ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เทคนิคตรวจสอบภาพ FACT or FAKE


Media Literacy

16 ก.พ. 66

Thai PBS Digital Media

Logo Thai PBS
แชร์

เทคนิคตรวจสอบภาพ FACT or FAKE

https://www.thaipbs.or.th/now/content/63

เทคนิคตรวจสอบภาพ FACT or FAKE
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เทคนิคตรวจสอบภาพ "FACT or FAKE" หาคำตอบ "จริง" หรือ "ปลอม" ? ผ่านกรณีศึกษาเหตุการณ์แผ่นดินไหวในตุรกี

เมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้น ก็แทบจะทุกครั้งที่ข้อมูลข่าวสารถูกแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นบทความ รูปภาพ หรือแม้แต่วิดีโอ ซึ่งทั้งหมดนั้น มีทั้งที่เป็น "จริง" และ "ปลอม"

เช่น กรณีการแชร์ภาพ "สุนัขกู้ภัย" ที่หลายประเทศส่งไปปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในตุรกี นับตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 2566 จนถึงวันที่ 16 ก.พ. 2566

ซึ่งหนึ่งในภาพที่มีการส่งต่อในสื่อสังคมออนไลน์ไปทั่วโลก คือ ภาพของสุนัขขนสั้นสีขาว พันธุ์ลาบราดอร์ รีทริฟเวอร์ สภาพมอมแมม เปื้อนดิน และกำลังจ้องตรงไปที่กล้อง โดยมีคนสวมเสื้อแขนยาวสีแดงและถุงมือสีขาวถือสายจูงอยู่ เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2566

พร้อมระบุข้อความว่า "สุนัขตัวนี้ปฏิบัติหน้าที่ตลอดทั้งคืน และเมื่อคืนนี้ก็สามารถช่วยชีวิตคนได้ 10 ชีวิต"

ต่อมาวันที่ 9 ก.พ. 2566 สำนักข่าว AP และ AFP Fact Check ได้ออกมารายงานว่า รูปภาพดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 แต่อย่างใด ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว ภาพสุนัขตัวดังกล่าวเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อปี 2557 โดยช่างภาพอิสระชื่อ Rick Wilking ของสำนักข่าว Reuters ถ่ายไว้หลังจากเกิดเหตุโคลนถล่มใกล้กับเมืองโอโซ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และเจ้าสุนัขกู้ภัยตัวนี้ชื่อ "Tryon"

แต่ที่นี้...หากว่า มีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นอีก แล้วสำนักข่าวต่าง ๆ ยังไม่ออกมายืนยันข้อเท็จจริง เราจะรู้ได้อย่างไรว่า "ภาพที่ถูกส่งต่ออยู่ขณะนี้ 'FACT or FAKE' ?"

เทคนิคตรวจสอบภาพ "FACT or FAKE" ด้วยเครื่องมือง่าย ๆ อย่าง "Google Lens" ผ่านสมาร์ทโฟน

Google Lens คืออะไร ?

Google Lens เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วย "ค้นหา" "ร้านค้า" "แปล" หรือแม้แต่ "พิสูจน์" จากรูปภาพเพียงใบเดียว โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. ดาวน์โหลดภาพที่ต้องการตรวจสอบลงในโทรศัพท์ (*ภาพที่เรากดดาวน์โหลดหรือบันทึกผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาจไม่สามารถตรวจสอบ Metadata ได้)

2. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Google Lens หรือ Google
3. คลิกที่ Icon กล้องถ่ายรูป (*ช่อง 'ค้นหา' หรือ 'Search')

 


4. เลือกรูปภาพที่ต้องการตรวจสอบ
5. ขยายขอบมุมภาพให้ครอบคลุมส่วนของภาพที่ต้องการ

 


6. คลิก Icon แว่นขยายบนลูกโลก
7. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพนั้นจะปรากฎขึ้นมา สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงและวันที่เผยแพร่ เพื่อยืนยันว่าใช่เหตุการณ์เดียวกับข้อความที่มีการส่งต่อ ณ เวลานี้หรือไม่

 

 

นอกจากกรณีนี้แล้ว ยังมีอีกหลายกรณีที่การตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการใช้ "รูปภาพ" ผ่านเครื่องมือ Google Lens หรือเว็บไซต์ Google "ค้นหาจากภาพ" มีความจำเป็นอย่างมาก ฉะนั้น อย่าลืม! Check ก่อน Share เพื่อไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพหรือการมุ่งเป้าที่หวังผลทางลบได้.

อ้างอิง: Google Lens 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Fake Newsรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ข่าวปลอม
ผู้เขียน: Thai PBS Digital Media

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด