คนกับช้าง ชุมชนพวาพาไปติดตามการปรับตัวของชาวบ้านในการจัดการ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการหากิน และการเพาะปลูก ของผู้คนใน ต.พวา .แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ให้สามารถอยู่ในบ้านของพวกเขาควบคู่กับการแก้ปัญหานี้ไปพร้อมกัน
ช้างกับคน เยาวชนนักวิจัยกลุ่มเยาวชนอาสาสมัครศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่าในพื้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา มีความสนใจร่วมเป็นนักวิจัยท้องถิ่นสำรวจเก็บข้อมูลเพื่อนำไปสู่การหาทางออกในการคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
ช้างกับคน เยาวชนอาสาพาไปติดตามชีวิตของผู้คนในหนองปรือกันยาง อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ต้องเผชิญกับโขลงช้างป่าที่เข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรม อาสาสมัครชุมชน "เยาวชนกลุ่มฟันน้ำนม" จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเรียนรู้ เฝ้าระวัง และแจ้งเตือน
ปลาน้ำโขงพาไปดูความพยายามฟื้นฟู อนุรักษ์ ปลาท้องถิ่น เพื่อเป็นรักษาพันธุ์ปลาที่มีจำนวนลดลงใน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ชุมชนลุ่มน้ำสงครามไปดูความพยายามฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรลุ่มน้ำสงคราม ที่บ้านปากยาม ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม สายน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คนมาตั้งแต่อดีต หล่อเลี้ยงผู้คนสร้างอาชีพหาปลามาทำปลาร้า ปลาส้ม ปลาแดดเดียว
คนเลี้ยงไผ่ ไผ่เลี้ยงคนไปติดตามวิถีชุมชนหมู่บ้านจักสานใน อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ที่ใช้ "ไผ่" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยสร้างอาชีพให้คนสูงวัยผ่านงานจักสาน "หมวกไผ่" สำหรับใช้ในกลุ่มเกษตรกร
ท่าไคร้ชุมชนริมโขงพาไปบ้านท่าไคร้ จ.บึงกาฬ ชุมชนริมน้ำโขง ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำโขง และการปรับเปลี่ยนพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ด้วยวัฒนธรรมที่ดีงาม อีกทั้งยังมีต้นทุนวัตถุดิบจากชุมชนที่ปลอดภัย
สายใยไทยวนไปดูการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาการทอผ้าโบราณ จ.สระบุรี เป็นมรดก เอกลักษณ์ของชาวไทยวนที่มีการส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาสานต่อ เพื่ออนุรักษ์วิถีของชาวไทยวนสืบไป
สูงวัย นักบริบาลบ้านทุ่งบ่อแป้นเรื่องราวของกลุ่มผู้สูงวัย ที่บ้านทุ่งบ่อแป้น ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง มีการการเตรียมความพร้อมรับสังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ
ชุมชนมอญบ้านม่วงติดตามวิถีชาวมอญบ้านม่วง จ.ราชบุรี ที่ปรับเปลี่ยนวิถีตามยุคสมัย แต่ยังคงความเป็นมอญ ด้วยภาษา ประเพณี วัฒนธรรม การถักทอผ้ามอญ อาหาร และมีแหล่งเรียนรู้ที่ส่งต่อให้ลูกหลานศึกษาวิถีชีวิตมอญให้คงอยู่
สายน้ำแร่แจ้ซ้อนเมื่อคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมสร้างทางเลือกในการทำงาน ของผู้สูงอายุในพื้นที่ ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลําปาง ให้กลุ่มผู้สูงวัยได้มีอาชีพ และเห็นคุณค่าของตัวเองผ่านการทำงานร่วมชุมชน
ละอ่อนน่าน บันดาลเมืองพบกับเรื่องราวของคนรุ่นใหม่ที่กลับมาอยู่บ้าน ต่อยอดทรัพยากรในชุมชน ร่วมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ "กาดกองน้อย" ย่านเมืองเก่าน่าน สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างงานสร้างสรรค์ในพื้นที่
ลำปาง "ครั่ง" รักไปทำความรู้จักและเรียนรู้การกลับบ้านของคนรุ่นใหม่ที่มาใช้ฐานเศรษฐกิจ ผ่าน "ครั่ง" ร่วมออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ จนนำไปสู่การสร้างงานที่หลากหลายให้กับคนในชุมชน
"ปาเต๊ะ" กาลเวลาแห่งผืนผ้าไปดูการยกระดับ และพัฒนารูปแบบการผลิตผ้าปาเต๊ะจากคนรุ่นใหม่ ให้มีความร่วมสมัยตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจกระจายรายได้ให้กับชุมชน
ร้านของชำคราฟต์ฟูดเมื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่รวมตัวกันนำแนวคิดทางการตลาดมาต่อยอดส่งเสริมด้วยการนำสินค้าท้องถิ่นของ จ.ภูเก็ต และจังหวัดอื่น ๆ มาวางจำหน่าย เพื่อสร้างช่องทางหารายได้ให้กับผู้ผลิตรายเล็กในพื้นที่
Doing เกาะยาวไปดูความพยายามแก้ไขปัญหาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานทดแทน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าที่ไม่พียงพอของชาวบ้านบนเกาะยาว ชุมชนเล็ก ๆ ใน จ.พังงา และช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน
พลังงานน้ำ บ้านคีรีวงไปดูความพยายามแก้ปัญหาการขาดไฟฟ้าของชาวบ้านหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ต่อยอดความรู้ นำน้ำประปาจากภูเขามาผลิตไฟฟ้าเป็นพลังงานให้กับคนในชุมชน
คนพิการ ร่วมสร้างสังคมไปติดตามกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้พิการร่วมกันตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมสงขลาปันสุข เปิดให้บริการซ่อมรถเข็นฟรี และมีระบบยืมคืน กายอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ
คนคุ้นเคย (กะปิ) ที่สตูลชุมชนทำกะปิจากเคยเป็นสินค้าแปรรูปใน ต.เจ๊ะบิลัง อ.เมือง จ.สตูล ที่ช่วยสร้างอาชีพ และจ้างงานให้คนในชุมชนได้มีรายได้
ผ้าทอวัดโคกเปี้ยวที่เกาะยอไปดูการแบ่งปันภูมิปัญญาการทอผ้าให้พระสงฆ์และสามเณรที่โรงเรียนปริยัติธรรม วัดโคกเปี้ยว เรียนรู้วิชาชีพการทอผ้าจากปราชญ์ชุมชน เพื่อเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพ
No More Lonely Nights - Paul McCartney อัลบั้ม Give My Regards to Broad Street ปี ค.ศ.1973 ขับร้อง : บรรณ ใบชา
ชวนเข้าครัวทำขนมหวานญี่ปุ่นแบบโบราณ อย่าง เนริกิริ (Nerikiri) ขนมหวานที่นิยมเสิร์ฟในพิธีชงชา ทำจากถั่วขาวอินทรีย์กวน และเพิ่มสีสันลวดลายสวยงามตามช่วงฤดูกาล ปั้นเป็นรูปดอกไม้ฤดูหนาว อย่าง ดอกโบตั๋น กับ ลูกส้ม
บุกตะลุยขึ้นดอย ท่ามกลางทะเลหมอก ไปเรียนรู้เรี่องราวของ "หอมชู" ที่ดอยอ่างขาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูพื้นถิ่น "แตงหุงฮากคิวใส่ซี่โครงหมู" และเมนู "สำรับหอมชู"
รวมพลตัวแทนคนลูกทุ่งเสียงดี ดีกรีติดยศข้าราชการกองดุริยางค์ทหาร จัดเต็ม 3 เหล่าทัพ บก – เรือ - อากาศ เจอหญิงเก่งรุ่นเก๋า ‘แม่สมศรี ม่วงศรเขียว’
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นแหล่งผลิตเกลือทะเลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เพราะทำกันแทบทุกตำบล คนที่นี่จึงมีวิถีผูกพันกับนาเกลือมาอย่างนานจากรุ่นสู่รุ่น
The Inspirer กับ "เก้า พงศธัช" ร่วมเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของคนในวงการต่าง ๆ พร้อมจุดประกายแรงบันดาลใจให้ทุกคน!
แม้ว่าคุณสุดจะสอบผ่าน แต่กรมหมื่นไกรสรวิชิตก็ยังเป็นกังวลอยู่กลัวจะมีปัญหาเพราะคุณสุดเป็นผู้หญิง จึงไปปรึกษากับพระองค์ชายนวมเพื่อจัดสอบอาลักษณ์หลวงด้วยการสอบคัดลายมืออีกครั้ง จะได้ไม่เป็นที่ครหาของเหล่าบุตรหลานขุนนางที่ร่วมแข่งขัน เมื่อพระองค์เจ้าวิลาสรู้จึงสั่งให้คุณสุวรรณสอนคุณสุดอย่างสุดฝีมือ
เมื่อพระเจนอภิบาลได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นแม่กองปราบฝิ่นที่หัวเมืองปักษ์ใต้ ก่อนออกเดินทางจึงไปขอคำอวยพรปลอบขวัญจากคุณขำ และยังฝากผ้ายกเมืองนครมาให้อีกด้วย ซึ่งสร้างความไม่สบายใจให้ คุณสุดจนพระองค์เจ้าวิลาส ต้องเก็บผ้าผืนนี้ไว้ก่อนเพื่อให้คุณสุดได้ตั้งใจสอบอาลักษณ์หลวงให้ผ่านตามความมุ่งหวัง
การจากไปอย่างกะทันหันของอึ่งทำให้แม่เนียมไม่สบายใจถึงขั้นกินไม่ได้และนอนฝันร้ายทุกคืน ทุกคนในเรือนบ่าวเห็นอาการของแม่เนียมจึงเป็นห่วง จนยวงต้องตัดสินใจไปปรึกษาพระองค์เจ้าวิลาสเพื่อหาทางปลอบใจ
สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ กับเมนูเคยคั่วหอยไฟไหม้ดอง เมนูชวนข้าวหมดหม้อ อร่อยจนต้องขอเติม ติดตามได้ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ชมวิธีทำต่อได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/BanTung/episodes/104918
หลังจากพระเจนอภิบาลได้เบาะแสเรื่องพ่อค้าฝิ่นรายใหญ่ก็ได้นำกำลังตำรวจหลวงบุกไปจับเจ้าสัวเหลียงทันที แต่เจ้าสัวเหลียงไม่ยอมให้จับง่าย ๆ ทำให้เกิดการปะทะขึ้น ส่วนแม่แก้วหลบหนีไปกับชุ่ม ซึ่งสร้างความกังวลใจให้พระองค์เจ้าวิลาสอย่างมากเพราะเกรงแม่แก้วจะก่อเรื่องเดือดร้อนขึ้นอีก
ถือว่าเป็นการเปิดประสบการณ์การดำน้ำในต่างประเทศครั้งแรกของ Navigator ทุกอย่างดูแปลกตาและตื่นเต้นมากๆ เพราะที่ Red Sea ของประเทศอียิปต์ เราจะได้มีโอกาสเจอสัตว์ใหญ่ใต้ท้องทะเลหลายชนิด โดยเฉพาะไฮไลท์ของที่นี่คือ ฉลามหัวค้อน นอกจากนี้การท่องเที่ยวบนบกของที่อียิปต์ยิ่งน่าสนใจโดยเฉพาะ ความยิ่งใหญ่ ของสิ่งก่อสร้างที่ชื่อว่า "พีระมิด"
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
คุณสุด ตัดสินใจไปกราบทูลขอประทานอนุญาตพระองค์เจ้าวิลาส เพื่ออยู่กินกับคุณขำดังเช่นคู่เล่นเพื่อนคู่อื่น ๆ ซึ่งทำให้พระองค์เจ้าวิลาสรวมถึงคุณสุวรรณพยายามดึงสติคุณสุดด้วยความเป็นห่วง
นุชนาฏ ได้งานเป็นผู้ช่วยเชฟในโรงเรียนสอนทําอาหารในโรงแรมชื่อดังเธอได้ร่วมงานกับหัวหน้าเชฟสุดเนี้ยบอย่าง ปกรณ์ ที่เป็นคนไทยเหมือนกันแต่กลับไม่เคยออมชอม...
ความรักเอย ... เจ้าลอยลมมาหรือไร .... มาดลจิต มาดลใจ เสน่หา เพลง : เสน่หา (เพลงประกอบละคร "จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี") คำร้อง : มนัส ปิติสานต์ เรียบเรียง : ณัฐพากย์ กวีธรรมวงษ์ ขับร้อง : จีรภัทร จันทร์แจ้ง ติดตามชมละคร #จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ตอนแรก วันที่ 1 – 2 มกราคมนี้ เวลา 20.15 - 21.10 น. ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 ▶ ชมสดออนไลน์ Website : www.thaipbs.or.th/Live Facebook : @ThaiPBS ▶ ชมอีกครั้งทาง Website : www.VIPA.me Application VIPA : https://bit.ly/3rJQ7HA
บทบาทใหม่ของ #ก๊อตจิรายุ และการร่วมงานกับไทยพีบีเอสครั้งแรก! แค่เปิดตัว "ปกรณ์" มาก็หล่อหนักมาก แฟน ๆ เตรียมกรี๊ดกันได้เลย พบกันในละคร #จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ละครรัก ย้อนประวัติศาสตร์
เบื้องหลังการผลิตละครหม่อมเป็ดสวรรค์นั้นมีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ทั้งวิธีคิดในการหยิบยกเอาเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงเรื่องราวที่มีต้นกำเนิดจาก บทประพันธ์เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์เท่านั้นยังครอบคลุมถึงวิธีคิดในการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากของเหล่าทีมงานเบื้องหลัง
ครูทองคำหลังจากแสดงในงานพระศพพระองค์เจ้าสังข์เสร็จก็ออกไปเป็นละครเร่ดังเดิม ยวงชวนปานไปเปิดหูเปิดตาที่ตลาด พอปริกรู้จึงขอตามไปด้วยเผื่อจะได้เจอกับมั่นพร้อมทั้งอาสาพาปานไปเที่ยววัดโพธิ์ด้วย ระหว่างที่ปริกแอบเลี่ยงไปหามั่น อึ่งสะกดรอยตามไปด้วยความหึงหวงและโกรธแค้นใจ
น้ำชุบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในกันว่าน้ำพริก เป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนใต้ได้เป็นอย่างดี ทุกพื้นที่ของภาคใต้ล้วนมีเมนูน้ำชุบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่มีเพียงที่เดียวเท่านั้นที่ได้นำของเหลือทิ้งอย่างกะลามะพร้าว หรือพรก มาต่อยอดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนที่ชื่อว่า "น้ำชุบพรก"
เรื่องราวเริ่มบานปลายเมื่อ คุณสุด กับ คุณขำ มีเรื่องกับ แม่แก้ว และ ชุ่ม ที่ตลาด แม่แก้วเอาไปร้องเรียนกรมวังเพื่อเอาผิดคุณสุดกับคุณขำ เพราะทั้งคู่ทำผิดกฎมณเฑียรบาล ที่ว่าเป็นพวกเล่นเพื่อนกัน วุ่นวายถึงศาลหลวงต้องสั่งให้ตระลาการไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีความนี้เป็นการด่วน
ระหว่างที่ "หม่อมขำ" กับ "หม่อมสุด" กำลังเตรียมอาหารอยู่ในครัวตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก พระองค์เจ้าดาราวดี ให้ดูแลเครื่องเสวยถวายเจ้านายในงานพระศพ หม่อมขำ ได้ทำการลองชิมให้ได้รสที่ถูกใจก่อนถวาย พอ "หม่อมแก้ว" เห็นก็ไม่พอใจที่ หม่อมขำ ตักอาหารกินก่อนเจ้านาย พยายามเอาเรื่องให้ถึงที่สุด
หลังจากคณะละครของครูทองคำได้รับมอบหมายให้แสดงในงานพระศพพระองค์เจ้าสังข์ ครูทองคำตั้งใจจะไปขออนุญาตนำนิทานคำกลอนของท่านสุนทรภู่มาใช้ในการแสดง แต่มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ครูทองคำได้ตัดสินใจจะออกจากพระนครอีกครั้ง
"พระองค์เจ้าวิลาส" เสด็จไปร่วมงานพระศพฯ "หม่อมขำ" ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเครื่องเสวยก็ได้จัดเตรียมพระกระยาหารด้วยความกังวลเพราะกลัวจะไม่ถูกพระโอษฐ์พระองค์เจ้าวิลาส พอ "หม่อมสุด" เห็นก็เป็นห่วง จึงพยายามปลอบและให้กำลังใจ
หลังจาก "พระองค์เจ้าวิลาส" ได้ชิมและตัดสินการแข่งขันการทำแกงเนื้อของ "คุณขำ" กับ "แม่อึ่ง" ทั้งคู่ก็เริ่มเปิดใจให้กันมากขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณขำ กับคุณสุด ก็กำลังไปได้ด้วยดี
สถานการณ์โรคฝีดาษระบาดในสยามยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ส่งผลกระทบถึงคณะละครนอกของครูทองคำที่ต้องพาลูกน้องทั้งหมดเดินทางกลับเข้าพระนครเพื่อความปลอดภัย ในขณะเดียวกัน คุณขำที่ถูกจำสนมได้ล้มป่วยด้วยไข้หนัก พระองค์เจ้าวิลาสจึงมีรับสั่งให้ปล่อยตัวทั้งคุณขำและคุณสุดออกมา
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส