ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้ทันกลโกง "มิจฉาชีพ" กับสืบแห่งนครบาล "สารวัตรแจ๊ะ"


Verify

8 พ.ย. 67

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

รู้ทันกลโกง "มิจฉาชีพ" กับสืบแห่งนครบาล "สารวัตรแจ๊ะ"

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1860

รู้ทันกลโกง "มิจฉาชีพ" กับสืบแห่งนครบาล "สารวัตรแจ๊ะ"
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

รายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ล่าสุดได้จัดเสวนา “ไซเบอร์บูสเตอร์” พูดคุยถึงเรื่องการต่อสู้กับภัยออนไลน์ทุกรูปแบบ ซึ่งได้เชิญทั้งตำรวจ หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคมเข้ามาร่วมพูดคุย โดยมี พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (IDMB) หรือ “สารวัตรแจ๊ะ” เจ้าของวลี "อย่าเล่นกับระบบ" มาให้ความรู้ถึงภัยของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ด้วยเช่นเดียวกัน

รายการสถานีประชาชนจัดเสวนาหัวข้อ "ไซเบอร์บูสเตอร์" เมื่อวันที่ 7 พ.ย.67

วิวัฒนาการของ "แก๊งคอลเซ็นเตอร์"

พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (IDMB) เปิดเผยถึงวิวัฒนาการของแก็งคอลเซ็นเตอร์ว่า 

7 ปี ของการปราบปรามแก็งคอลเซ็นเตอร์ พบว่าขบวนการคอลเซ็นเตอร์มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแผนประทุษกรรมไปจนไม่มีเค้าโครงเดิม

เดิมนั้นแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะใช้รูปแบบคลาสสิค คือการหลอกด้วยการโทรมาเป็นตำรวจ หรือหลอกให้รักในรูปแบบของโรแมนซ์สแกม ที่มีการส่งพัสดุเข้ามาให้รับพัสดุแต่ต้องเสียภาษีนำเข้าที่ไปรษณีย์ หรือที่ศุลกากร แต่ปัจจุบันเหล่าบรรดาแก็งคอลเซ็นเตอร์ มีการพลิกแพลงหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น และการที่กลุ่มคนเหล่านี้มีฐานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีการขยายธุรกิจเพิ่มเติม โดยปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ไม่ต่ำกว่า 100 แห่ง ที่อยู่รอบประเทศ ทำให้จำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องยกระดับในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และการเตือนภัยให้กับประชาชน

พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (IDMB)

การจับกุม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ทำไมถึงเป็นไปได้ยาก ?

การที่กลุ่มคอลเซ็นเตอร์ทั้งหมดอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้การที่จะไปจับกุมกลุ่มคนเหล่านี้เป็นไปได้ยากด้วยเช่นกัน เพราะอำนาจของกฎหมายไม่ครอบคลุม ส่งผลให้การสืบสวนสอบสวนจึงมีข้อจำกัดที่เยอะมาก และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ดังนั้นการปราบปรามปัญหาเหล่านี้ จึงไม่สามารถปล่อยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการเพียงผู้เดียวได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ

"ฟิลแฟน" มุกใหม่มิจฉาชีพ

ตัวอย่างข้อความของมิจฉาชีพที่ใช้ "ฟีลแฟน" เข้ามาหลอกลวงเหยื่อ

แก๊งคอลเซ็นเตอร์มีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา 

มุกเดิม ๆ ที่เคยใช้หลอกผู้คนนั้น ถือว่าถูกรู้ทันหมดแล้ว ดังนั้นจึงทำให้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า "ฟิลแฟน" 

ฟีลแฟนถือเป็นรูปแบบการหลอกลวงใหม่ของคอลเซ็นเตอร์ที่อันตรายที่สุดในตอนนี้ เพราะใช้เรื่องของความรักมาใช้กับเหยื่อ ก่อนที่จะนำไปสู่การหลอกให้ลงทุน หรือหลอกให้เทรดหุ้น ซึ่งกรรมวิธีของแก๊งเหล่านี้ จะมาในรูปแบบของการใช้ภาพโปรไฟล์ของผู้หญิงหรือผู้ชายที่หน้าตาดี และใช้การเลี้ยงความรักหรือฟิลแฟนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ในระยะแรกจะไม่พูดถึงการลงทุนแต่อย่างใดจนเหยื่อรู้สึกตายใจ ก่อนที่จะเริ่มใส่ข้อมูล และนำไปสู่กระบวนการหลอกด้วยการชวนไปพูดคุยในห้องไลน์ที่มีหน้าม้าอยู่ภายใน และพาไปเทรดหุ้นหรือดันสินค้า โดยเมื่อโอนเงินเข้าไปแล้ว ก็จะไม่สามารถที่จะนำออกมาได้อีก ซึ่งเรื่องของความรักถือว่าสร้างความรุนแรง เพราะเป็นการเล่นกับความรู้สึก รวมถึงสถานะของผู้ถูกหลอกบางคน ก็ยังไม่สามารถที่จะปรึกษาใครได้อีกด้วย

วิธีป้องกันการตกเป็นเหยื่อ

สำหรับวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือใช้การตั้งข้อสงสัยหรือ "เอ๊ะ" ด้วยการปรึกษากับผู้ที่สามารถปรึกษาได้ ให้ช่วยคัดกรองสิ่งที่พบ รวมถึงการดูความสมเหตุสมผล เพราะปัจจุบันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศเพื่อนบ้าน มีการใช้ผู้หญิงหรือผู้ชายที่มีหน้าตาดีไว้สำหรับการวิดีโอคอลหลอกลวงเหยื่อ ดังนั้นจึงต้องคิดไว้เสมอว่า คนที่หน้าตาดีที่คุยกับเรานั้นอาจจะไม่ใช่คนที่คุยกับเราจริง ๆตั้งแต่แรก เพราะปัจจุบันสามารถใช้การปลอมแปลงเสียงได้แล้ว

หากประชาชนท่านใดตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์ สามารถแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ (เฉพาะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ที่เว็บไซต์นี้เท่านั้น www.thaipoliceonline.go.th หากมีข้อสงสัย สามารถโทรปรึกษาสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แท็กที่เกี่ยวข้อง

มิจฉาชีพโอนเงินให้มิจฉาชีพสำนักงานตำรวจแห่งชาติตำรวจไซเบอร์เตือนภัยหลอกคุยหลอกกดลิงก์วิดีโอคอลหลอกลวงหลอกลงทะเบียนหลอกผู้สูงอายุหลอกลวงหลอกโอนเงินโดนหลอก
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

ทีม Thai PBS Verify

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด