรื่องราวสงขลาในอดีต บ้านเมืองบนปลายแผ่นดินคาบสมุทรสทิงพระที่เรียกว่า “หัวเขาแดง” ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา พื้นที่ตรงนี้ถือได้ว่าเป็นจุดยุธศาสตร์สำคัญในเส้นทางทางการค้า บนคาบสมุทรมลายู และเป็นชัยภูมิที่ดีเหมาะสมในการทำท่าเรือ เป็นสถานีการค้าขนาดใหญ่ เป็นที่รู้จักจากโลกตะวันตก ในนาม “ซิงกอรา”
พื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา มีการเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่เป็นหลักแหล่งมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล แต่เรื่องราวของการเกิดขึ้นของเมืองโคกเมืองวัดเขียนบางแก้วและเมืองสทิงพระ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 นั้นกลับเลือนลางหายไป ในความเป็นจริงแล้ว...ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่หลายภาคส่วน อาจจะยังไม่เห็นความสำคัญ
นาฏกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ จากรากงดงามของงานศิลป์ สู่งานด้านดนตรี การละคร จนบรรจบสู่ศาสตร์ภาพยนตร์ สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเรื่องราวนี้คือ “วังลดาวัลย์” หรือวังแดง ถือเป็นต้นกำเนิดของวงปี่พาทย์ประจำวัง ทั้งยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งเป็นต้นราชสกุลยุคล อีกทั้งบุคคลสำคัญในราชสกุลยุคลหลายท่านก็ได้สืบสานงานศิลป์ การดนตรี การละคร และภาพยนตร์ จนมีชื่อเสียงและสร้างคุณค่าในหน้าประวัติศาสตร์จวบจนปัจจุบัน
วังบางขุนพรหมถือเป็นวังที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของการส่งเสริมการศึกษาจนมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี" แต่นอกจากนี้วังบางขุนพรหมยังโดดเด่นอย่างมากในเรื่องมหรสพ การดนตรี จากรากสู่เราจะพาทุกคนไปสำรวจความงดงามของวังบางขุนพรหมผ่านเรื่องราวความเป็นมาต่าง ๆ อันเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์
สำรวจความเป็นมาในอีกมุมของวังหน้ากับการวางรากฐานการศึกษาด้านนาฏกรรม จากการตั้ง “โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์” สู่ “โรงเรียนนาฏศิลป” และพัฒนาเป็น “วิทยาลัยนาฏศิลป” อันเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพ ในด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และมีการขยาย “วิทยาลัยนาฏศิลป” ออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ยังคงสำรวจเรื่องราวในพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ “วังหน้า” โดยมีใจความอยู่ที่การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบ้านเมืองในยุคสยามใหม่ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา สยามเกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาบ้านเมืองอย่างเด่นชัด ทั้งจากการเข้ามาของชาติตะวันตก รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ จนเรียกได้ว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของยุคสยามใหม่ การเปลี่ยนผ่านในห่วงเวลาเหล่านั้นมีเสน่ห์ที่น่าสนใจมากมายเกิดขึ้น
“วังหน้า” หรือพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอดีตนั้นถือเป็นต้นกำเนิดของงานศิลป์ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโขนและละคร จากรากสู่เราชวนทุกคนมาทำรู้จักกับ “วังหน้า” ในหลากหลายความหมาย ความสำคัญ และบทบาทหน้าที่ในอดีต แม้ว่าในช่วงต้นรัชสมัยดังกล่าวยังมีการรบ - การศึกอยู่ แต่ศิลปะการละครในช่วงเวลานั้นกลับเป็นยุคที่รุ่งโรจน์และเฟื่องฟู เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?
หลังช่วงปี 2500 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการพัฒนาบ้านเมืองในหลายด้าน บางคนอาจมองเห็นความเสื่อมถอย บางคนก็มองเป็นเรื่องปกติของการพัฒนา จากรากสู่เราพาไปพบและพูดคุยกับผู้คนรุ่นปัจจุบันที่ อ. แกลง จ.ระยอง และ จ.จันทบุรี ที่ต่างหาทางออกให้กับอาชีพ ให้กับชีวิตโดยเชื่อมโยงคุณค่าเดิมของภูมินิเวศน์ในพื้นที่ และสังคมวัฒนธรรมในอดีตกับวิถีชีวิตในปัจจุบันและสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน