รินระดา นิโรจน์ : กลับมาสร้างบ้านเล็ก“แก้ว - รินระดา นิโรจน์” เติบโตในชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร เธอเดินทางไกลถึงสิงคโปร์ เพื่อหาประสบการณ์ด้านสถาปัตยกรรม แล้วความคิดถึงบ้านก็ทำให้เธอกลับมาดีไซน์ชีวิตใหม่ เปิดบ้านจันทบุรีที่เคยเงียบเหงา ให้กลายเป็นโฮมสเตย์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ
จิรันธนิน กิติกา : กลับมาเชื่อมสัมพันธ์คนและเมือง“ภูวา - จิรันธนิน กิติกา” เกิดและโตที่เชียงใหม่ เขาตั้งคำถามถึงความหมายของ “ตัวตน” จนได้ออกเดินทางไกลถึงโตเกียว แล้วค้นพบความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” และ “เมือง” เขาจึงกลับมาขับเคลื่อนคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเมือง ผ่านบทบาทอาจารย์สถาปัตย์ฯ มช.
อาณุภาพ จันทะแก้ว : กลับมาด่านซ้ายที่รัก“อาณุภาพ จันทะแก้ว” หรือ “เบียร์ เด็กด่าน” ฉายาที่เพื่อนเรียกตามถิ่นกำเนิด เขาเติบโตและจากบ้านไปเรียนรู้ชีวิต จนนำสิ่งที่คิดมาทำสิ่งที่รัก ด้วยการเปลี่ยนบ้านเป็นที่พัก พาเพื่อนเที่ยว พบปะมิตรภาพอันอบอุ่น เพื่อเล่าวิถีชีวิต แชร์ประสบการณ์ในด่านซ้ายที่รัก
ศิรษา บุญมา : กลับมาส่งเสียงของบ้าน“เมย์ - ศิรษา บุญมา” พบว่าตัวเองหลงใหลในดนตรีมาตั้งแต่เด็ก จนเมื่อเธอได้ลงพื้นที่ชุมชนบนดอยสูง ได้ยินเสียงความงามที่แตกต่างในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เธอจึงก่อตั้ง Hear & Found พื้นสื่อสารวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านเสียงดนตรีและธรรมชาติที่กำลังจะสูญหาย
วรวิทย์ เรืองจันทานุกูล : กลับมาปรับแต่งชีวิต“หมูหยอง - วรวิทย์ เรืองจันทานุกูล” เจ้าของสำนักแต่งมอเตอร์ไซค์คลาสสิคที่เป็นที่รู้จักทั้งไทยและเทศ เขาดึงความเป็นตัวตนของผู้ขับขี่ แล้วถ่ายทอดผ่านผลงานศิลปะที่ขับขี่ได้ เสมือนการสร้างมิตรภาพของชาวสองล้อ และหล่อหลอมไว้ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
แฟรนเซส วัฒนะยา : กลับมาสู้เพื่อชีวิต“มะลิ - แฟรนเซส วัฒนะยา” สาวแคนนาดาที่หลงรักมวยไทย จนได้เป็นนักมวยไทยอาชีพ และผันตัวมาเป็นผู้จัดการค่ายมวยเล็ก ๆ กลางทุ่งนา ฝึกสอนให้เยาวชนฟรี เพราะเธอเชื่อว่า มวยไทยสามารถสร้างคนให้แข็งแกร่ง และสอนการใช้ชีวิตให้พร้อมสู้อยู่เสมอ
ธรรมยุทธ์ วัฒนวงศ์วรรณ : กลับมาเปิดโลกใต้ทะเล“เกมกิ - ธรรมยุทธ์ วัฒนวงศ์วรรณ” ใช้ความทรงจำวัยเด็กเป็นแรงบันดาลใจให้เขาดำดิ่งสู่โลกใต้ทะเล เพื่อเก็บความสวยงามเป็นภาพถ่าย แล้วนำมาบอกเล่าให้คนทั่วโลกได้เข้าใจเรื่องราวใต้ท้องทะเล ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนจะรักทะเลในแบบที่เขารักเช่นกัน
ศราวุธ แววงาม : กลับมาสืบทอดรอยสักล้านนา“อ๊อด - ศราวุธ แววงาม” สงสัยในลวดลายรอยสักขาลาย ที่เรียกว่า “เต่วก้อม” มาตั้งแต่เด็ก เขาชื่นชอบและโตขึ้นเป็นช่างสักอาชีพ จนได้ออกตามหาต้นกำเนิดลายสักขาของชาวปกาเกอะญอ พร้อมสืบทอดวิถีชีวิตและความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ยังคงอยู่
นันทพันธ์ พนิตวรนันท์ : กลับมาสร้างความสัมพันธ์“กระตั้ว - นันทพันธ์ พนิตวรนันท์” ออกจากบ้านไปตามเส้นทางฝันในวงการแฟชัน พอแม่ป่วยเป็นโรคร้าย เธอจึงกลับมาสร้าง “คาเฟ่น้ำชาเพื่อสุขภาพ” ในบ้านไม้หลังเล็ก รังสรรค์ทุกเมนูจากต้นไม้ใบหญ้าที่เธอปลูกในสวนหน้าบ้าน ทำให้บ้านอบอุ่นขึ้นอีกครั้ง !!!
ประสิทธิ์ คำอุด : กลับมาบันทึกป่า“วู้ด - ประสิทธิ์ คำอุด” เด็กชายที่เคยเดินตามหลังพ่อเข้าป่า เขาเติบโตและเดินหน้าสู่การเป็นพนักงานสังกัดกรมป่าไม้ ด้วยเป้าหมายหลัก “ทำให้ทุกคนมองเห็นคุณค่าของป่า” เพราะเขาคิดว่า ป่าคือบ้านของสัตว์ป่า และสัตว์ป่าคือเพื่อนของเขา
สุพัตรา แสงกองมี : กลับมาสร้างคุณค่าให้มรดก“แยม - สุพัตรา แสงกองมี” ชาวสะง้อ จ.บึงกาฬ เติบโตมากับวิถีชีวิตริมโขง วัฒนธรรมอีสาน และ “การทอผ้าขาวม้า” ของดีประจำถิ่น เธอรับมรดกที่กำลังจะสูญหายนี้ มาพัฒนา รักษา สร้างคุณค่า สร้างอาชีพให้ชุมชน ผ่านแบรนด์ผ้าข้าวม้าหมักโคลน “ดารานาคี”
คณิน พรรคติวงษ์ : กลับมารู้คุณค่าของเวลา“เค - คณิน พรรคติวงษ์” เจ้าของเพจ “แม่ เมนูนี้ทำไง” เขาเล่าเรื่องการทำอาหารผ่านการพูดคุยกับแม่ กลายเป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์ของครอบครัวให้กลับมาใช้เวลาร่วมกันอีกครั้ง เพราะหลังจากอุบัติเหตุของแม่ “เวลา” ก็เป็นเรื่องเปราะบางและมีค่ากับเขา
สุชาล ฉวีวรรณ : กลับมาใช้ประสบการณ์“บึก - สุชาล ฉวีวรรณ” นักออกแบบกระจกพิมพ์ลาย ที่เก็บสะสมประสบการณ์จากการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ ใช้ความชอบสังเกต ชอบคิด ชอบออกแบบ มาสร้างสรรค์งานออกแบบกระจกพิมพ์ลายที่เป็นเอกลักษณ์ และสร้างชีวิตบนพื้นที่ที่เขาออกแบบเอง
กาล อาร์พาลี : กลับมารีล้านนา“กาล อาร์พาลี” หนุ่มนักดนตรีแจ๊ส ชาวอิสราเอล เขาเดินทางตามหาความหมายของการเล่นดนตรี จนพบกับดนตรีล้านนาเชียงใหม่ เรียนรู้วิถีชีวิต เข้าใจวัฒนธรรมคนเหนืออย่างลึกซึ้ง ท่ามกลางสังคมนักดนตรีล้านนาที่เขาพาตัวเองเข้าไป และเล่นดนตรีเพื่อให้ผู้คนมีความสุข
ณัฐธิดา พละศักดิ์ : กลับมาพบอีสาน“อีฟ - ณัฐธิดา พละศักดิ์” กับฉายา “แม่เมืองอุบลฯ” ที่ค้นพบความหมายของชีวิต สร้างแรงขับเคลื่อนด้วยทักษะการออกแบบที่เธอถนัด เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า อาหาร งานฝีมือ นำความรู้เผยแพร่สู่ชุมชน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้วิถีชีวิตพี่น้องอีสานไปสู่อินเตอร์
ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร : กลับมาฟื้นใจบ้าน“ตี๋ - ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร” ออกเดินทางไปแสวงหาคำตอบของชีวิต ผ่านการเรียนรู้ การงาน วิถีชีวิต และคำแนะนำจากผู้นำความคิดด้านการออกแบบ ทำให้เขาหวนคืนกลับมาฟื้น “ใจบ้าน” พัฒนาความสัมพันธ์ของคนและเมือง จากบ้านเขาขยายสู่บ้านของทุกคน
กิตติพงษ์ วรรณพิคต : กลับมาจัดการชีวิต“กิต - กิตติพงษ์ วรรณพิคต” ผูกพันกับทะเลและอาหารทะเลมาตั้งแต่เกิด เขากลับบ้านมาเริ่มธุรกิจอาหารทะเลสด ด้วยวิธีที่แตกต่างอย่าง “อิเคจิเมะ” วิธีทำปลาจากญี่ปุ่น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการวัตถุดิบคุณภาพสูง และดูแลทุกชีวิตในท้องทะเลไปด้วยกัน
พีรลดา สุขวัฒก์ : กลับมาเป็นตัวเอง“ไพร่า - พีรลดา สุขวัฒก์” เติบโตมาในชีวิตที่ถูกบีบและตีกรอบให้เป็นไปตามรูปแบบที่เรียกว่า “ปกติ” แต่นั่นไม่ใช่ชีวิตที่เธอต้องการ เธอจึงใช้เสียงเพลงเดินหน้าด้วยตัวเองในแวดวงดนตรี แสดงออกทางความคิดต่อชีวิต สังคม ความเชื่อ รวมถึงความเป็นไทย
ทศพร ชิวปรีชา - กิรณา มาลีเลิศ : กลับมาสร้างชีวิตที่มั่นคง“กุ้ง - ทศพร ชิวปรีชา” กับ “เกล้า - กิรณา มาลีเลิศ” พาตัวเองออกไปหาความมั่นคงในหน้าที่การงาน แต่แล้วก็พบจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทั้งคู่กลับบ้านเพื่อมาค้นหาตัวเอง แล้วสร้างรากฐานชีวิตอย่างช้า ๆ เบียดเบียดธรรมชาติให้น้อยลง แต่กลับเพิ่มความสุขได้มากขึ้น
ลำพู กันเสนาะ : กลับมาวาดชีวิต“ลำพู กันเสนาะ” เคยพาตัวเองออกจากบ้านไปอยู่ในโลกของศิลปะ สร้างตัวตน ชื่อเสียง และรายได้ตามที่ฝัน จนวันหนึ่งชีวิตได้พาเธอกลับบ้านมามีชีวิตใหม่ในพื้นที่เดิม ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแบบที่เธอถนัด และได้ใช้ชีวิตที่วาดขึ้นมาเอง
ดอกไม้เหนือหู - White Home Gang Ost. ภาพยนต์เรื่อง “รักทะเล้น” พ.ศ. 2521 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman, ป้อม Autobahn
ความรักเพรียกหา - วินัย พันธุรักษ์ Ost. ภาพยนต์เรื่อง “แก้ว” พ.ศ. 2523 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman
รักฉันวันละนิด - Coco Jazz อัลบั้ม แทนค่านับพันของคืนวันหวาน พ.ศ. 2533 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman
แก่จนป่านนี้คงเป็นไอ้ต้าวต่อไปวอนขอเพียงเธอแค่หางตา - ดวงดาวเดียวดาย อัลบั้ม แก่จนป่านนี้คงเป็นไอ้ต้าวต่อไปวอนขอเพียงเธอแค่หางตา พ.ศ. 2563
You Really Got Me – Van Halen อัลบั้ม Van Halen ค.ศ. 1978 Covered By หมู คาไลโดสโคป, เหน่ง พิชัยยุทธ
ปัญหาเด็กเกิดน้อยถือเป็นปัญหาในระดับชาติเลยก็ว่าได้ แต่จากงานวิจัยยังพบอีกว่าเด็กที่เกิดแล้ว 70% มักเกิดในครอบครัวยากจนที่มีรายได้ต่ำ นำมาซึ่งความไม่พร้อมในการดูแลเด็กกลุ่มนี้
ทะเลแดง เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ ที่เชื่อมภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเข้าด้วยกัน ในฐานะเส้นทางการค้าของโลก ผนวกกับนโยบายสนับสนุนอิสราเอล ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังทำให้ทะเลแดงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ
วิเคราะห์เจาะลึกถึงประเด็นข่าวต่างประเทศ ในรายการทันโลก กับ Thai PBS วันที่ 15 เม.ย. 68 เวลา 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส
ร่วมสนทนาประเด็น... สัญญาณเตือนจากเหตุแผ่นดินไหวและภัยพิบัติรุนแรงในไทยช่วงที่ผ่านมา มาตรการตั้งรับและป้องกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้ความไม่แน่นอน
รู้ลึกอย่างรอบด้านและเท่าทันทุกเหตุการณ์สำคัญในรายการข่าวค่ำ ออกอากาศวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.50 - 20.30 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.02 - 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส
บทบาทการทูตของกระทรวงการต่างประเทศในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในสงครามอินโดจีน, กระทรวงการต่างประเทศกับการริเริ่มพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน และการดำรงรักษาสถานทูตไทยในต่างประเทศไว้อย่างสง่างาม
วิชัยเห็นเจเจแอบขโมยมะม่วงของเขาจนเรื่องถึงโรงพัก ตำรวจไกล่เกลี่ยให้เจเจมารดน้ำต้นไม้ให้วิชัยทุกวันเป็นการลงโทษ จุดเริ่มต้นของมิตรภาพต่างวัยจึงได้เกิดขึ้น
ชวนคุยประเด็นร้อน...วิเคราะห์รอยร้าว "ภูมิใจไทย - เพื่อไทย" ด้าน "ไชยชนก ชิดชอบ" ประกาศกลางสภาฯ "ไม่เห็นด้วยกับกาสิโน" ส่วนรองประธานสภาฯ กล่าวปิด "ขอให้ไม่ใช่การประชุมสภาฯ ครั้งสุดท้าย" "ทรัมป์ เอฟเฟกต์" ส่งผลกระทบต่อไทยและโลกอย่างไร ? จับตา "แบงก์ชาติ - สภาพัฒน์" ประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ เม.ย. - พ.ค. นี้
ในการทำงานวันแรกของเจเจ วิชัยเจ็บหัวใจเฉียบพลันจนต้องพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทำให้เจเจเป็นห่วงวิชัยจนทำงานไม่ได้
ในการทำงานวันแรกของเจเจ วิชัยเจ็บหัวใจเฉียบพลันจนต้องพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทำให้เจเจเป็นห่วงวิชัยจนทำงานไม่ได้
เรื่องราวระหว่าง "วิชัย" ชายชราที่สิ้นหวังกับการมีชีวิตอยู่ และ "เจเจ" ชายหนุ่มที่ตามหาเป้าหมายในชีวิต บทสรุปของทั้งคู่จะเป็นอย่างไร
เจเจได้ไอเดียติดตั้งและปรับปรุงอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็น ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงวัยให้วิชัยได้ใช้ มิตรภาพระหว่างคนสองวัยจึงเติมเต็ม
แจนตั้งเงื่อนไขร่วมกันกับลุงนกสองข้อ ห้ามใช้ AI และห้ามสูบบุหรี่ ลุงนกยอมรับแต่แจนจับได้ว่าลุงแอบสูบบุหรี่ทำให้ทะเลาะกันใหญ่โต แต่ความผิดหวังไม่จบเท่านี้เมื่อแจนต้องเผชิญกับการถูกคนสนิทเอาเรื่องของเธอไปพูดให้คนอื่นฟัง
แจนตั้งเงื่อนไขร่วมกันกับลุงนกสองข้อ ห้ามใช้ AI และห้ามสูบบุหรี่ ลุงนกยอมรับแต่แจนจับได้ว่าลุงแอบสูบบุหรี่ทำให้ทะเลาะกันใหญ่โต แต่ความผิดหวังไม่จบเท่านี้เมื่อแจนต้องเผชิญกับการถูกคนสนิทเอาเรื่องของเธอไปพูดให้คนอื่นฟัง
เรื่องราวของ "ครูวิชัย" คุณครูคนใหม่ ประจำชั้นห้อง ป.3 ก. ด้วยรูปลักษณ์การแต่งกายจนได้สมญานามว่า “ครูมะ” เป็นคนสอนสนุก ไม่ยึดติดตำราเรียน จึงคว้าใจเด็กไปครอง แต่กลับไม่ถูกใจคุณครูคนอื่นและผู้ปกครอง
คนเราต้องเรียนรู้ที่จะเกลียด ซึ่งหากสามารถเรียนรู้ที่จะเกลียดได้ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะรักได้เช่นกัน เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ความรักมันก่อเกิดขึ้นมาในใจของคนเราได้ง่ายกว่าความเกลียดชังนั่นเอง
โลกกำลังตั้งคำถามว่าเราควรกลัวนโยบายเศรษฐกิจของ "ทรัมป์" หรือควรกลัววิธีคิดแบบ "ทรัมป์" กันแน่ . พูดคุยกับ "หม่อมปลื้ม" มล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล นักวิเคราะห์ข่าว เมื่อระเบิดภาษีของทรัมป์สะเทือนไกลถึงเมืองไทย นโยบายภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่เพียงเขย่าระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังสร้างแรงสั่นสะเทือนมาถึงผู้ส่งออกไทยที่ฝากความหวังไว้กับตลาดอเมริกันในสัดส่วนกว่า 12% ของการค้าไทยทั้งประเทศ สินค้าไทยหลากหลายตั้งแต่เซมิคอนดักเตอร์ไปจนถึงข้าวสาร กำลังเผชิญความเสี่ยงจากราคาที่สูงขึ้นในสายตาผู้บริโภคชาวอเมริกัน ส่วนประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนเตรียมแผนรับมือและลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดหุ้นโลกผันผวนอย่างหนัก นักลงทุนสหรัฐฯ หวั่นใจ และทั่วโลกเริ่มตั้งคำถามว่านโยบายนี้คือการปกป้องประเทศ หรือทำลายเศรษฐกิจตัวเอง
เปอร์-สุวิกรม” และทีมงาน พาไปชมเบื้องหลังการถ่ายทำรายการ และการหาเพื่อนใหม่ในแบบฉบับพิธีกรหนุ่มอย่าเปอร์ จะเป็นอย่างไรติดตามชมได้ในรายการ “ยินดีที่ได้รู้จัก”
พาบุก “อำเภอแหลมสิงห์” อีกหนึ่งอำเภอของจังหวัดจันทบุรี ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ครั้งนี้เราได้พบกับเจ้าถิ่นใจดีมากมายที่มาเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนแหลมสิงห์ตั้งแต่ครั้งอดีต-ปัจจุบันให้ได้ฟัง ทั้งเรื่องการประมงที่เคยรุ่งเรืองจนทำให้พ่อค้าแม่ค้าบริเวณท่าเรือมีรายได้วันละแสนบาท แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนที่แหลมสิงห์จะเป็นอย่างไร
การกลับมาของ ยายออมสิน แม่ของป้าภาผู้ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ สร้างความวุ่นวายให้ทุกคน ยกเว้น ทำให้แจนต้องช่วยดูแล แต่ความผิดพลาดสองครั้งติดกันทำให้เธอเริ่มสงสัยในตัวเอง จนคิดอยากเลิกทำงานอีกครั้ง
เมื่อแจนรู้ว่าลูกเกดเล่าเรื่องครอบครัวของเธอให้ ลุงนก และ ป้าภา ฟัง แจนต่อว่าลูกเกดด้วยความโกรธ โดยลืมไปว่านั่นคือความหวังดี แจนสมัครวิ่ง 10 กิโลเมตรหวังใช้เหรียญรางวัลพิสูจน์ความจริงใจ เพราะนี่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะกอบกู้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่
พบกับท่าออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอก และกล้ามเนื้อรอบสะบักแข็งแรงขึ้นช่วยให้เรามีบุคลิกที่ดีขึ้น ลดภาวะหลังค่อม หลังตรงขึ้น กับ อ. กภ.ชนม์พิสิฐจันทร์สุข นักกายภาพบำบัดชำนาญการ ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
สำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกำลังกาย และการสร้างกล้ามเนื้อไปกับ อ. นพ.วัศพลกุลธวัชวิชัย รอง ผอ.ศูนย์ Thammasat Lifestyle And Wellness Media Center โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมวิธีการออกกำลังกาย อย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการสังเกตภาวะต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อผลลัพธ์ในการออกกำลังกาย ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
เรื่องราวเกี่ยวกับหูอื้อ เสียงในหู อาการแบบไหนที่ไม่ควรมองข้าม ออกกำลังกายอย่างไรให้ตอบโจทย์ และท่าออกกำลังกายสำหรับคนหลังค่อม
รู้จักเสียงในหู รับฟังวิธีสังเกตเสียงในหูว่าเสียงแบบใดที่ควรได้รับการตรวจปรึกษาแพทย์ จาก ผศ. พญ.ภาณินีจารุศรีพันธุ์ หน่วยโสตประสาท โสตสัมผัส และอรรถบัดวิทยา ร.พ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส