ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เจาะเหมืองแร่ “ต้นแม่น้ำกก-น้ำสาย” มลพิษข้ามพรมแดน

สิ่งแวดล้อม
9 เม.ย. 68
12:54
1,644
Logo Thai PBS
เจาะเหมืองแร่ “ต้นแม่น้ำกก-น้ำสาย” มลพิษข้ามพรมแดน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างจาก “แม่น้ำกก” ในพื้นที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ กับ อ.เมือง จ.เชียงราย ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) (สคพ.1) สรุปเบื้องต้นว่า แม่น้ำกก ปนเปื้อนสารหนูเกินค่ามาตรฐาน

อ่าน : เปิดผลตรวจแม่น้ำกก ปนเปื้อนสารหนูกว่าเท่าตัว

แม่น้ำสายและแม่น้ำกก เป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ กั้นกลางระหว่างไทยกับเมียนมา แม่น้ำทั้ง 2 สาย มีต้นกำเนิดในรัฐฉาน บริเวณเมืองสาด เมืองยอน เมืองกก

แม่น้ำสาย-น้ำรวก ไหลเข้าประเทศไทย ที่ อ.แม่สาย ก่อนจะไหลเรื่อยไปลงแม่น้ำโขง ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ส่วนแม่น้ำกก ไหลเข้าเขตประทศไทยที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ก่อนจะไหลเข้าสู่ อ.เมือง จ.เชียงราย ผ่านอีก 4 อำเภอ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ครั้งฝนตกหนักด้วยพายุยางิ ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ เมื่อวันที่ 9 ก.ย.2567 จากแม่น้ำสาย-น้ำรวก และแม่น้ำกก ประเทศไทยแทบไม่รู้เลยว่า บริเวณต้นน้ำทั้งสองสาย มีกิจกรรมอะไรบ้าง กระทั่งมีโคลนจำนวนมหาศาล ไหลลงมากับสายน้ำ เข้าถมทับใน อ.แม่สาย และ ตัวเมืองเชียงราย

ประเด็นสงสัยเรื่อง “เหมืองแร่ต้นน้ำสายกับแม่น้ำกก” เป็นประเด็นที่ไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ ติดตามมาโดยตลอด และสอบถามไปยังนายภูมิธรรม เวชยธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ที่ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2567 ได้รับคำตอบว่า

ดินโคลนที่มาจากเหมืองในดินแดนพม่า ต้องเจรจา เพราะเป็นสิทธิในอาณาเขตของเขา

ในช่วงการลงพื้นที่ อ.แม่สาย ของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี แก้ปัญหาน้ำท่วม เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2567 ได้สอบถามปัญหาเหมืองทอง ได้รับคำตอบว่า

อยู่ระหว่างการเจรจาความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ที่เป็นกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงกับจีน หาทางออกและติดตั้งระบบเตือนภัย 5 จุด

ปัญหาเหมืองทอง เป็นที่รับรู้ของทั้งนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง แต่ปัญหาเหมืองทองต้นน้ำ ดูเหมือนจะแก้ปัญหาล้าช้า จนนำมาสู่การตรวจพบ “สารหนูและตะกั่ว” เกินค่าในน้ำแม่น้ำกก นำไปสู่การห้ามใช้น้ำเพราะเปื้อนสารพิษ เมื่อ 4 เม.ย.68

อ่านข่าว : ด่วน! สคพ.1 ตรวจพบ “สารหนู” แม่น้ำกก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

คำถามที่หลายคนสงสัย สารหนู-ตะกั่วมาจากไหน?

คาดว่า สารหนูมาจากการทำเหมืองทองคำ แม้จะยังไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจน แต่ถ้าดูภาพถ่ายทางอากาศ จะเห็นการเปิดหน้าดิน ส่วนจะบอกว่า เป็นเหมืองทองคำหรือไม่ อาจต้องให้ฝ่ายความมั่นคงมายืนยัน

เป็นบทสัมภาษณ์ของ นายอาวีระ ภัคมาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่)

“ดูภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นการเปิดหน้าดิน” นักสำรวจการทำเหมืองแร่ คนหนึ่ง กล่าวกับผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ พร้อมอธิบายแผ่นที่บน Google Earth ที่ระบุตำแหน่ง บริเวณที่มีการเปิดหน้าดิน อาคารประกอบ บริเวณต้นแม่น้ำกก และแม่น้ำสาย-น้ำรวก ที่มีลักษณะเหมือนการทำเหมืองแร่

ภาพ 1 : แผนที่ตำแหน่งที่คาดว่าจะเป็นเหมืองแร่ทองคำ บริเวณต้นน้ำรวก (สาย) กับ แม่น้ำกก ระหว่างประเทศเมียนมา-ไทย

ภาพ 1 : แผนที่ตำแหน่งที่คาดว่าจะเป็นเหมืองแร่ทองคำ บริเวณต้นน้ำรวก (สาย) กับ แม่น้ำกก ระหว่างประเทศเมียนมา-ไทย

ภาพ 1 : แผนที่ตำแหน่งที่คาดว่าจะเป็นเหมืองแร่ทองคำ บริเวณต้นน้ำรวก (สาย) กับ แม่น้ำกก ระหว่างประเทศเมียนมา-ไทย

แผนที่นี้แสดงให้เห็นภาพที่คาดว่า เป็นการทำกิจกรรมเหมืองแร่ บริเวณต้นน้ำสาย-รวก และแม่น้ำกก รวมถึงเส้นทางการไหลของน้ำจากเมียนมา เข้าสู่ จ.เชียงราย และไหลลงสู่แม่น้ำโขง

ภาพ 2 : แผนที่เหมืองแร่ โซน 1 แม่น้ำกก มีการทำเหมืองแร่ 3 จุด และเส้นทางการไหลของแม่น้ำกก จากประเทศเมียนมาเข้าสู่ประเทศไทย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และหลายอำเภอใน จ.เชียงราย

ภาพ 2 : แผนที่เหมืองแร่ โซน 1 แม่น้ำกก มีการทำเหมืองแร่ 3 จุด และเส้นทางการไหลของแม่น้ำกก จากประเทศเมียนมาเข้าสู่ประเทศไทย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และหลายอำเภอใน จ.เชียงราย

ภาพ 2 : แผนที่เหมืองแร่ โซน 1 แม่น้ำกก มีการทำเหมืองแร่ 3 จุด และเส้นทางการไหลของแม่น้ำกก จากประเทศเมียนมาเข้าสู่ประเทศไทย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และหลายอำเภอใน จ.เชียงราย

ภาพ 3.จุดที่คาดว่าเป็นเหมืองแร่ ในแม่น้ำกก จุดที่ 1 เหมืองทองคำมีกิจกรรมและพื้นที่การทำเหมืองทองคำ 1.พื้นที่บริเวณหน้าเหมือง 2.พื้นที่โรงแต่งแร่ 3.แม่น้ำกก อยู่ใกล้พื้นที่แต่งแร่

ภาพ 3.จุดที่คาดว่าเป็นเหมืองแร่ ในแม่น้ำกก จุดที่ 1 เหมืองทองคำมีกิจกรรมและพื้นที่การทำเหมืองทองคำ 1.พื้นที่บริเวณหน้าเหมือง 2.พื้นที่โรงแต่งแร่ 3.แม่น้ำกก อยู่ใกล้พื้นที่แต่งแร่

ภาพ 3.จุดที่คาดว่าเป็นเหมืองแร่ ในแม่น้ำกก จุดที่ 1 เหมืองทองคำมีกิจกรรมและพื้นที่การทำเหมืองทองคำ 1.พื้นที่บริเวณหน้าเหมือง 2.พื้นที่โรงแต่งแร่ 3.แม่น้ำกก อยู่ใกล้พื้นที่แต่งแร่

จุดที่คาดว่าเป็นเหมืองแร่ ในแม่น้ำกก จุดที่ 1 เหมืองทองคำมีกิจกรรมและพื้นที่การทำเหมืองทองคำ 1.พื้นที่บริเวณหน้าเหมือง 2.พื้นที่โรงแต่งแร่ 3.แม่น้ำกก อยู่ใกล้พื้นที่แต่งแร่

ภาพ 4 : แผนที่เหมืองแร่โซนแม่น้ำกก จุดที่ 1 (หน้าเหมือง)

ภาพ 4 : แผนที่เหมืองแร่โซนแม่น้ำกก จุดที่ 1 (หน้าเหมือง)

ภาพ 4 : แผนที่เหมืองแร่โซนแม่น้ำกก จุดที่ 1 (หน้าเหมือง)

สำหรับการขุดเจาะแร่จะมีการเปิดหน้าดินจำนวนมาก ดินที่มีทองคำในปริมาณเพียงพอต่อการสกัด จะถูกส่งไปโรงงานส่วนหน้าดิน หรือ ดินข้างเคียงที่ถูกขุดขึ้นมาจะทิ้งไว้บริเวณต่าง ๆ

เมื่อแม่น้ำสาขาของแม่น้ำกกไหลผ่านจะชะเอาดินส่วนนี้ลงสู่แม่น้ำกก ทำให้น้ำขุ่นทั้งปีในแหล่งแร่ทองคำธรรมชาติจะมีโลหะหนักที่สูง เช่น สารหนู แคดเมียม ปรอท เมื่อมีการขุดและทิ้งดินไม่เป็นที่ โลหะหนักจะกระจายไปสู่ธรรมชาติด้วย
ภาพ 5 : เหมืองแร่โซนแม่น้ำกก จุดที่ 1 (โซนแต่งแร่)

ภาพ 5 : เหมืองแร่โซนแม่น้ำกก จุดที่ 1 (โซนแต่งแร่)

ภาพ 5 : เหมืองแร่โซนแม่น้ำกก จุดที่ 1 (โซนแต่งแร่)

การสกัดแร่ทองคำ?

ดินและหินที่คาดว่าจะมีแร่ทองคำผสมอยู่ จะถูกป้อนเข้าไปในโรงงานเพื่อถลุง จากนั้นจะส่งดินและหิน ที่ไม่มีแร่ทองคำออกมาด้านนอก ซึ่งการสกัดแร่ทองคำมี 2 วิธี คือ
1.ทองคำที่เป็นเม็ดใหญ่มองเห็นด้วยตาเปล่า
จะถูกดักจับด้วยแผ่นปรอท ขั้นตอนนี้จะใช้น้ำในการนำแร่ให้ผ่านแผ่นปรอท ซึ่งน้ำที่ปนเปื้อนสารปรอทจำนวนมากเหล่านี้ อาจถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำกก เพราะทั้งในแผนที่และภาพถ่าย ไม่ปรากฏว่า มีอ่างเก็บน้ำ ในกระบวนการผลิต

2.ทองคำที่สกัดไม่ออกและมีขนาดเล็ก จะถูกเอาไปแช่ในไซยาไนด์ในถัง เมื่อทองคำละลายออกหมด

กากแร่ในถังจะถูกเอาไปทิ้งในพื้นที่ทิ้งหางแร่ ที่ต้องถูกออกแบบเป็นอย่างดี แต่ในภาพไม่มีการก่อสร้างโครงสร้างสำหรับทิ้งหางแร่ คาดว่าทิ้งแล้วเกลี่ย ๆ ข้างโรงงานทั้งโลหะหนักและไซยาไนด์จะกระจายสู่ธรรมชาติเมื่อฝนตก

ส่วนการเก็บตัวอย่างน้ำ อาจไม่พบความผิดปกติของไซยาไนด์ เพราะสามารถระเหยและเจือจางในอุณหภูมิที่สูง ซึ่งสอดคล้องกับ นายอาวีระ ภัคมาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 เชียงใหม่ ที่ระบุว่า สาเหตุที่ไม่พบไชยาไนด์ คาดว่าสลายตัวได้เร็ว เมื่อเจอแสงแดด อากาศที่มีความร้อน

ภาพ 6 : เหมืองแร่โซน 2 แม่น้ำรวก-แม่น้ำสาย  ตลอดแม่น้ำและสาขา พบการทำเหมืองแร่กระจายอย่างน้อย 6 จุด

ภาพ 6 : เหมืองแร่โซน 2 แม่น้ำรวก-แม่น้ำสาย ตลอดแม่น้ำและสาขา พบการทำเหมืองแร่กระจายอย่างน้อย 6 จุด

ภาพ 6 : เหมืองแร่โซน 2 แม่น้ำรวก-แม่น้ำสาย ตลอดแม่น้ำและสาขา พบการทำเหมืองแร่กระจายอย่างน้อย 6 จุด

ไทยพีเอสภาคเหนือได้ไปสำรวจเมื่อเดือน ต.ค.2567 หลายครั้ง พื้นที่บริเวณบ้านม้งแปดหลัง และม้งเก้าหลัง ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จุดนี้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังยาเสพติดและมีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยกับขบวนการยาเสพติดบ่อยครั้ง ตรงข้ามคือบ้านแม่โจ๊ก รัฐฉานประเทศเมียนมา พื้นที่อิทธิพลของกลุ่มว้าแดง

พื้นที่ภูเขาติดกับชายแดนไทย ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านฝั่งไทย จุดนี้คือหนึ่งในลำห้วยที่เป็นลำน้ำสาขาไหลลงสู่แม่น้ำสาย ชาวบ้านทำเกษตรบริเวณชายแดน ตั้งคำถามชาวบ้านในพื้นที่ ทำไมเหมืองแร่ทองคำ จึงอยู่ติดชายแดนใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน

