รินระดา นิโรจน์ : กลับมาสร้างบ้านเล็ก“แก้ว - รินระดา นิโรจน์” เติบโตในชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร เธอเดินทางไกลถึงสิงคโปร์ เพื่อหาประสบการณ์ด้านสถาปัตยกรรม แล้วความคิดถึงบ้านก็ทำให้เธอกลับมาดีไซน์ชีวิตใหม่ เปิดบ้านจันทบุรีที่เคยเงียบเหงา ให้กลายเป็นโฮมสเตย์ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ
จิรันธนิน กิติกา : กลับมาเชื่อมสัมพันธ์คนและเมือง“ภูวา - จิรันธนิน กิติกา” เกิดและโตที่เชียงใหม่ เขาตั้งคำถามถึงความหมายของ “ตัวตน” จนได้ออกเดินทางไกลถึงโตเกียว แล้วค้นพบความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” และ “เมือง” เขาจึงกลับมาขับเคลื่อนคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเมือง ผ่านบทบาทอาจารย์สถาปัตย์ฯ มช.
อาณุภาพ จันทะแก้ว : กลับมาด่านซ้ายที่รัก“อาณุภาพ จันทะแก้ว” หรือ “เบียร์ เด็กด่าน” ฉายาที่เพื่อนเรียกตามถิ่นกำเนิด เขาเติบโตและจากบ้านไปเรียนรู้ชีวิต จนนำสิ่งที่คิดมาทำสิ่งที่รัก ด้วยการเปลี่ยนบ้านเป็นที่พัก พาเพื่อนเที่ยว พบปะมิตรภาพอันอบอุ่น เพื่อเล่าวิถีชีวิต แชร์ประสบการณ์ในด่านซ้ายที่รัก
ศิรษา บุญมา : กลับมาส่งเสียงของบ้าน“เมย์ - ศิรษา บุญมา” พบว่าตัวเองหลงใหลในดนตรีมาตั้งแต่เด็ก จนเมื่อเธอได้ลงพื้นที่ชุมชนบนดอยสูง ได้ยินเสียงความงามที่แตกต่างในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เธอจึงก่อตั้ง Hear & Found พื้นสื่อสารวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านเสียงดนตรีและธรรมชาติที่กำลังจะสูญหาย
วรวิทย์ เรืองจันทานุกูล : กลับมาปรับแต่งชีวิต“หมูหยอง - วรวิทย์ เรืองจันทานุกูล” เจ้าของสำนักแต่งมอเตอร์ไซค์คลาสสิคที่เป็นที่รู้จักทั้งไทยและเทศ เขาดึงความเป็นตัวตนของผู้ขับขี่ แล้วถ่ายทอดผ่านผลงานศิลปะที่ขับขี่ได้ เสมือนการสร้างมิตรภาพของชาวสองล้อ และหล่อหลอมไว้ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
แฟรนเซส วัฒนะยา : กลับมาสู้เพื่อชีวิต“มะลิ - แฟรนเซส วัฒนะยา” สาวแคนนาดาที่หลงรักมวยไทย จนได้เป็นนักมวยไทยอาชีพ และผันตัวมาเป็นผู้จัดการค่ายมวยเล็ก ๆ กลางทุ่งนา ฝึกสอนให้เยาวชนฟรี เพราะเธอเชื่อว่า มวยไทยสามารถสร้างคนให้แข็งแกร่ง และสอนการใช้ชีวิตให้พร้อมสู้อยู่เสมอ
ธรรมยุทธ์ วัฒนวงศ์วรรณ : กลับมาเปิดโลกใต้ทะเล“เกมกิ - ธรรมยุทธ์ วัฒนวงศ์วรรณ” ใช้ความทรงจำวัยเด็กเป็นแรงบันดาลใจให้เขาดำดิ่งสู่โลกใต้ทะเล เพื่อเก็บความสวยงามเป็นภาพถ่าย แล้วนำมาบอกเล่าให้คนทั่วโลกได้เข้าใจเรื่องราวใต้ท้องทะเล ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนจะรักทะเลในแบบที่เขารักเช่นกัน
ศราวุธ แววงาม : กลับมาสืบทอดรอยสักล้านนา“อ๊อด - ศราวุธ แววงาม” สงสัยในลวดลายรอยสักขาลาย ที่เรียกว่า “เต่วก้อม” มาตั้งแต่เด็ก เขาชื่นชอบและโตขึ้นเป็นช่างสักอาชีพ จนได้ออกตามหาต้นกำเนิดลายสักขาของชาวปกาเกอะญอ พร้อมสืบทอดวิถีชีวิตและความเชื่อดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ยังคงอยู่
นันทพันธ์ พนิตวรนันท์ : กลับมาสร้างความสัมพันธ์“กระตั้ว - นันทพันธ์ พนิตวรนันท์” ออกจากบ้านไปตามเส้นทางฝันในวงการแฟชัน พอแม่ป่วยเป็นโรคร้าย เธอจึงกลับมาสร้าง “คาเฟ่น้ำชาเพื่อสุขภาพ” ในบ้านไม้หลังเล็ก รังสรรค์ทุกเมนูจากต้นไม้ใบหญ้าที่เธอปลูกในสวนหน้าบ้าน ทำให้บ้านอบอุ่นขึ้นอีกครั้ง !!!
ประสิทธิ์ คำอุด : กลับมาบันทึกป่า“วู้ด - ประสิทธิ์ คำอุด” เด็กชายที่เคยเดินตามหลังพ่อเข้าป่า เขาเติบโตและเดินหน้าสู่การเป็นพนักงานสังกัดกรมป่าไม้ ด้วยเป้าหมายหลัก “ทำให้ทุกคนมองเห็นคุณค่าของป่า” เพราะเขาคิดว่า ป่าคือบ้านของสัตว์ป่า และสัตว์ป่าคือเพื่อนของเขา
สุพัตรา แสงกองมี : กลับมาสร้างคุณค่าให้มรดก“แยม - สุพัตรา แสงกองมี” ชาวสะง้อ จ.บึงกาฬ เติบโตมากับวิถีชีวิตริมโขง วัฒนธรรมอีสาน และ “การทอผ้าขาวม้า” ของดีประจำถิ่น เธอรับมรดกที่กำลังจะสูญหายนี้ มาพัฒนา รักษา สร้างคุณค่า สร้างอาชีพให้ชุมชน ผ่านแบรนด์ผ้าข้าวม้าหมักโคลน “ดารานาคี”
คณิน พรรคติวงษ์ : กลับมารู้คุณค่าของเวลา“เค - คณิน พรรคติวงษ์” เจ้าของเพจ “แม่ เมนูนี้ทำไง” เขาเล่าเรื่องการทำอาหารผ่านการพูดคุยกับแม่ กลายเป็นสื่อกลางในความสัมพันธ์ของครอบครัวให้กลับมาใช้เวลาร่วมกันอีกครั้ง เพราะหลังจากอุบัติเหตุของแม่ “เวลา” ก็เป็นเรื่องเปราะบางและมีค่ากับเขา
สุชาล ฉวีวรรณ : กลับมาใช้ประสบการณ์“บึก - สุชาล ฉวีวรรณ” นักออกแบบกระจกพิมพ์ลาย ที่เก็บสะสมประสบการณ์จากการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ ใช้ความชอบสังเกต ชอบคิด ชอบออกแบบ มาสร้างสรรค์งานออกแบบกระจกพิมพ์ลายที่เป็นเอกลักษณ์ และสร้างชีวิตบนพื้นที่ที่เขาออกแบบเอง
กาล อาร์พาลี : กลับมารีล้านนา“กาล อาร์พาลี” หนุ่มนักดนตรีแจ๊ส ชาวอิสราเอล เขาเดินทางตามหาความหมายของการเล่นดนตรี จนพบกับดนตรีล้านนาเชียงใหม่ เรียนรู้วิถีชีวิต เข้าใจวัฒนธรรมคนเหนืออย่างลึกซึ้ง ท่ามกลางสังคมนักดนตรีล้านนาที่เขาพาตัวเองเข้าไป และเล่นดนตรีเพื่อให้ผู้คนมีความสุข
ณัฐธิดา พละศักดิ์ : กลับมาพบอีสาน“อีฟ - ณัฐธิดา พละศักดิ์” กับฉายา “แม่เมืองอุบลฯ” ที่ค้นพบความหมายของชีวิต สร้างแรงขับเคลื่อนด้วยทักษะการออกแบบที่เธอถนัด เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า อาหาร งานฝีมือ นำความรู้เผยแพร่สู่ชุมชน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้วิถีชีวิตพี่น้องอีสานไปสู่อินเตอร์
ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร : กลับมาฟื้นใจบ้าน“ตี๋ - ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร” ออกเดินทางไปแสวงหาคำตอบของชีวิต ผ่านการเรียนรู้ การงาน วิถีชีวิต และคำแนะนำจากผู้นำความคิดด้านการออกแบบ ทำให้เขาหวนคืนกลับมาฟื้น “ใจบ้าน” พัฒนาความสัมพันธ์ของคนและเมือง จากบ้านเขาขยายสู่บ้านของทุกคน
กิตติพงษ์ วรรณพิคต : กลับมาจัดการชีวิต“กิต - กิตติพงษ์ วรรณพิคต” ผูกพันกับทะเลและอาหารทะเลมาตั้งแต่เกิด เขากลับบ้านมาเริ่มธุรกิจอาหารทะเลสด ด้วยวิธีที่แตกต่างอย่าง “อิเคจิเมะ” วิธีทำปลาจากญี่ปุ่น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการวัตถุดิบคุณภาพสูง และดูแลทุกชีวิตในท้องทะเลไปด้วยกัน
พีรลดา สุขวัฒก์ : กลับมาเป็นตัวเอง“ไพร่า - พีรลดา สุขวัฒก์” เติบโตมาในชีวิตที่ถูกบีบและตีกรอบให้เป็นไปตามรูปแบบที่เรียกว่า “ปกติ” แต่นั่นไม่ใช่ชีวิตที่เธอต้องการ เธอจึงใช้เสียงเพลงเดินหน้าด้วยตัวเองในแวดวงดนตรี แสดงออกทางความคิดต่อชีวิต สังคม ความเชื่อ รวมถึงความเป็นไทย
ทศพร ชิวปรีชา - กิรณา มาลีเลิศ : กลับมาสร้างชีวิตที่มั่นคง“กุ้ง - ทศพร ชิวปรีชา” กับ “เกล้า - กิรณา มาลีเลิศ” พาตัวเองออกไปหาความมั่นคงในหน้าที่การงาน แต่แล้วก็พบจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทั้งคู่กลับบ้านเพื่อมาค้นหาตัวเอง แล้วสร้างรากฐานชีวิตอย่างช้า ๆ เบียดเบียดธรรมชาติให้น้อยลง แต่กลับเพิ่มความสุขได้มากขึ้น
ลำพู กันเสนาะ : กลับมาวาดชีวิต“ลำพู กันเสนาะ” เคยพาตัวเองออกจากบ้านไปอยู่ในโลกของศิลปะ สร้างตัวตน ชื่อเสียง และรายได้ตามที่ฝัน จนวันหนึ่งชีวิตได้พาเธอกลับบ้านมามีชีวิตใหม่ในพื้นที่เดิม ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแบบที่เธอถนัด และได้ใช้ชีวิตที่วาดขึ้นมาเอง
เจ็บไปรักไป - Yes'sir days อัลบั้ม Music box MOVIE and DRAMA lOVE SONGS vol.3 ขับร้อง : อัทธ์ Yes'sir days
จากกลุ่มนักดนตรีวัยรุ่น เดินทางมาสู่วงดนตรีชื่อดัง I-ZAX นั้น เส้นทางไม่ได้ง่าย พวกเขาต้องสู้กับข้อจำกัดมากมาย รวมถึงใช้เวลาทำเดโมถึง 3 ปี กว่าจะได้ออกเพลง
ศิลปะแกะสลักผักผลไม้ งานประณีตศิลป์ของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมแกะสลักผักผลไม้ ตกแต่งอาหารให้มีความสวยงามและน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักผักผลไม้แบบตั้งโชว์เพื่อแสดงทักษะและฝีมือในการแกะสลักของช่าง
"ก๋งออด" เกษตรกรวัยเก๋าเจ้าของสวนมะขามแดงในจังหวัดราชบุรี จากอดีตฟาร์มหมูสู่สวนมะขามแดง พืชสมุนไพรที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ก๋งออดเล็งเห็นถึงความสำคัญของพืชชนิดนี้ จึงตั้งใจมุ่งมั่นปลูกมะขามแดง และแปรรูป
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
ชมการออกแบบวิถีชีวิตดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจแบบพึ่งพาตนเอง กับ คุณสุรชัย สะนิละ เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตนเอง บ้านสุมาลี โดยการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปลาในบ่อ แบ่งสัดส่วนพื้นที่ปลูกสมุนไพร ไม้ดอก และไม้ประดับ แบบไม่พึ่งพาสารเคมี ใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ การใช้น้ำด่างจากเถ้าถ่านดูแลพืชผัก การต่อยอดใช้ผลผลิตที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ไว้ใช้ในครัวเรือน และการสร้างอากาศที่ดี บรรยากาศร่มรื่น การจัดสรรเวลาออกกำลังกายบริหารปอดที่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
แก้ปัญหาอายุที่มากขึ้น ส่งลงต่อการสร้างกล้ามเนื้อที่ลดลง ทำให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายลดลง กับ คุณสุดาวดีวิบูลยเสข ผู้ฝึกสอน ด้วยการออกกำลังกายที่เน้นสร้างกล้ามเนื้อช่วงล่าง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้วยท่าออกกำลังกายที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ใช้เวลาไม่มากแต่มีประสิทธิภาพเห็นผลได้จริง ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
ดูแลปอดและลำไส้ใหญ่ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว กับ พท.ว.ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย รับฟังความรู้ความสัมพันธ์ของอวัยวะในร่างกายที่จะทำให้เราดูแลร่างกายได้อย่างตรงจุดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสูตรการสุมยาด้วยขมิ้น มะกรูดตะไคร้ ใบเตย การใช้สมุนไพรเป็นยา การกินเป็นยาด้วยหอมใหญ่ หอมไทย หอมแขก มะกรูด มะนาว เลมอน และกระเจี๊ยบ เพื่อสุขภาพแข็งแรงห่างไกลปัญหาเรื่องปอด และลำไส้ใหญ่ ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
เรื่องราวของสมุนไพรที่ช่วยบำรุงปอด ต่อกันด้วยการเกษตรแบบผสมผสาน สู้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และสร้างกล้ามเนื้อช่วงล่าง เพิ่มอัตราการเผาผลาญ
ชวนคุยประเด็นร้อน...ทักษิณเผย แจกเงินหมื่นระลอก 2 กลุ่มสูงอายุเกิน 60 ปี พร้อมมั่นใจ "เลือกตั้งครั้งหน้า" เพื่อไทยไม่ต่ำกว่า 200 แล้วมาวิเคราะห์ทักษิณลงพื้นที่ช่วยหาเสียง "เลือกตั้งนายกฯ อบจ. อุดรธานี ไปดูการเลือกประธานบอร์ดแบงก์ชาติเคาะแล้ว รอชง ครม. อนุมัติ และประเด็น "ที่ดินเขากระโดง" ศึกภายในพรรคร่วมรัฐบาล
ระหว่างที่ "หม่อมขำ" กับ "หม่อมสุด" กำลังเตรียมอาหารอยู่ในครัวตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก พระองค์เจ้าดาราวดี ให้ดูแลเครื่องเสวยถวายเจ้านายในงานพระศพ หม่อมขำ ได้ทำการลองชิมให้ได้รสที่ถูกใจก่อนถวาย พอ "หม่อมแก้ว" เห็นก็ไม่พอใจที่ หม่อมขำ ตักอาหารกินก่อนเจ้านาย พยายามเอาเรื่องให้ถึงที่สุด
ชวนไปชิมขนมหมี่สิ แบบชาวกะเหรี่ยงแท้ๆ ในรายการลุยไม่รู้โรย ชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/Lui/episodes/94169
พาไปชมสองสามีภรรยา อยู่ที่ ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เลี้ยงแพะ และแกะ แบบไล่ทุ่ง ลดต้นทุนค่าอาหารเป็นอย่างดี และยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) ด้านปศุสัตว์ของอำเภออีกด้วย
ชาวเผ่าลีซู หรือลีซอ ที่ อ.พบพระ จ.ตาก เร่งทำย่ามให้ทันช่วงเทศกาลปีใหม่ ผลิตแทบไม่ทัน เพราะรูปแบบเฉพาะตัว เหมาะนำไปใช้งานหรือเสริมการแต่งตัวได้อย่างดี
ใครที่อยากทำบุญสงเคราะห์สุนัขและแมวจรจัด สามารถส่งอาหารช่วยเหลือกันได้ มีแคมป์เลี้ยงสัตว์จรจัดกลางป่าเกือบ 400 ตัว คนที่มาเที่ยวแคมปิงสามารถซื้ออาหารสัตว์มาแลกที่พักฟรี ได้ช่วยเหลือสัตว์จรจัดพร้อมกับพักผ่อนที่แคมป์กลางธรรมชาติ จ.สงขลา
ชาวบ้าน จ.ตรัง ขุดสระน้ำเป็นรูปเลข 9 แสดงออกทางสัญลักษณ์ น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์การทำเกษตรผสมผสาน ผ่านโคกหนองนาโมเดล
"พระองค์เจ้าวิลาส" เสด็จไปร่วมงานพระศพฯ "หม่อมขำ" ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเครื่องเสวยก็ได้จัดเตรียมพระกระยาหารด้วยความกังวลเพราะกลัวจะไม่ถูกพระโอษฐ์พระองค์เจ้าวิลาส พอ "หม่อมสุด" เห็นก็เป็นห่วง จึงพยายามปลอบและให้กำลังใจ
สัมผัสกับถนนสายใหม่อย่าง “บรรทัดทอง” ซึ่งจริง ๆ แล้วถนนเส้นนี้มันมีมากกว่าของกินอร่อย ๆ ที่ทุกคนนึกถึง เราจะได้เห็นวิถีชีวิตในชุมชนเก่าแก่ที่อยู่อาศัยมาก่อนที่ย่านนี้จะฮิตและเป็นที่รู้จัก
ทะเลจีนใต้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่มหาศาล และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาและสัตว์น้ำนานาชนิด มีความสำคัญทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และด้านเศรษฐศาสตร์ หลายประเทศในภูมิภาคต่างอ้างความเป็นเจ้าของ
สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ กับเมนูเคยคั่วหอยไฟไหม้ดอง เมนูชวนข้าวหมดหม้อ อร่อยจนต้องขอเติม ติดตามได้ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ชมวิธีทำต่อได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/BanTung/episodes/104918
ชวนคุยประเด็นร้อน...กระแส ยิ่งลักษณ์กลับไทย สงกรานต์ 68 แล้ว "ยิ่งลักษณ์กลับไทย" เดินตามรอย ทักษิณโมเดลหรือไม่ ? ฟังวิเคราะห์ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง ทักษิณ – เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครอง มองสองมุม "แจกเงินหมื่น เฟส 2" หาเสียงหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ ? เส้นทาง "พ.ร.บ. ประชามติ - แก้รัฐธรรมนูญ" ยังอีกยาว อาจไม่ทันเลือกตั้งครั้งหน้า
เบื้องหลังการผลิตละครหม่อมเป็ดสวรรค์นั้นมีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ทั้งวิธีคิดในการหยิบยกเอาเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงเรื่องราวที่มีต้นกำเนิดจาก บทประพันธ์เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์เท่านั้นยังครอบคลุมถึงวิธีคิดในการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากของเหล่าทีมงานเบื้องหลัง
พาออกตามหาเพื่อนใหม่ที่ “เมืองชัยภูมิ” ดินแดนผู้กล้าพญาแล และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชี ครั้งนี้พิธีกรอย่าง เปอร์ - สุวิกรม อัมระนันทน์ จะพาเราไปรู้จักกับใครเพิ่มขึ้นบ้าง ความสุข ความทุกข์ของพวกคืออะไร
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส