ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แชร์เก็บไว้ วิธีตรวจสอบภาพ จริง-ปลอม ?


Verify

2 ธ.ค. 67

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

แชร์เก็บไว้ วิธีตรวจสอบภาพ จริง-ปลอม ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1986

แชร์เก็บไว้ วิธีตรวจสอบภาพ จริง-ปลอม ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ก่อนที่จะเชื่อ หรือ แชร์ภาพต่าง ๆ ออกไป Thai PBS Verify มีวิธีตรวจสอบรูปภาพด้วยตัวเองเบื้องต้น เพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ว่า ภาพที่เพจหรือโซเชียลมีเดียนำมาแชร์นั้น เป็นภาพของจริง หรือแอบอ้างมาใช้เพื่อเรียกยอดไลก์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการหลอกลวงกันแน่

ทั้งนี้ก่อนที่จะแชร์รูปภาพที่พบในโซเชียลมีเดีย ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปภาพนั้นก่อนสักนิด เผื่อว่ารูปภาพนั้นจะไม่ตรงกับสิ่งที่เห็น การตรวจสอบรูปภาพด้วยตนเองมีวิธีง่าย ๆ และรวดเร็วดังนี้

กระบวนการตรวจสอบ

การตรวจสอบด้วยโปรแกรมค้นหารูปภาพย้อนกลับ จะช่วยให้เราเห็นว่า รูปภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ทางออนไลน์ที่ใดอีกบ้าง และช่วยให้ทราบได้ว่า รูปภาพดังกล่าวเป็นรูปภาพเก่า หรือเป็นรูปภาพที่นำมาใช้ในการแอบอ้าง

เครื่องมือ

สำหรับเครื่องมือค้นหานั้น ปัจจุบันมีหลายอย่างที่สามารถใช้ค้นหารูปภาพย้อนกลับได้ เช่น Google , TinEye , Yandex และ Bing

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบภาพผ่านเครื่องมือค้นหา (ทดสอบด้วยเครื่องมือ Google)

หากคุณใช้คอมพิวเตอร์และต้องการตรวจสอบภาพ สามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ ด้วยการเลือกรูปที่จะทำการตรวจสอบ

กดเลือกรูปที่ต้องการทำการตรวจสอบ

คลิกขวาที่รูปภาพ แล้วเลือกเครื่องมือตรวจสอบภาพด้วย Google Lens
เลือกเครื่องมือค้นหาด้วย Google Lens

ขั้นตอนที่ 2 : ตรวจสอบผลลัพธ์

เครื่องมือค้นหาจะดึงรายการลิงก์ที่มีรูปภาพที่ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์ขึ้นมา

โพสต์บนเพจที่อ้างว่าภาพนี้เป็นภาพของสินค้าที่บริษัทตนเองจำหน่ายให้กับลูกค้า แต่การค้นหาภาพนี้ด้วยภาพย้อนกลับ กลับพบว่าภาพดังกล่าวเป็นของอีกบริษัทหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเพจที่แอบอ้าง

หรือหากคุณใช้โทรศัพท์มือถือและต้องการตรวจสอบภาพ สามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ ด้วยการกดค้างที่รูปภาพ แล้วเลือกแชร์สู่ภายนอก

กดเลือกรูปที่ต้องการทำการตรวจสอบ จากนั้นเลือกแชร์สู่ภายนอก

จากนั้นเลือกเครื่องมือตรวจสอบภาพด้วย Google Lens เครื่องมือค้นหาจะดึงรายการลิงก์ที่มีรูปภาพที่ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์ขึ้นมาเช่นเดียวกัน

กดค้นหารูปภาพด้วย Google Lens จากนั้นจะแสดงผลการค้นหาจากรูปภาพที่ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์์

ผลการค้นหาจะแสดงลิงก์ที่มีรูปภาพที่ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์

โพสต์บนเพจที่อ้างว่าภาพนี้เป็นภาพของสินค้าที่บริษัทตนเองจำหน่ายให้กับลูกค้า แต่การค้นหาภาพนี้ด้วยภาพย้อนกลับ กลับพบว่าภาพดังกล่าวเป็นของอีกบริษัทหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเพจที่แอบอ้าง

เท่านี้เราก็จะทราบว่าภาพที่ถูกแชร์ หรือส่งต่อมานั้น เป็นภาพของจริง หรือเป็นภาพที่ถูกแอบอ้าง เพื่อที่จะไม่หลงเชื่อ แชร์ หรือ กดไลก์ ข้อมูลผิด ๆ เหล่านี้ต่อไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบภาพหลอกคลิกหลอกกดลิงก์หลอกลวงด้วย AIหลอกลวงหลอกลวงออนไลน์ภาพปลอมเครื่องมือตรวจสอบภาพ
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

จากทหารถือปืน เปลี่ยนมาเป็นนักข่าวถือไมค์ สู่การเป็นนักเขียนถือปากกา

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด