ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

14 ก.พ. ชวนรู้จักความสำคัญ “วันรักษ์พญาแร้ง”


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

14 ก.พ. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

14 ก.พ. ชวนรู้จักความสำคัญ “วันรักษ์พญาแร้ง”

https://www.thaipbs.or.th/now/content/812

14 ก.พ. ชวนรู้จักความสำคัญ “วันรักษ์พญาแร้ง”
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

วันนี้ (14 ก.พ. 67) นอกจากเป็น “วันแห่งความรัก” ของคนแล้ว ยังเป็น “วันรักษ์พญาแร้ง” อีกด้วย ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างไร ไปหาคำตอบร่วมกับ Thai PBS Sci & Tech กัน

พญาแร้ง ภาพจาก  โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย”

“แร้ง” มีความสำคัญต่อ “ระบบนิเวศ” มาก เพราะแร้งเป็นสัตว์กินซาก (Scavenger) จากงานวิจัยพบว่าในกระเพาะอาหารของแร้งมีความเป็นกรดสูงมาก จึงทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเติบโตได้ แร้งจึงเป็นนักควบคุมโรคชั้นดี มีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และถือเป็น “เทศบาลประจำผืนป่า” อีกด้วย

การสูญพันธุ์ของ “พญาแร้ง” ตามธรรมชาตินั้นจึงนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง แต่ภายใต้ความโศกเศร้านี้ กลับมีคนกลุ่มหนึ่งที่ยังมีความหวัง ว่าพวกเขานั้นสามารถฟื้นฟู “พญาแร้ง” สายพันธุ์ไทยให้กลับมามีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง จึงได้วางแผนเพาะพันธุ์ “พญาแร้ง” ที่เหลืออยู่ในกรงเลี้ยง เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่ง “พญาแร้ง” จะกลับมาบินอีกครั้งในผืนป่าของไทย โดยความร่วมมือนี้เกิดจาก 4 องค์กร ได้แก่ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในชื่อโครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย” แต่การทำโครงการนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะการจะทำให้สัตว์ที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนมานั้น มันช่างยากเย็นยิ่งกว่าการทำให้มันหายไปหลายเท่าเลยทีเดียว

อินโฟกราฟิก วันรักษ์พญาแร้ง : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ปัจจุบันประเทศไทย มี “พญาแร้ง” ในกรงเลี้ยงที่ได้มาจากการพลัดหลงจากการอพยพผ่านประเทศไทย และได้รับมอบจากสวนสัตว์พาต้า รวมเป็นทั้งหมด 6 ตัว ถูกนำมาดูแลเพื่อฟื้นฟูสภาพที่สวนสัตว์นครราชสีมา จำนวน 4 ตัว (2 คู่) และอยู่ในกรงฟื้นฟูขนาด 20×40 เมตร สูง 20 เมตร บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 2 ตัว (1 คู่) ซึ่งถือเป็นโอกาสดีในการที่จะฟื้นฟูประชากร “พญาแร้ง” ในธรรมชาติที่เป็นถิ่นอาศัยเดิมในผืนป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งให้กลับมาโบยบินอีกครั้ง

และตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานี้ โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย” ได้ดำเนินการมาจนจะเข้าใกล้ความสำเร็จเข้าไปทุกที โดยโครงการนี้สามารถดูแลและฟื้นฟูให้พญาแร้งสามารถผสมพันธุ์และออกไข่ได้ และสามารถให้กำเนิด “ต้าวเหม่ง” ลูกพญาแร้งเพศเมียตัวแรกของไทยได้สำเร็จ ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 66

📌อ่าน : รอบ 30 ปี "ลูกพญาแร้ง" กะเทาะเปลือกไข่ลืมตาดูโลกป่าห้วยขาแข้ง
📌อ่าน : เบื้องหลังความสำเร็จ "ลูกพญาแร้ง" ตัวแรกในป่าห้วยขาแข้ง
📌อ่าน : มองรักผ่าน “ลูกพญาแร้ง” รับวาเลนไทน์ “ป๊อก-มิ่ง” พ่อแม่มือใหม่

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

 

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ภาพจาก : โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย”

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

วันรักษ์พญาแร้งพญาแร้งแร้งวิทยาศาสตร์วันสำคัญThai PBS On This DayThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด