สำรวจความเป็นมาในอีกมุมของวังหน้ากับการวางรากฐานการศึกษาด้านนาฏกรรม
หลังสิ้นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญและมีการยกเลิกตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคลฃพื้นที่บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าได้ถูกปรับเปลี่ยนกลายเป็นพื้นที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษาทางด้านนาฏกรรม
ในปี พ.ศ. 2477 หลวงวิจิตรวาทการขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรได้มีจัดตั้ง “โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์” ขึ้น เพื่อดำเนินการสอนวิชาสามัญและศิลปะ ผลิตบุคลากรที่จะมาดูแลรับผิดชอบงานด้านช่างศิลป์และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ
หลังเกิดเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 พื้นที่บริเวณโรงเรียนได้รับผลกระทบ ตัวอาคารเรียนถูกระเบิด ทำให้โรงเรียนหยุดการเรียนการสอนไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2488 โรงเรียนกลับมาเปิดอีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนาฏศิลป” และพัฒนาเป็น “วิทยาลัยนาฏศิลป” สถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพ ในด้านนาฏศิลป์ ดนตรี มีการจัดการเรียนการสอนอันประกอบด้วยการศึกษาวิชาสามัญและศิลปะตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และมีการขยาย “วิทยาลัยนาฏศิลป” ออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ปัจจุบัน “วิทยาลัยนาฏศิลป” ได้ยกระดับการศึกษาวิชาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมให้สูงขึ้นถึงระดับปริญญาเป็น “สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์” ที่เปิดสอนจนถึงระดับปริญญาเอก
ติดตามได้ในรายการจากรากสู่เรา ตอน วังหน้ากับรากฐานการศึกษาทางนาฏกรรม วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
สำรวจความเป็นมาในอีกมุมของวังหน้ากับการวางรากฐานการศึกษาด้านนาฏกรรม
หลังสิ้นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญและมีการยกเลิกตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคลฃพื้นที่บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าได้ถูกปรับเปลี่ยนกลายเป็นพื้นที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษาทางด้านนาฏกรรม
ในปี พ.ศ. 2477 หลวงวิจิตรวาทการขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรได้มีจัดตั้ง “โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์” ขึ้น เพื่อดำเนินการสอนวิชาสามัญและศิลปะ ผลิตบุคลากรที่จะมาดูแลรับผิดชอบงานด้านช่างศิลป์และมรดกทางศิลปวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ
หลังเกิดเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 พื้นที่บริเวณโรงเรียนได้รับผลกระทบ ตัวอาคารเรียนถูกระเบิด ทำให้โรงเรียนหยุดการเรียนการสอนไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2488 โรงเรียนกลับมาเปิดอีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนาฏศิลป” และพัฒนาเป็น “วิทยาลัยนาฏศิลป” สถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพ ในด้านนาฏศิลป์ ดนตรี มีการจัดการเรียนการสอนอันประกอบด้วยการศึกษาวิชาสามัญและศิลปะตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และมีการขยาย “วิทยาลัยนาฏศิลป” ออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ปัจจุบัน “วิทยาลัยนาฏศิลป” ได้ยกระดับการศึกษาวิชาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมให้สูงขึ้นถึงระดับปริญญาเป็น “สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์” ที่เปิดสอนจนถึงระดับปริญญาเอก
ติดตามได้ในรายการจากรากสู่เรา ตอน วังหน้ากับรากฐานการศึกษาทางนาฏกรรม วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live