กลุ่มทุนจีนกับว้าแดง ได้มาเช่าที่ดินของชาวบ้านและทำการเปิดเหมืองแร่ทองคำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ภาพ 7 : บริเวณต้นน้ำรวก-น้ำสาย  มีการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำจำนวนมาก

ภาพ 7 : บริเวณต้นน้ำรวก-น้ำสาย มีการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำจำนวนมาก

ภาพ 7 : บริเวณต้นน้ำรวก-น้ำสาย มีการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำจำนวนมาก

แหล่งข่าว นักสำรวจเหมืองแร่และการทำเหมืองแร่ อธิบายถึงการทำเหมืองบริเวณนี้ มีวิธีการทำเหมืองแร่ 2 แบบ คือ
1.การขุดและการสกัดแร่จากสายแร่โดยตรง จุดที่ 4 และ จุดที่ 5
2.การทำเหมืองในชั้นกรวดในแม่น้ำเพื่อเอาทองคำที่ผลัดหลุดจากสายแร่ จุดที่ 6

ภาพ 8  : อธิบายโซนโรงงานเหมืองแร่ในต้นน้ำรวก-น้ำสาย

ภาพ 8 : อธิบายโซนโรงงานเหมืองแร่ในต้นน้ำรวก-น้ำสาย

ภาพ 8 : อธิบายโซนโรงงานเหมืองแร่ในต้นน้ำรวก-น้ำสาย

โซนเหมืองแร่แบบเปิด คือ ตั้งกองแร่ขึ้นมาแล้วใช้ไซยาไนด์ฉีดละลายทองคำ วิธีนี้เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยใช้เครื่องปั่นไฟขนาดเล็กเพื่อหมุนเวียนนำไซยาไนด์โซนหน้าเหมือง ที่ก่อให้เกิดตะกอนมหาศาล และโลหะหนักปนเปื้อนธรรมชาติ

ภาพ 9 : การทำเหมืองแร่ในชั้นกรวดกลางลำน้ำรวก-น้ำสาย

ภาพ 9 : การทำเหมืองแร่ในชั้นกรวดกลางลำน้ำรวก-น้ำสาย

ภาพ 9 : การทำเหมืองแร่ในชั้นกรวดกลางลำน้ำรวก-น้ำสาย

การทำเหมืองแร่ในชั้นกรวดกลางลำน้ำรวก-น้ำสาย เป็นการขุดทองที่หลุดมาจากสายแร่ เหมืองแบบนี้ไม่ใช้สารเคมี แต่ทำให้เกิดผลกระทบด้านตะกอน เช่น 1.ทำให้น้ำขุ่นตลอดปี 2.เกิดตะกอนร่วนมหาศาลจากการขุด 3 มีการสร้างคันป้องกันน้ำไหลผ่านทำให้กลายเป็นคันกั้นน้ำและแตกในฤดูน้ำหลาก

แพในแม่น้ำกก บริเวณเมืองสาด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ที่แหล่งข่าวระบุว่า เป็นการทำเหมืองแร่ทองคำ

แพในแม่น้ำกก บริเวณเมืองสาด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ที่แหล่งข่าวระบุว่า เป็นการทำเหมืองแร่ทองคำ

แพในแม่น้ำกก บริเวณเมืองสาด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ที่แหล่งข่าวระบุว่า เป็นการทำเหมืองแร่ทองคำ

ปัญหาสารพิษจากเหมืองแร่ ปัจจุบันอาจต้องบอกว่ากลายเป็นปัญหา “มลพิษข้ามพรมแดน” จังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย และท้องถิ่นทำได้เพียงแจ้งเตือนและเฝ้าระวัง แต่ต้นเหตุปัญหากลายเป็นโจทย์ยากเจรจาระหว่าง “รัฐ กับ รัฐ” ทั้งที่คนใช้น้ำต้นน้ำกับปลายน้ำ ที่ยังมองไม่เห็นทางออกแก้ปัญหาปัญหานี้ร่วมกัน

รายงาน : โกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

อ่านข่าว : คืนชีพหมาป่าสีขาวไดร์วูล์ฟ ครั้งแรกของโลกหลังสูญพันธุ์ 12,500 ปี

สงครามการค้ายก 2 สะเทือนสหรัฐฯ แค่ไหน?

กทม.สำรวจรอยร้าวอาคาร ปลอดภัย 1.7 หมื่นราย ไม่ปลอดภัย 34 ราย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง